จิตวิทยาผู้สูงวัย ตอนที่ 255 บทสรุปของโรคสมองเสื่อม
- โดย ดร. วิทยา มานะวาณิชเจริญ
- 4 มีนาคม 2563
- Tweet
โรคสมองเสื่อม (Dementia) เป็นการสูญเสียที่ค่อยเป็นค่อยไป (Progressive) ของความทรงจำ ทักษะทางปัญญา และภาษา (Linguistic) ซึ่งมักตาม (Accompany) ด้วยการเปลี่ยนแปลงอย่างใหญ่หลวง (Radical) ในบุคลิกภาพ (Personality) และบางครั้งทักษะการเคลื่อนไหว (Motor) กลุ่มอาการ (Symptom) แตกต่างกันไปตามแต่ละผู้ป่วย
แต่โดยทั่วไปแล้ว โรคสมองเสื่อมแยกเด่นชัด (Distinguishable) ไปตามรูปแบบ (Pattern) ของพัฒนาการ การเจ็บป่วย (Illness) หลากหลายชนิด อาจทำให้สับสนกับโรคสมองเสื่อม เนื่องจากความคล้ายกันอย่างผิวเผิน (Superficial similarity) ของกลุ่มอาการ แต่ก็มักจะง่ายต่อการแยกแยะ (Identified)
ณ ระดับกายภาพ (Physical level) โรคสมองเสื่อมมักแตกต่างกันในรูปแบบและประเภทของความเสื่อม (Atrophy) แต่สหสัมพันธ์ (Correlation) ระหว่างความสูญเสียกับกลุ่มอาการทางจิต (Psychological) ก็ยังไม่แน่นแฟ้น (Watertight) มากนัก อย่างไรก็ตาม การทำงาน (Function) ทางปัญญามักเสื่อมถอยลง (Decline) ในโรคสมองเสื่อมเกือบทุกกรณี
แม้จะมีความแตกต่างในเชิงคุณภาพ (Qualitative) ของการทำงานในบางกรณี แต่ก็มักจะพบในผู้ป่วยในขั้นต้น (Early stage) ของการเจ็บป่วย เมื่อโรคได้ดำเนินไป ผู้ป่วยมักขาดทักษะทางจิตที่จะเข้าใจ (Comprehend) หรือปฏิบัติงาน (Perform) ที่ได้รับมอบหมาย
โรคสมองเสื่อมก็เช่นเดียวกับการเจ็บป่วยอื่นๆ ไม่เพียงแต่ผู้ป่วยเท่านั้นที่ต้องทนทุกข์ทรมาน โรคนี้ยังเป็นแหล่งความเครียด (Source of stress) และภาระหนัก (Burden) ของผู้ดูแล (Care-giver) แต่ผู้ป่วยยังคงเป็นมนุษย์ ผู้มีสิทธิที่จะได้รับการยอมรับด้วยศักดิ์ศรี (Dignity), คุณค่าของตนเอง (Self-worth), และความสุขสบาย (Enjoyment) ในชีวิต
อย่างไรก็ตาม ความรุนแรงและน่ากลัว (Severity and awfulness) ของกลุ่มอาการโรคสมองเสื่อม อาจนำไปสู่ทัศนะคติที่เกินความจริง (Exaggerated view) ของการเกิดขึ้นไปทั่ว (Prevalence) และการสูญเสียทุกอย่างเมื่อเริ่มป่วย จึงจำเป็นต้องตอกย้ำว่า ผู้เริ่มเป็นโรคสมองเสื่อม มักประสบ (Experience) เพียงขั้นต้นของพัฒนาการก่อนถึงแก่ความตาย
งานวิจัยในเรื่องการด้อยความสามารถในการเรียนรู้ (Learning disabilities) ในบั้นปลายของชีวิต มีค่อนข้างน้อยมาก (Relatively scarce) และการให้บริการแก่ผู้สูงวัยที่ด้อยความสามารถในการเรียนรู้ ยังคงเป็นพื้นที่สีเทา (Grey area) [ไม่แน่ชัด] แม้จะมีการบันทึก (Document) บางเงื่อนไขเฉพาะ (Specific conditions)
มีวรรณกรรมมากมาย (Considerable literature) ในเรื่องทักษะการรับรู้ (Cognitive) ในผู้ป่วยอาการดาวน์ (Down syndrome) ในบั้นปลายของชีวิต เนื่องจากโอกาสความเกี่ยวข้อง (Potential relevance) กับโรคอัลไซเมอร์ส (Alzheimer’s) แต่ก็มิใช่กรณีการด้อยความสามารถในการเรียนรู้ของผู้สูงวัย
แหล่งข้อมูล:
- Stuart-Hamilton Ian. (2012). The Psychology of Ageing (5th Ed). London, UK: Jessica Kingsley Publishers.
- Dementia.https://en.wikipedia.org/wiki/Dementia [2020, March 3].