จิตวิทยาผู้สูงวัย ตอนที่ 273 การรับรู้การตาย (3)

จิตวิทยาผู้สูงวัย-273

      

ผู้ใหญ่เยาว์วัย และผู้ใหญ่วัยกลางคน มีแนวโน้มที่จะแสดงออกซึ่งความหวาดกลัวการตายอย่างมีนัยสำคัญ เมื่อเปรียบเทียบกับผู้ใหญ่สูงวัย ซึ่งมิใช่แนวโน้มจากความแตกต่างในระดับของความมั่งคั่ง (Wealth) และการครอบครองทรัพย์สิน (Possession) เนื่องจากประจักษ์หลักฐานแสดงว่า ทัศนคติต่อการตายแตกต่างเพียงเล็กน้อยตามกลุ่มเศรษฐกิจ-สังคม

ความแตกต่างสำคัญระหว่างทัศนคติของผู้ใหญ่สูงวัยกับผู้ใหญ่เยาว์วัยดูเหมือนจะอยู่ที่ระดับความวิตกกังวล (Concern) เกี่ยวกับกระบวนการการตาย (Dying process) ซึ่งมักครอบงำ (Pre-occupation) ในผู้ใหญ่เยาว์วัย โดยทั่วไป ผู้ใหญ่สูงวัยมักวิตกกังวลเกี่ยวกับสถานการณ์ (Circumstance) ของการตายตนเอง มากกว่าการตายโดยตัวมันเอง

นอกจากนี้ ผู้ใหญ่สูงวัย มีแนวโน้มที่จะรู้สึกกระวนกระวาย (Anxious) เกี่ยวกับการตาย ถ้าเขาเชื่อว่า เขาไม่สามารถควบคุมชีวิตของตนเองได้ มีแบบจำลอง (Model) หลากหลายในเรื่องการหยั่งเห็น (Perception) การตายของผู้คน แบบจำลองที่มีอิทธิพลสูงสุด อยู่ในขั้นตอนสุดท้ายของการเปลี่ยนแปลงในบุคลิกภาพ ข้ามช่วงชีวิต (Across life-span)

ตามทฤษฎีของ อริค อริคสัน (Erik Erikson) ขั้นตอนสุดท้ายของชีวิต ควรเป็นเวลาที่ความขัดแย้ง (Conflict) ทั้งปวงได้รับการแก้ไข (Resolved) และบรรลุถึงสุดยอดที่อยู่เหนือธรรมชาติ (Transcendence) นอกจากนี้ยังมีทฤษฎี “สุดยอดของชราภาพ” (Gero-transcendence) ของ ลาร์ส ทอร์นสแตม (Tornstam) นักสังคมวิทยาชาวสวีเดน

ทฤษฎีนี้ เป็นการเปลี่ยนแปลง (Shift) ในมุมมองโลก (World’s view) จากวัตถุนิยม (Materialistic) และเชิงปฏิบัติได้ (Pragmatic) ไปเป็นจักรวาล (Cosmic) และเหนือธรรมชาติ กล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือ บั้นปลายของชีวิตเป็นการเปลี่ยนแปลงทัศนคติจากสิ่งที่เป็นอยู่ในปัจจุบันไปสู่สิ่งที่สุดยอด แนวความคิดนี้เป็นส่วนหนึ่งของลัทธิเซ็น (Zen)

ผู้ใหญ่สูงวัยบางคนอาจบรรลุ “การรู้แจ้ง-เห็นจริง” (Enlightenment) ของตนเอง โดยใช้เวลาในการนั่งสมาธิ (Contemplate) ด้วยตนเอง หรือได้รับการแนะนำจากผู้อื่น อาจเป็นการง่ายที่จะอ้างอิงคำพูดจากบริบท และ/หรือ เห็นจากแบบจำลอง “ศาสนาเทียม” (Pseudo-religious)

แบบจำลองดังกล่าว มองเห็นบั้นปลายของชีวิต เป็นช่วงเวลาของการถอนตัว (Withdraw) จากสรรพสิ่งทางโลก ไปมุ่งเน้น (Concentrate) การบรรลุ (Attain) การรับรู้ถึงสิ่งสุดยอดที่อยู่เหนือธรรมชาติ และการแยกออก (Divorced) จากประเด็นผิวเผิน (Superficial issue) ของอวกาศ (Space) และเวลา (Time)

อย่างไรก็ตาม ทอร์นสแตมเป็นนักสังคมวิทยาที่ได้รับความเชื่อถือ (Respect) มากและแบบจำลองของเขาเป็นความพยายามที่จะนำเสนอแบบจำลองของบั้นปลายของชีวิต และการตาย ซึ่งได้ลบล้าง (Remove) ภาพลักษณ์ในเชิงลบ (Negativity) ออกจากทั้ง 2 ประเด็น

แหล่งข้อมูล:

  1. Stuart-Hamilton Ian. (2012). The Psychology of Ageing (5th Ed). London, UK: Jessica Kingsley Publishers.
  2. Mortality salience - https://en.wikipedia.org/wiki/Mortality_salience [2020, July 7].
  3. Erik Erikson - https://en.wikipedia.org/wiki/Erik_Erikson [2020, July 7].
  4. Lars Tornstam - https://reasonandmeaning.com/2017/08/07/summary-of-lars-tornstam-on-gerotranscendence/ [2020, July 7].