จิตวิทยาผู้สูงวัย ตอนที่ 284: เส้นทางดูแลลิเว่อร์พูล (3)
- โดย ดร. วิทยา มานะวาณิชเจริญ
- 23 กันยายน 2563
- Tweet
อาจเป็นการง่ายกว่าที่เห็นการตายที่เพิ่มขึ้นภายใต้ระบบเส้นทางดูแลลิเวอร์พูล (Liverpool Care Pathway : LCP) ในขณะที่การให้สารกดประสาท (Sedation) อาจเป็นผล (Product) จากการเปลี่ยนแปลงในประชากรศาสตร์ (Demographics) โดยเฉพาะการเปลี่ยนแปลงลักษณะ (Nature) ของสิ่งที่ผู้คนตายจาก และวิธีการรักษาพยาบาลเท่าที่มีอยู่ (Available)
อย่างไรก็ตาม นี่มิใช่ที่สิ้นสุดของปัญหาสำหรับการดูแลแบบบรรเทาอาการ ซึ่งจะได้ประสิทธิผลเมื่อปรับแต่ง (Tailor) ไปตามความจำเป็นของแต่ละบุคคล แต่ก็ไม่มีประโยชน์จนกว่าจะมีการดำเนินการตามที่คาดหวัง (Wish) ดังผลลัพธ์การศึกษาในแพทย์เวชปฏิบัติทั่วไป (General practitioner) ในประเทศเนเธอแลนด์
การศึกษานี้ พบว่าเกือบครึ่งหนึ่งของแพทย์ดังกล่าวไม่รู้ว่าผู้ป่วยของตนต้องการตายที่ไหน (บ้าน, โรงพยาบาล, หรือสถานพยาบาลผู้ป่วยระยะสุดท้าย [Hospice]) ผู้ป่วยที่มีรายได้สูง และ/หรือ ผู้ป่วยที่เชื่อมโยง (Link) กับโปรแกรมดูแลแบบบรรเทาอาการ มีแนวโน้มสูงที่แพทย์จะรู้ว่า ผู้ป่วยได้เลือกสถานที่ต้องการจะตายไว้แล้ว
นอกจากนี้ (Furthermore) ความจริงที่ว่า การดูแลแบบบรรเทาอาการต้องปรับแต่งไปตามความจำเป็นของแต่ละบุคคล จึงจะได้ประสิทธิผล ทำให้การคาดการณ์ (Extrapolation) จากการศึกษาเป็นไปได้ยากขึ้น เพราะสิ่งที่ดำเนินไปได้ดีแก่ผู้ป่วยบนพื้นฐานของจำนวนโรงพยาบาลไม่มากหรือหอผู้ป่วยเดียว (Single ward) อาจไม่ได้ผลในสถานที่ที่อื่น (Elsewhere)
ปัญหาเหล่านี้ทวีความซับซ้อน (Compounded) เมื่อมีประเด็นต่างวัฒนธรรม (Cross-cultural) เกิดขึ้น ตัวอย่างเช่น แม้จะมีผลการศึกษาที่เป็นเลิศซึ่งระบุ (Outline) จุดแข็งและจุดอ่อนในแต่ละโรงพยาบาลในสหราชอาณาจักรอังกฤษ แต่ก็ไม่อาจนำไปประยุกต์ใช้อย่างอัตโนมัติในประเทศจีน (ผืนแผ่นดินใหญ่) หรือชนบทของรัฐเวลส์ (Wales) ในสหราชอาณาจักรอังกฤษ
แล้วยังมีสาเหตุการตายที่แตกต่างกัน ที่อาจมีผลกระทบต่อการสนองตอบที่เหมาะสมที่สุด (Optimal response) แต่นี่มิได้หมายความว่า ภายใต้เงื่อนไขเฉพาะของนโยบายเดียวเหมาะสมในทุกกรณี (One-size-fits-all policy) จะได้ผล ดังตัวอย่างการศึกษาการเปลี่ยนแปลงคุณภาพของชีวิต (Quality of Life : QOL) ในผู้ป่วยโรคมะเร็งไต (Renal cancer)
การศึกษาดังกล่าวแสดงให้เห็นความจำเป็นที่หลากหลาย (Variety) ขึ้นอยู่กับแต่ละสถานการณ์ (Individual circumstance) นอกจากนี้ แม้เจ้าหน้าที่สาธารณสุข (Health authorities) มักจะป่าวประกาศ (Trumpet) ความจำเป็นของ QOL แต่ก็มีช่วงห่าง (Distance) มาก ระหว่างทฤษฎีกับปฏิบัติในเรื่อง QOL มิได้สนองตอบความจำเป็นของผู้ป่วย
ปัญหายังเกิดจากความจริงที่ว่า ด้วยเหตุผลทางจริยธรรม (Ethics) เป็นการยากสุดๆ (Extreme) ที่จะวัดผล (Measure) QOL ในช่วง 2 – 3 วันสุดท้ายของชีวิต อาจเป็นเพราะผู้ป่วยเจ็บหนักเกินไป หรือต้องการจะใช้ชั่วโมงท้ายๆ อยู่กับคนที่เขารักมากกว่าคนที่มิใช่ญาติ ดังนั้นการศึกษาไม่น้อยต้องอาศัยประมาณการโดยญาติหลังจากการตาย ซึ่งมักจะเป็นหลายเดือนให้หลัง
แหล่งข้อมูล:
- Stuart-Hamilton Ian. (2012). The Psychology of Ageing (5th Ed). London, UK: Jessica Kingsley Publishers.
- Liverpool Care Pathway for the Dying Patient - https://en.wikipedia.org/wiki/Liverpool_Care_Pathway_for_the_Dying_Patient[2020, September 22].
- Palliative care - https://en.wikipedia.org/wiki/Palliative_care[2020, September 22].