จิตวิทยาผู้สูงวัย ตอนที่ 262 การเสพติด (1)

จิตวิทยาผู้สูงวัย-262

      

คำว่า “การเสพติด” (Substance abuse) มักหมายถึงการใช้สารที่ผิดกฎหมาย (Illegal) หรือชอบด้วยกฎหมาย (licit) แต่มีคุณสมบัติเสพติด (Addictive quality) เมื่อใช้ในปริมาณมากเกินไป (Excessive quantity) จนถึงจุดที่ทำให้กิจวัตรประจำวันได้รับผลกระทบอย่างรุนแรง (Severely affected)

รูปแบบตายตัว (Stereo-type) ของผู้สูงวัย มักตรงข้าม (Militate) กับภาพลักษณ์ (Image) ของผู้เสพติด (Addict) แต่เจ้าหน้าที่สาธารณสุข (Health authorities) เริ่มทวีความกังวลกับโอกาส (Prospect) ที่ผู้สูงวัยจะมีสัดส่วน (Proportion) จำนวนมาก ที่ต้องทนทุกข์ทรมานจากพฤติกรรมเสพติด ในอดีตผู้ให้บริการสุขภาพ มักมิได้รับการอบรมให้รับรู้และรับมือกับปัญหาเหล่านี้

ความคิดของการเสพติดมักหมายถึงแอลกอฮอล์และยาเสพติด แต่อาจรวมถึงการพนัน (Gambling) ด้วย โดยเฉพาะในสหรัฐอเมริกา บ่อนการพนัน (Casino) [ที่ถูกกฎหมาย] มีอยู่ดาษดื่น (Widespread) และมักมิใช่สำหรับการพนันอย่างเดียว แต่เป็นประสบการณ์ทางสังคม (Social experience) ด้วย มีการจัดให้ผู้สูงวัยที่มีลักษณะสนใจร่วมกัน (Common feature) ไปเยี่ยมชมบ่อน โดยเจ้าของบ่อนเป็นผู้อุปถัมภ์

นี่หมายความว่า การพนันนำเสนอโฉมหน้า (Face) ทั้งที่มีเสน่ห์ (Attractive) และไม่มีเสน่ห์ ในด้านที่เป็นลบ (Negative) นักวิจัยรายงานกรณีศึกษาของผู้ใหญ่สูงวัยที่ได้วิวัฒนาปัญหาการพนัน การศึกษาเมื่อไม่นานมานี้ พบว่าประมาณ (Circa) 3% ของผู้ใหญ่สูงวัยชาวอเมริกัน ติดการพนันในระดับที่อาจต้องเข้ารับการรักษาพยาบาล (Treatment)

การมี (Available) บ่อนการพนันยิ่งมาก ก็ยิ่งทำให้ผู้สูงวัยวิวัฒนานิสัย (Habit) การพนัน จนถูกจัดให้อยู่ในประเภทของความเสี่ยงสูง (At-risk category) กล่าวคือ วิวัฒนาการเสพติด อย่างไรก็ดี ในด้านที่เป็นบวก (Positive) นักวิจัยได้รายงานว่า สำหรับผู้สูงวัยบางคน การมีส่วนร่วมในการพนัน เป็นกิจกรรมหลักทางสังคมที่อาจไม่มีผลกระทบในเชิงลบอย่างเห็นได้ชัด (Notably)

นักวิจัยบางคนยังสรุปว่า การพนันดูเหมือน (Appear) ว่า โดยรวมแล้วมีผลกระทบในเชิงลบเพียงเล็กน้อยในผู้สูงวัยทั่วไป อย่างไรก็ตาม อาจเป็นการง่ายที่จะมองข้าม (Overlook) ด้านสังคมของการพนัน เพราะมันอาจบดบัง (Mask) ปัญหาร้ายแรง เหมือนในกรณีพฤติกรรมเสพติดของการดื่ม (Consumption) แอลกอฮอล์

การศึกษาในเรื่องเครื่องเล่นเกมอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic gaming machine) ที่มีใบอนุญาต (Licensed) ณ สถาน (Venue) การพนันในรัฐควีนส์แลนด์ (Queensland) ประเทศออสเตรเลีย พบว่า ผู้สูงวัยจำนวนไม่น้อยได้ใช้สโมสร (Club) การพนันเป็นสถานที่พบปะทางสังคม หลายคนไม่มีหุ้นส่วน [ชีวิต] และด้อยความสามารถทางร่างกาย (Physical disability) ด้วยซ้ำ

แต่ 27% ของเขาเหล่านั้นให้สัมภาษณ์ว่า เขาได้ใช้เงินที่เก็บสะสม (Savings) มาตลอดชีวิตในการเล่นการพนัน และทั้งกลุ่มมีรายได้ทั้งปีค่อนข้างต่ำทั้งๆ ที่มีความเสี่ยมถอยในการรับรู้อย่างอ่อน และค่อนข้างแย่ในการตัดสินใจเรื่องความเสี่ยงในการพนัน

แหล่งข้อมูล:

  1. Stuart-Hamilton Ian. (2012). The Psychology of Ageing (5th Ed). London, UK: Jessica Kingsley Publishers.
  2. Substance abuse - https://en.wikipedia.org/wiki/Substance_abuse[2020, April 21].