จิตวิทยาผู้สูงวัย ตอนที่ 250 ทักษะด้านภาษา (2)
- โดย ดร. วิทยา มานะวาณิชเจริญ
- 29 มกราคม 2563
- Tweet
ในวงกว้าง (Broadly) นักวิจัยค้นพบว่า ผู้ป่วยอัลไซเมอร์ส (Alzheimer’s disease : AD) แย่กว่าอย่างมีนัยสำคัญ ในงานหลากหลายด้านภาษา (Linguistic task) ในประเด็นการจับคู่ภาพ, การใช้วิจารณญาณในประโยคที่ถูกต้องตามไวยากรณ์, (Grammar) และความสมบูรณ์ของประโยค
สิ่งเหล่านี้ มิอาจอธิบายได้ (Explicable) ด้วยความบกพร่องของความทรงจำ (Memory deficit) หรือความรุนแรงของความเจ็บป่วย แม้ว่าความบกพร่องด้านภาษาใน AD มิได้ปรากฏพร้อมความรุนแรงเดียวกัน ในขั้นตอนเดียวกันของผู้ป่วยทั้งหมด กลุ่มอาการสามัญ ได้แก่การรุกล้ำ (Intrusion) หรือการบรรจุ (Insert) คำหรือวลี (Phrase) ที่ไม่เหมาะสม, การทำซ้ำซากอย่างไม่เหมาะสม (Perseveration) ของวลี คำ หรือบางส่วนของคำ, และการพูดอ้อมค้อม (Circumlocution)
อย่างไรก็ตาม พึงสังเกตว่า นักวิจัยไม่พบปัญหาเฉพาะ (Especial) ในการประมวลการสร้างประโยค (Syntactic processing) ในการศึกษาผู้ป่วย AD ในขั้นต้นของความเจ็บป่วย แต่นักวิจัยก็พบความบกพร่องในการสร้างประโยคเมื่อความเจ็บป่วยดำเนินไป และมีความสัมพันธ์กับการสูญเสีย “สสารสีขาว” (White matter) และความเสื่อมถอยของการควบคุมกลไกลบริหาร (Executive) ของความทรงจำ
แต่มิใช่ทักษะด้านภาษาทั้งหมดจะเสื่อมถอยในเวลาเดียวกัน ตัวอย่างเช่น การรับรู้เสียงจากการพูด (Speech sound) อาทิ การออกเสียง (Pronunciation) ที่ถูกต้อง ในสาขาวิชาว่าด้วยเสียง (Phonology) และความรู้เรื่องรากของคำ (Morphology) มักคงอยู่ (Preserved) ในผู้ป่วย AD
นอกจากนี้ การอ่าน (อย่างน้อยของคำพูดเดียว) ก็คาดว่า (Assumed) ยังคงอยู่ในขั้นต้นของ AD จนกระทั่งถึงการทดสอบการอ่านของผู้ใหญ่แห่งชาติ (National Adult Reading Test) ซึ่งเป็นการทดสอบความรู้ของการออกเสียงคำที่มักสะกดแปลกๆ อาทิ คำว่า “Quay” [อ่านว่า “คี”] มักใช้การวัด (Gauge) สติปัญญาก่อนการเจ็บป่วย (Pre-illness intelligence)
นักวิจัยค้นพบความเสื่อมถอยในทักษะด้านพื้นที่การมองเห็น (Visuo-spatial) ในผู้ป่วย AD อย่างเบาบาง (Mild) แม้ว่าเมื่อต้องอาศัยความทรงจำในงานเพียงเล็กน้อย (Minimized) นักวิจัยโต้เถียงว่า การทดสอบด้านพื้นที่การมองเห็นอาจได้ประสิทธิผล (Effectiveness) เฉพาะในการค้นหา (Detect) โรคสมองเสื่อม (Dementia) ในขั้นต้นเท่านั้น
นักวิจัยอธิบายความเสื่อมถอยว่า เกิดจากประสิทธิภาพ (Efficiency) ที่ลดลงของส่วนประกอบของระบบความทรงจำปฏิบัติงาน (Working memory) ในเวลาต่อมา นักวิจัยอีกคนหนึ่งสนับสนุนการค้นพบนี้ โดยเพิ่มเติมว่า ข้อแตกต่างหลัก (Key distinction) ระหว่างการควบคุมผู้ที่มิได้เป็นโรคสมองเสื่อมกับผู้ป่วย AD ในงานที่ต้องอาศัยพื้นที่การมองเห็น อยู่ที่การทำงานของสมองบริหารส่วนกลาง (Central executive function)
แหล่งข้อมูล:
- Stuart-Hamilton Ian. (2012). The Psychology of Ageing (5th Ed). London, UK: Jessica Kingsley Publishers.
- Aging and Language Production - https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC2293308/ [2019, January 27].