จิตวิทยาผู้สูงวัย ตอนที่ 264 การเสพติด (3)
- โดย ดร. วิทยา มานะวาณิชเจริญ
- 6 พฤษภาคม 2563
- Tweet
อย่างไรก็ตาม การใช้ยาในผู้ใหญ่สูงวัย มิได้จำกัด (Confined) อยู่แต่ความผิดพลาดของการใช้ยา (Mis-use) ที่ถูกกฎหมาย (Legal) เท่านั้น แต่เกี่ยวข้องกับเสพยาที่ผิดกฎหมาย (Illicit) ด้วย และในขณะที่ตัวเลขดิบ (Absolute number) ของผู้เสพติด (Addict) ไม่มากเท่ากับผู้ใหญ่เยาว์วัย ก็ยังพบผู้เสพติดสูงวัยอยู่ไม่น้อย
เราอาจสังหรณ์ใจ (Intuitive) ว่า ผู้เสพติดสูงวัย เป็นส่วนหลงเหลือ (Rump) ต่อเนื่องมาจากผู้ใหญ่เยาว์วัย ซึ่งรอดตายจนถึงวัยชราเพราะความอัศจรรย์ (Miracle) ทางการแพทย์ ก็คงมีความเป็นจริงในผู้คนดังกล่าว แต่ก็มีประจักษ์หลักฐานที่แสดงว่า ผู้ที่ได้เสพยามาตลอดชีวิต ก็คงไม่ง่ายนักที่จะละทิ้งนิสัย (Habit) ดังกล่าว
แนวความคิดที่ว่าผู้เสพติดสูงวัย สืบเนื่องมาจากนิสัยเสพติด เป็นข้อสังเกตที่ค่อนข้างกว้างมาก (Wide mark) ตัวอย่างเช่น นักวิจัยพบว่า ผู้เข้าร่วมวิจัย (อายุระหว่าง 50 ถึง 68 ปี) จะยอมละทิ้งการฉีดยา (Injection) เสพติดที่ผิดกฎหมาย ก็ต่อเมื่อเกิดความเจ็บป่วยอย่างสาหัส หรือถึงแก่ความตาย เท่านั้น
ในกรณีเลวร้ายที่สุด (At worst) การเสพยาระยะยาว (Long-term) มีสหสัมพันธ์กับความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้นมาก (Hugely) ของการตายก่อนเวลาอันควร ส่วนในกรณีเลวร้อยน้อยสุด (At best) การเสพยาระยะยาวก่อให้เกิดปัญหาการเจ็บป่วยทางร่ายกายและจิตใจอย่างร้ายแรง (Serious) แต่ในที่สุด (Eventually) สิ่งนี้มีแนวโน้มที่จะเกิดขึ้นเร็วกว่าที่ปรารถนา (Desirable)
นอกจากนี้ พฤติกรรมดังกล่าวมีแนวโน้มที่จะนำไปสู่การติดคุก (Imprisonment) เพราะการเสพยาหรือการก่ออาชญากรรม (Crime committed) ที่ต้องชดใช้ (Pay) กรรม [นิสัยเสพติด] ในการศึกษาเกี่ยวกับนักโทษในเรือนจำ (Prison inmates) นักวิจัยพบว่า 71% ของนักโทษสูงวัย (นิยามว่าอายุสูงกว่า 55 ปี) มีปัญหาเสพติดสาร (Substance abuse) [ยาหรือแอลกอฮอล์]
นอกจากนี้ ประมาณ 1 ใน 3 ไม่เคยได้รับการรักษาพยาบาลเลย อย่างไรก็ตาม ผู้เสพติดสูงวัยที่รอดพ้นจากการจองจำ อาจพบว่า ถูกลดคุณค่า (Marginalized) โดยกลุ่ม (Community) ที่เสพยาด้วยกัน ซึ่งส่วนมาก (Pre-dominant) ประกอบด้วยผู้ใหญ่เยาว์วัย ปัญหานี้มีแนวโน้มที่จะย่ำแย่ลง
ผู้สูงวัยจากชั่วอายุคน (Generation) ของเด็กเกิดหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 (Baby boom) เสพยาในปริมาณที่ไม่น้อย (Abate) เมื่อเปรียบเทียบกับคนรุ่นราวคราวเดียวกัน (Cohort) ของชั่วอายุคนก่อนหน้านั้น ในสหรัฐอเมริกา กะประมาณกันว่า จำนวนผู้ป่วยเสพติด ที่ต้องการการรักษาพยาบาล จะเพิ่มขึ้นจากจำนวน 1.7 ล้านคน ในปี ค.ศ. 2001 ไปถึง 4.4 ล้านคน ในปี ค.ศ. 2020 แต่นักวิจัยใช้ข้อมูลเมื่อไม่นานมานี้ เพิ่มตัวเลขพยากรณ์ (Projection figure) สูงขึ้นไปถึง 5.7 ล้านคนในปีดังกล่าว
ผู้ดูแลสุขภาพเผชิญประเด็นอันตรายจากการติดเชื้อ (Contract) HIV/AIDS และปัญหาการให้บริการดูแลสุขภาพในอนาคต แต่ก็มีการศึกษาที่แสดงว่า การรักษาพยาบาลผู้เสพติดลดลงไปตามอายุขัยที่เพิ่มขึ้น แม้ว่าอาจมีสภาวะตรวจวิเคราะห์น้อยเกินไป
แหล่งข้อมูล:
- Stuart-Hamilton Ian. (2012). The Psychology of Ageing (5th Ed). London, UK: Jessica Kingsley Publishers.
- Substance abuse - https://en.wikipedia.org/wiki/Substance_abuse[2020, May 5].