จิตวิทยาผู้สูงวัย ตอนที่ 259 โรคซึมเศร้า (2)

จิตวิทยาผู้สูงวัย-259

      

สภาวะ (Condition) ที่ก่อให้เกิดความเจ็บปวดเรื้อรัง (Chronic) อาทิ โรคไขข้ออักเสบ (Arthritis) มีแนวโน้มที่จะสัมพันธ์กับโรคซึมเศร้า (Depression) เมื่อเปรียบเทียบกับสภาวะที่ร้ายแรงแต่เจ็บปวดน้อยกว่า อาทิ โรคเบาหวาน (Diabetes) นักวิจัยโต้เถียงว่า แม้ตัวพยากรณ์ที่แน่ชัด (Strong predictor) ของโรคซึมเศร้าจะเป็นระดับของสุขภาพกาย เมื่อเปรียบเทียบกับโรคอื่น แต่การศึกษาพบว่าโรคซึมเศร้ามีโอกาสสูงว่าที่จะเกิดขึ้นในผู้สูงวัยที่อ้วนเกิน (Obese)

อย่างไรก็ตาม พึงสังเกตว่า ความสัมพันธ์ระหว่างโรคซึมเศร้ากับการเจ็บป่วย เกิดขึ้นได้ 2 ทาง ตัวอย่างเช่น การศึกษาโดยนักวิจัยแสดงให้เห็น (Demonstrate) ว่าในบรรดาผู้มีอายุ 62 ปี จำนวน 10 คน โรคซึมเศร้า ณ จุดเริ่มต้นของการศึกษา สามารถพยากรณ์ระดับที่สูงกว่าของการเจ็บป่วยได้อย่างมีนัยสำคัญ การวิจัยพบว่ามีปัจจัยอื่นๆ อีกที่เชื่อมโยงกับโรคซึมเศร้า ดังรายการหลากหลาย (Variety) ต่อไปนี้

  • ระดับการหยั่งเห็น (Perceived) การสนับสนุนของสังคม
  • ปัญหาการเงิน
  • พันธุกรรมที่สืบทอดมา (Genetic inheritance)
  • ระดับการหยั่งเห็นการดูแลอย่างไม่เป็นทางการ (Informal care)
  • ความล้มเหลวที่เด่นชัด (Apparent) หรือการชะลอ (Stall) การฟื้นฟูหลังการบาดเจ็บ (Injury)
  • ระดับต่ำหรือปราศจากศรัทธาในศาสนา
  • การพึ่งพาผู้อื่นที่เพิ่มขึ้น

สาเหตุหลากหลายแสดงให้เห็นว่า แม้จะพิจารณาถึงตัวแปรกวน (Confounding variable) โรคซึมเศร้าก็ยังจู่โจม (Strike) ได้ด้วยเหตุผลหลายประการ พึงสังเกตว่า โรคซึมเศร้าอาจมีสาเหตุจากปัจจัยเดียวหรือหลายปัจจัย นักวิจัยพบว่า ระดับการด้อยความสามารถ (Disability), สุขภาพ, สถานะทางเศรษฐกิจ-สังคม (Socio-economic status), ความรู้สึกถึงการควบคุมและการสนับสนุนทางสังคม ล้วนเป็นปัจจัยแยก (Separate factors) ของโรคซึมเศร้า

ประจักษ์หลักฐานจากผลกระทบที่ซับซ้อน (Complex) แสดงให้เห็นว่าคุณภาพ (Quality) ของความสัมพันธ์ในครอบครัว (Familial relations) อาจดำเนินการเป็น “กันชน” (Buffer) ระหว่างปัญหาสุขภาพกับกลุ่มอาการซึมเศร้า

นักวิจัยพบว่า ไม่มีความแตกต่างในเรื่องอายุ ในการสนองตอบ (Responsivity) ต่อการรักษาพยาบาล ระหว่างผู้ป่วยโรคซึมเศร้าเยาว์วัยกับสูงวัย โดยเฉพาะในการฟื้นฟูหลังการรักษาพยาบาล แม้ว่าการเกิดขึ้นซ้ำ (Recurrence) ของกลุ่มอาการ จะสูงกว่าในผู้ป่วยที่เริ่มต้นล่าช้ากว่า (Late-onset) ส่วนการออกกำลังกาย ดูเหมือนจะเป็นประโยชน์ต่อผู้ป่วยโรคซึมเศร้าสูงวัย

      

แหล่งข้อมูล:

  1. Stuart-Hamilton Ian. (2012). The Psychology of Ageing (5th Ed). London, UK: Jessica Kingsley Publishers.
  2. Depression in Older Adults - https://www.helpguide.org/articles/depression/depression-in-older-adults.htm[2020, March 31].