จิตวิทยาผู้สูงวัย ตอนที่ 272 การรับรู้การตาย (2)
- โดย ดร. วิทยา มานะวาณิชเจริญ
- 1 กรกฎาคม 2563
- Tweet
การสนองตอบทางจิตวิเคราะห์ (Psycho-analysis) ที่พบกันทั่วไป (Ubiquitous) ก็คือปฏิกิริยาตอบโต้ (Reaction) ที่มักเป็นเรื่องของจิตใต้สำนึก (Sub-conscious) ดังนั้นจึงอยู่เลย (Beyond) การรับรู้ของเรา ซึ่งเป็นสิ่งที่ไร้เสถียรภาพ (Unstable) เหมือนจิตวิเคราะห์ส่วนมาก แต่ก็เป็นความจริงที่ว่า ในสังคมตะวันตก การพูดคุยถึงการตายเป็นสิ่งที่ต้องห้าม (Restricted)
ทางออกก็คือการใช้ภาษาที่นิ่มนวล (Euphemisms) อาทิ “ไปแล้ว” (Gone), “ไปสู่สุคติ” (Higher place), และ “สิ้นลม” (Pass away) และการเน้นย้ำถึงพฤติกรรมสำรวม (Restrained behavior) ในช่วงเวลาไว้ทุกข์ (Mourning) แต่นี่เป็นข้อถกเถียงของการตายที่อดกลั้น (Repression) ซึ่งอาจเลยเถิดไปไกล
โดยทั่วไปการตายใกล้รอบตัวเรา มักใช้คำพูดที่ไพเราะ (Euphemistic) และเงียบขรึม (Hush) ในสังคมอังกฤษ จะไม่แสดงภาพผู้ตายทางโทรทัศน์ แต่ไม่มีข้อห้ามการแสดงศพผู้ตายในประเทศกำลังพัฒนาและในประเทศตะวันตกอื่นๆ นักวิจัยถกเถียงว่า ในสังคมที่มีระบบศรัทธาในจิตวิญญาณ (Spiritual belief) การตายเป็นสิ่งที่ควรจะรวม (Embrace) อยู่ในส่วนหนึ่งของชีวิต
กล่าวคือเป็นส่วนเพิ่ม (Adding) มิใช่ส่วนลด (Subtracting) ของความเข้าใจในชีวิต นอกจากนี้ นักสังคมวิทยา (Sociologist) ได้ถกเถียงว่า แม้จะมี “กับดักเทียม” (Artificial trap) ของการหลีกเลี่ยงการพูดคุยเรื่องความตาย แต่ในความเป็นจริงแล้ว สังคมตะวันตกก็มิได้ปฏิเสธ (Denial) เกี่ยวกับการตาย
สำหรับผู้คนส่วนใหญ่ ลางสังหรณ์ (Harbinger) ครั้งแรกในจิตสำนึก (Conscious) เกี่ยวกับการตาย (Mortality) ของตนเองเกิดขึ้นในวัยกลางคน (Middle-aged) ผู้คนอาจเผชิญกับการตายของญาติ (Relative) หรือคนที่เขารักก่อนหน้านี้ ตัวอย่างเช่น อายุเฉลี่ยของการเผชิญหน้า (Encounter) การตายครั้งแรกของคนที่รู้จักกัน ในสหรัฐอเมริกาอยู่ที่ประมาณ 8 ปี
อย่างไรก็ตาม วัยกลางคน เป็นช่วงเวลาที่การตายเริ่มมีความหมาย (Meaningful) ในแง่ (Respect) ของความคิดถึงการตายของตนเอง ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่พ่อแม่ของวัยกลางคนมีแนวโน้มที่จะตาย และเพื่อนๆ ของเขา เริ่มวิวัฒนาการเจ็บไข้ได้ป่วยที่คุกคามชีวิต (Life-threatening) หรืออันตรายร้ายแรง (Fatal) อาทิ โรคมะเร็ง (Cancer)
ผู้คนเริ่มวิวัฒนาสิ่งที่อาจเรียกว่า “การตระหนักถึงความตาย” (Death awareness) ไม่เพียงแต่เข้าใจถึงการตายว่าเป็นแนวความคิดนามธรรม (Abstract concept) แต่เริ่มตระหนักถึงความหมายในทางปฏิบัติ (Practical) และในทางอารมณ์ (Emotional) ของการตายของตนเอง, ของเพื่อน, หรือของญาติ
นี่เป็นการแยก (Separate) จากประสบการณ์ของการตายจริง (Actual dying) แต่ก็เป็นที่ถกเถียงได้ว่าเป็นตัวนำ (Precursor) ที่สำคัญอันจะมีอิทธิพลต่อประสบการณ์ในสัปดาห์หรือเดือนท้ายๆ ของชีวิต [งานวิจัยแสดงว่า] ผู้สูงวัยยิ่งมีการตระหนักสูงถึงการตาย ยิ่งลดความหวาดกลัว (Fear) การตายของตนเอง
แหล่งข้อมูล:
- Stuart-Hamilton Ian. (2012). The Psychology of Ageing (5th Ed). London, UK: Jessica Kingsley Publishers.
- Mortality salience - https://en.wikipedia.org/wiki/Mortality_salience [2020, June 30].