จิตวิทยาผู้สูงวัย ตอนที่ 246 ความทรงจำในโรคสมองเสื่อม (1)

จิตวิทยาผู้สูงวัย-246

      

เนื่องจากลักษณะสำคัญของโรคสมองเสื่อมคือการสูญเสียความทรงจำ จึงไม่ประหลาดใจที่จะตั้งข้อสังเกตว่า การศึกษาหลายครั้งพบการเสื่อมถอยทั่วไป (General deterioration) ของความทรงจำในผู้ป่วยโรคสมองเสื่อม และเมื่อโรคนี้วิวัฒนามากขึ้นเรื่อยๆ ความทรงจำ ก็เลวร้ายลงเรื่อยๆ เช่นกัน

อันที่จริง นักวิจัยจำนวนมากโต้เถียงว่า การสูญเสียความทรงจำที่ดีๆ (Appreciable) แสดงถึงขั้นตอนก่อนรักษา (Pre-clinical stage) โรคสมองเสื่อม (Dementia) นักวิจัยอีกคนหนึ่งได้ปรับปรุง (Refine) ข้อโต้เถียงนี้ว่า รูปแบบโดยรวม (Global pattern) ของทักษะการรับรู้ที่ค่อนข้างแย่ (Poor) แสดงถึงการใกล้จะมาถึง (Imminent) ของโรคสมองเสื่อม ในขณะที่ความทรงจำที่แย่ โดยตัวมันเอง สามารถพยากรณ์การจู่โจม (Onset) ของโรคสมองเสื่อมในระยะยาว

ผลการทำงาน (Task performance) ของผู้ป่วยโรคอัลไซเมอร์ส (Alzheimer’s Disease : AD) ในเรื่องความทรงจำระยะสั้น (Short-term memory : STM) จะเลวร้ายลง โดยมีสาเหตุหลายประการ (Severalfold) ประการแรกคือความบกพร่องของการกำหนดรหัส (Encoding deficit)

ตัวอย่างเช่น นักวิจัยพบ ผู้ป่วย AD สามารถดำรง (Retain) ความทรงจำได้ดีพอๆ กับผู้เข้าร่วมวิจัยที่มิได้เป็นโรคสมองเสื่อม (Non-dementing participant) ถ้าเขาได้รับโอกาสมากขึ้นในการซักซ้อม (Rehearse) รายการที่ต้องจดจำ (To-be-remembered: TBR)

ตัวอย่างเช่น รายชื่อของคำที่ออกเสียงคล้ายกัน (อาทิ กา ขา คา) จะยากต่อการจดจำ เมื่อเปรียบเทียบกับคำที่ออกเสียงต่างกัน (อาทิ กา ขับ โค้ง) เนื่องจากคำได้รับการลงรหัส (Encode) ด้วยกลไก (Mechanism) ของความทรงจำที่อ่อนไหวต่อการออกเสียง (Sound-sensitive) ซึ่งเรียกว่า “วงจรเสียง” (Phonological loop) ซึ่งไม่สันทัดในการแยกแยะ (Distinguish) ระหว่างคำที่ออกเสียงคล้ายกัน

ดังนั้น ถ้าข้อมูลเข้าไปถึงที่เก็บกัก (Storage) ในระยะยาว ในสมองของผู้ป่วย AD จะมีความเป็นไปได้พอสมควร (Reasonable possibility) ที่จะถูกเก็บรักษาไว้ (Retain) มีประจักษ์หลักฐานเพิ่มเติมว่า ข้อสมมุติฐานนี้มาจากนักวิจัยค้นพบว่า ภายใน 30 วินาทีที่ผู้เข้าร่วมวิจัยได้รับรายการ TBR ผู้ป่วย AD จะลืมมากกว่าตัวอย่างควบคุมของผู้ที่มิได้ป่วยเป็นโรคสมองเสื่อม

อย่างไรก็ตาม รายการที่ได้รับการจดจำหลังจาก 30 วินาที จะมีความเป็นไปได้พอๆ กับรายการที่ได้รับการจดจำใน 30 นาทีให้หลัง เช่นเดียวกับรายการซึ่งผู้ป่วยควบคุมที่มิเป็นโรคสมองเสื่อม จดจำได้หลังจาก 30 วินาที เป็นที่รับรู้กันมานานว่า ผู้ป่วย AD ก็เหมือนผู้คนที่มิได้เป็นผู้ป่วยโรคสมองเสื่อม ที่ได้รับผลกระทบ จากความเหมือนของเสียง (Phonological similarity) ในรายการ TBR

      

แหล่งข้อมูล:

  1. Stuart-Hamilton Ian. (2012). The Psychology of Ageing (5th Ed). London, UK: Jessica Kingsley Publishers.
  2. Memory change - https://www.healthline.com/health/memory-change#causes [2019, December 31].