จิตวิทยาผู้สูงวัย ตอนที่ 265 การเสพติด (4)
- โดย ดร. วิทยา มานะวาณิชเจริญ
- 13 พฤษภาคม 2563
- Tweet
พึงสังเกตว่า นิสัยเสพติดทั้งปวงมิได้เกิดขึ้นในเยาว์วัยเสมอไป ตัวอย่างเช่นการศึกษาของนักวิจัยเพบว่า ผู้เสพยาสูงวัย (41 คนที่มีอายุระหว่าง 50 ถึง 66 ปี) ได้เริ่มต้นเสพฝิ่น (Opioid) ในบั้นปลายของชีวิต แต่กรณีนี้อาจมิใช่เกิดจากผู้ใหญ่วัยกลางคนที่ยอมจำนน (Succumb) ทันที ภายหลังจากการมีชีวิตที่ปราศจากยา (Drug-free) มาตลอดชีวิต (Life-time)
นักวิจัยพบว่า ผู้เข้าร่วมวิจัยมีประวัติก่อนหน้านั้น (Prior history) ของการเสพติดรูปแบบอื่นและปัญหาทางจิต (Psychiatric) นักวิจัยอีกคนหนึ่ง รายงานผลลัพธ์ที่คล้ายคลึงกัน โดยสังเกตว่า ปัจจัยอธิบาย (Contributing factor) การตายก่อนเวลาอันควรของเพื่อนและสมาชิกในครอบครัว คือการแยกตัวไปอยู่อย่างสันโดษ (Isolation) นักวิจัยคนเดียวกันนี้ ยังสังเกตว่า ไม่มีหนทางผ่าน (Gateway) เดียวที่นำผู้สูงวัยไปสู่การเสพติด
นักวิจัยอีกคนหนึ่งอธิบายแนวโน้มของหนทางไปสู่เหตุการณ์ (Course of event) ดังกล่าว จากการศึกษาที่เขาพบว่า ในบรรดาผู้สูงวัย (อายุเกินกว่า 50 ปี) ผู้เสพสารเมธาโดน (Methadone) เต็มใจที่จะลองเสพยาอื่นๆ ที่ผิดกฎหมาย ถ้าเขาหาได้ในเครือข่ายทางสังคม (Social network) ของเขา ดังนั้น พฤติกรรมเสพติดสารหนึ่งอาจนำไปสู่การเสพติดสารอื่น
นักวิจัยรายงานว่า ในบรรดาผู้ใหญ่วัยต้น ชาวอเมริกันผิวขาวมีแนวโน้มที่จะเสพติดยามากกว่าชาวอเมริกันผิวดำ อย่างไรก็ตาม ในช่วงเวลาต่อมาของผู้ใหญ่วัยกลาง ชาวอเมริกันผิวดำ จะไล่ทันการเสพติด นี่อธิบายว่า เนื่องจากชาวอเมริกันผิวขาวมีโอกาส (Opportunity) ที่จะโยกย้าย (Transition) ไปสู่บทบาททางสังคมที่มีความรับผิดชอบในสถานะที่สูงกว่า เมื่อเปรียบเทียบกับชาวอเมริกันผิวดำ ซึ่งมีโอกาสน้อยกว่า แต่มีแนวโน้มมากว่าในการแสดงพฤติกรรมเบี่ยงเบน (Deviate) จากเกณฑ์ปรกติทางสังคม (Social norm)
อีกรูปแบบสามัญหนึ่งของการเสพติด คือการดื่มแอลกอฮอล์เกินขนาด (Excessive consumption) โดยทั่วไป เรามักเหมา (Assume) เอาว่า การดื่มแอลกอฮอล์จะลดลงในบั้นปลายของชีวิต นี่อาจอธิบายบางส่วนของการถกเถียงเกี่ยวกับการตาย (Macabre argument) ว่า ผู้ที่ดื่มจัดมีแนวโน้มที่จะตายก่อนถึงวัยชรา เนื่องจากผลกระทบของแอลกอฮอล์หรือแนวโน้มของชีวิตที่มีสุขภาพไม่แข็งแรง อย่างน้อยก็ตามตามเลขทางสถิติ
นักวิจัยยังขยาย (Further) การถกเถียงว่า ความรู้ส่วนใหญ่ของการเปลี่ยนแปลงในการดื่มตลอดช่วงอายุ (Life-span) ตั้งอยู่บนพื้นฐานของการศึกษาในห้วงเวลาเดียวกัน (Cross-section) และเป็นไปได้ว่า ผลกระทบของรุ่นราวคราวเดียวกัน (Cohort effect) อธิบายข้อสังเกตที่ว่า มีการลดลงในการดื่มเมื่อมีอายุสูงขึ้น
การวิเคราะห์อย่างระมัดระวัง ในประจักษ์หลักฐานข้าม 3 ประเทศ (สหราชอาณาจักรอังกฤษ สหรัฐอเมริกา และเนเธอร์แลนด์) แสดงให้เห็นว่า การดื่มเหล้าดูเหมือนจะลดลง เมื่อผู้คนมีอายุมากขึ้น แต่ก็มีผลส่วนหนึ่งมาจากรุ่นราวคราวเดียวกัน
แหล่งข้อมูล:
- Stuart-Hamilton Ian. (2012). The Psychology of Ageing (5th Ed). London, UK: Jessica Kingsley Publishers.
- Substance abuse - https://en.wikipedia.org/wiki/Substance_abuse[2020, May 12].