จิตวิทยาผู้สูงวัย ตอนที่ 247 ความทรงจำในโรคสมองเสื่อม (2)

จิตวิทยาผู้สูงวัย-247

      

ประจักษ์หลักฐานส่วนใหญ่ชี้ไปที่วงจรของเสียง (Phonological loop) ที่ปราศจากอันตราย (Unscathed) ในขั้นต้นของโรค อย่างไรก็ตาม เมื่อ AD วิวัฒนาไป (Progress) วงจรของเสียงก็เริ่มเสื่อมลง (Impaired) ปัญหาเดียวกันก็พบในผู้ป่วยด้วยโรคฮันติงตัน (Huntington’s disease) ดังนั้น อาจไม่น่าประหลาดใจ ถ้าผู้ป่วยด้วยโรคสมองเสื่อมเทียม (Pseudo-dementia) ประพฤติตัวเหมือนผู้เข้าร่วมวิจัยสูงวัยที่มิได้เป็นโรคสมองเสื่อม แม้จะมีช่วง (Span) ความทรงจำในระดับต่ำกว่าโดยภาพรวม

นักวิจัยและนักวิจารณ์ (Commentator) อื่นโต้เถียงว่า ความบกพร่องหลัก (Key deficit) อยู่ที่สมองส่วนบริหารกลาง (Central executive) มีประจักษ์หลักฐานมากมาย (Considerable evidence) ว่า เมื่อมอบหมายงานที่ต้องอาศัยความทรงจำระยะสั้น (Short-term memory : STM) และเบี่ยงเบนความสนใจในเวลาเดียงกัน (Simultaneous distracting) ช่วงความทรงจำของผู้ป่วยอัลไซเมอร์ส (Alzheimer’s disease : AD) จะแย่ลงเป็นสัดส่วนที่ผิดเพี้ยน (Disproportionately) ไปเลย

นี่แสดงถึง ความบกพร่องอย่างมากในสมองส่วนบริหารกลาง เนื่องจากหนึ่งในหน้าที่งาน (Function) หลัก คือการควบคุมและการประสานงานทางปัญญา (Intellectual) และงานทางความทรงจำ สมองส่วนบริหารกลางในทางสรีระ (Anatomically) จะมีฐานอยู่ในสมองกลีบหน้า (Front lobe) ซึ่งเป็นอาณาบริเวณที่ได้รับทราบกันว่าได้รับผลกระทบอย่างแรงใน AD

กลุ่มอาการสมองกลีบหน้ามักแย่ลงเมื่อ AD และโรคสมองเสื่อมพร้อมกับลิวอี้บอดี้ (Dementia with Lewy body) ดำเนินไป แต่หลังจากที่เห็นเด่นชัด (Pronounced) แต่เนิ่นๆ ในขั้นต้น มักดำรงอยู่อย่างมั่นคง (Stable) ในผู้ป่วยโรคสมองเสื่อม ณ กลีบขมับส่วนหน้า (Frontotemporal)

พึงสังเกตว่าอาณาบริเวณอื่นของสมอง อาทิ ฮิปโปแคมปัส (Hippocampus) และสมองกลีบขมับ (Temporal lobe) ก็มีผลเกี่ยวโยง (Implicated) กับการสูญเสียความทรงจำ ความทรงจำช่วงเวลายาว (Remote memory) ก็มีผลกระทบจากโรคสมองเสื่อม (Dementia) กล่าวคือ ผู้ป่วยอาจไม่มีความทรงจำของสิ่งที่เกิดขึ้นเมื่อวานนี้ แต่ระลึกถึงเหตุการณ์ในวัยเด็กได้อย่างแม่นยำ (Pin-sharp recall)

การศึกษาในห้องปฏิบัติการ (Laboratory study) แสดงให้เห็น (Demonstrate) ว่า ความทรงจำช่วงเวลายาวสำหรับชื่อและเหตุการณ์โด่งดัง (Famous) ของผู้เป็นโรคสมองเสื่อม แย่กว่าอย่างมีนัยสำคัญ เมื่อเปรียบเทียบกับผู้สูงวัยที่มิได้เป็นโรคสมองเสื่อม และเสื่อมลงในอัตราที่รวดเร็วกว่าความทรงจำในเรื่องชีวประวัติตนเอง (Auto-biographical memory)

การระลึกถึงความทรงจำในเรื่องชีวประวัติตนเองในผู้ป่วย AD อาจเกี่ยวข้องกับปริมาณสูงของความทรงจำผิดเพี้ยน (False memory) และระดับของความสูญเสียที่มีสหสัมพันธ์กับการรับรู้ที่ค่อนข้างต่ำของระดับที่แท้จริงในทักษะความทรงจำและความรู้สึกเกี่ยวกับตนเอง (Sense of self)

      

แหล่งข้อมูล:

  1. Stuart-Hamilton Ian. (2012). The Psychology of Ageing (5th Ed). London, UK: Jessica Kingsley Publishers.
  2. Memory change - https://www.healthline.com/health/memory-change#causes [2019, January 7].