จิตวิทยาผู้สูงวัย ตอนที่ 275 การรับรู้การตาย (5)

จิตวิทยาผู้สูงวัย-275

      

สัญญาณ (Sign) การรู้แจ้ง-เห็นจริง (Enlightenment) ของบุคคลหนึ่ง อาจเป็นสัญญาณของการจ้องมองที่ว่างเปล่า (Staring vacantly) เข้าไปในอวกาศ (Space) ทอร์นสแตม (Tornstam) และคณะ ได้กำหนดกลุ่มพฤติกรรม (Set of behaviors) ซึ่งเป็นแง่มุม (Aspect) ของทฤษฎี “สุดยอดของชราภาพ” (Gero-transcendence)

จากนั้นทีมงานนักวิจัยได้สอบถามกลุ่มพยาบาลในบ้านพักคนชรา ว่าได้สังเกตเห็นพฤติกรรมดังกล่าวหรือไม่ โดยที่ทีมงานนักวิจัยได้ระบุ (Label) ประจักษ์หลักฐานของการค้นพบสุดยอดของเวลาที่กลุ่มพยาบาลรายงานว่าเป็นกลุ่มอาการของ (1) โรคสมองเสื่อม (Dementia) หรือ (2) ผลผลิต (Product) ที่ไม่พึงประสงค์ของความเฉื่อยชา (Inactivity) มากเกินไป

คำอธิบายหลากหลายที่ได้รับเกิดจากผลลัพธ์ของการขาดการรู้แจ้ง-เห็นจริงของกลุ่มพยาบาล แต่อาจเป็นการสนองตอบที่ปฏิบัติได้อย่างจริงจัง (Robust pragmatic response) บนพื้นฐานของประสบการณ์และมาตรวัด (Measure) ที่สังเกตได้ (Observable) และพิสูจน์ได้ (Verifiable)

ไม่ว่าแบบจำลอง “สุดยอดของชราภาพ” เป็นสิ่งที่ถูกต้อง (Valid) หรือไม่ เรามีความจำเป็นอย่างเห็นได้ชัดในเรื่องคำแนะนำที่หนักแน่น (Firm guidance) ในการศึกษาเรื่องการตระหนักถึงการตาย (Death awareness)

อย่างไรก็ตาม เท่าที่มีการบันทึก ประสบการณ์ชราภาพของส่วนใหญ่ของประชากรยังมีไม่ถึง 100 ปี (Century) โดยที่ภายในช่วงเวลาเดียวกันนี้ เราได้เรียนรู้ที่จะยอมรับโดยปราศจากการวิพากษ์วิจารณ์ (Uncritical) ว่าชราภาพ เป็นคำที่พ้องความหมาย (Synonymous) กับคำว่าเกษียณอายุ (Retirement)

นอกจากนี้ เรายังได้รับการปลูกฝัง (Ingrained) ที่จะยอมรับการเกษียณอายุในบั้นปลายของชีวิต ว่าชราภาพเป็นสิทธิโดยกำเนิด (Innate right) ในทางปฏิบัติ ซึ่งเป็นไปตามธรรมชาติ และได้รับการวางแผนอย่างดีที่สุดแล้ว แต่ความจริงก็คือ เราไม่มีการวางแผนที่เตรียมไว้อย่างรอบคอบ (Thoroughly worked-out) สำหรับบั้นปลายของชีวิต

อันที่จริง ไม่มีอะไรที่เป็นไปตามธรรมชาติ และการขยายความ (Extension) ต่อจากนั้น ก็คือไม่มีตรรกะ (Logic) ที่เตรียมไว้อย่างรอบคอบที่สมเหตุผล (Justify) ว่า เราควรใช้ชีวิตในบั้นปลายอย่างไร? สิ่งที่ได้เกิดขึ้นเป็นผลลัพธ์ของอุบัติเหตุในอดีต (Historical accident)

นักวิจัยถกเถียงอย่างมีพลัง (Forceful) ว่า “ไม่ใช่ทั้งวิวัฒนา (Evolution) การทางชีวภาพ (Biological) หรือทางวัฒนธรรม (Cultural) ที่มีโอกาสเพียงพอในการวิวัฒนาเต็มศักยภาพ (Optimization) เพื่อค้ำจุน (Scaffold) บั้นปลายของชีวิต” ยังมีนักวิจัยอื่นที่ถกเถียงว่า ในปัจจุบันเราเพิ่งเริ่มต้นที่จะยอมรับ (Acknowledge) ความจำเป็นในการศึกษาการยอมรับการตาย (Death acceptance) และเรายังรู้น้อยมากว่า มันได้วิวัฒนาในแต่ละบุคคลอย่างไร?

แหล่งข้อมูล:

  1. Stuart-Hamilton Ian. (2012). The Psychology of Ageing (5th Ed). London, UK: Jessica Kingsley Publishers.
  2. Mortality salience - https://en.wikipedia.org/wiki/Mortality_salience [2020, July 21].
  3. Lars Tornstam - https://reasonandmeaning.com/2017/08/07/summary-of-lars-tornstam-on-gerotranscendence/ [2020, July 21].