จิตวิทยาผู้สูงวัย ตอนที่ 261 โรควิตกกังวล (2)

จิตวิทยาผู้สูงวัย-261

      

ในบรรดาความหวาดกลัว (Phobia) ทั้งหลาย มีรายงานบ่อยจนเคยชิน (Common) ของความกลัวที่กว้างเวิ้งว้าง (Agora-phobia) ซึ่งมีแนวโน้มที่จะผสมปนเป (Conflate) ไปกับความกลัวเฉพาะ (Specific) ของการต้องจากบ้านไป (Leave the house) แหล่งอื่นๆ ที่มักมีการรายงาน ได้แก่การหกล้ม (Fall), การตาย, และสถานการณ์ทางสังคม (Social situation)

เราคงไม่ต้องสงสัย (Undoubted) แหล่งของการวิตกกังวลเหล่านี้ แต่การเรียกว่าเป็นความหวาดกลัวอาจรุนแรง (Harsh) เกินไป เนื่องจากมันอาจจะมีเหตุผลอย่างโจ่งแจ้ง (Palpably rational) มากกว่าความหวาดกลัวที่มีรูปแบบตายตัว (Stereo-typical)

ตัวอย่างเช่น ข้อความขัดแย้งกันเอง ซึ่งมักกล่าวอ้างกัน (Often-cited paradox) ก็คือ ผู้สูงวัยมีแนวโน้มน้อยที่สุดที่จะกลายเป็นเหยื่อของอาชญากรรม (Victim of crime) แต่เป็นกลุ่มอายุที่กลัวอาชญากรรมมากที่สุด นี่หมายความว่า ผู้สูงวัยไร้ความคิดตรรกะ (Illogical) ที่กลัวอาชญากรรม หรือไม่ยอมออกนอกบ้านเพราะกลัวถูกจี้ปล้น (Mugged) ใช่ไหม? ตามตัวเลขทางสถิติ คำตอบของการตีความอย่างง่าย (Simplistic interpretation) คงเป็น “ใช่”

อย่างไรก็ตาม นักวิจัยสังเกตว่า สถิตินี้อาจประยุกต์ใช้ได้กับอาชญากรรมในภาพรวม (Overall) และสำหรับบางรูปแบบของมิจฉาชีพ (Misdemeanor) ผู้สูงวัยมิได้มีความเสี่ยง (Risk) ต่ำกว่าเลย คำอธิบายที่เป็นไปได้ (Plausible) มากที่สุดก็คือ ความหวาดกลัวอาจเกิดขึ้นเพราะระดับที่สูงขึ้น (Heighted) ของการวิตกกังวลเข้ากันได้ (Fix onto) กับเรื่องราวที่จับต้องได้ (Tangible) และมีเหตุผล (Rational)

แม้จะดูเหมือนดันทุรัง (Perversely) แต่การวิตกกังวลเล็กน้อยอาจเป็นประโยชน์ (Advantageous) ในบางสถานการณ์ (Circumstance) นักวิจัยพบความสัมพันธ์วกกลับเป็นตัวยู (Inverted U relationship) ระหว่างการวิตกกังวลและผลงานที่รับรู้ (Cognitive performance) ในผู้สูงวัย กล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือ ผู้เข้าร่วมวิจัย (Participant) ที่มีระดับอ่อน (Mild) ของการวิตกกังวล ทำคะแนนทดสอบการรับรู้ (Cognitive test score) ได้ดีกว่า เมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มอื่น แต่ในระดับที่เข้มกว่า กลับทำคะแนนทดสอบการรับรู้ได้แย่กว่า

สรุปแล้ว การวิตกกังวล เป็นอารมณ์ที่มีลักษณะพิเศษเฉพาะ ของสภาวะที่ไม่น่ารื่นรมย์ของความปั่นป่วนภายใน (Inner turmoil) มักตามด้วยพฤติกรรมทางประสาท (Nervous behavior) อันที่จริง การวิตกกังวลถือว่าเป็นสิ่งปรกติ แต่ผู้วิตกกังวลอาจประสบเหตุที่ผิดปรกติ ซึ่งจะสัมพันธ์กับความกลัว อันเป็นการสนองตอบภัยคุกคามเฉียบพลัน (Immediate threat) ที่หยั่งเห็น (Perceived) และเกี่ยวข้องกับการคาดเดาถึงภัยคุกคามในอนาคต แต่ผู้ที่เผชิญกับการวิตกกังวล ก็อาจถอนตัว (Withdraw) ออกจากสถานการณ์ที่กระตุ้น (Provoke) การวิตกกังวลในอดีต

แหล่งข้อมูล:

  1. Stuart-Hamilton Ian. (2012). The Psychology of Ageing (5th Ed). London, UK: Jessica Kingsley Publishers.
  2. Anxiety - https://en.wikipedia.org/wiki/Anxiety[2020, April 14].