จิตวิทยาผู้สูงวัย ตอนที่ 245 โรคสมองเสื่อมอื่นๆ (9)
- โดย ดร. วิทยา มานะวาณิชเจริญ
- 25 ธันวาคม 2562
- Tweet
ดังนั้นการค้นหาความแตกต่างระหว่างกลุ่มผู้ป่วยที่ทนทุกข์ทรมานจากโรคอัลไซเมอร์ส (Alzheimer’s disease : AD) กับอีกกลุ่มหนึ่งที่ทนทุกข์ทรมานจากโรคสมองเสื่อมจากโรคหลอดเลือดสมอง (Vascular dementia : VaD) ในการทดสอบเฉพาะ อาจหมายถึงความแตกต่างจริง (Genuine) ระหว่างผู้ป่วย AD กับผู้ป่วย VaD ในเรื่องทักษะที่ได้รับการทดสอบ
อย่างไรก็ตาม บทสรุปนี้ต้องได้รับการชั่งน้ำหนัก (Weighted) กับข้อพิจารณาว่า อย่างน้อยบางกลุ่มของผู้ป่วย AD อาจทนทุกข์ทรมานจาก VaD และในทางกลับกันด้วย (Vice versa) หรือไม่ก็มีสัดส่วนสำคัญของกรณีโรคสมองเสื่อมผสม (Mixed dementia) และอีกปัญหาหนึ่งเกิดขึ้นในการจับคู่ (Matching) ผู้ป่วยกับรูปแบบที่แตกต่างกันของโรคสมองเสื่อม
การรวบรวมกลุ่ม AD เปรียบเทียบกลุ่ม VaD นั้นไม่เพียงพอ หากปราศจากการพิจารณาว่า ผู้ป่วยแต่ละกลุ่มได้รับการวินิจฉัยในแต่ละโรคที่ต้องทนทุกข์ทรมาน ยาวนานแค่ไหน? ตัวอย่างเช่น ถ้าผู้ป่วย VaD เป็นโรคนี้ยาวนานกว่าผู้ป่วย AD เราจะแน่ใจได้อย่างไรว่า ความแตกต่างระหว่างกลุ่มมิได้เกิดจากระยะเวลาอันยาวนาน แทนที่จะเกิดจากความแตกต่างที่แท้จริง (Intrinsic) ระหว่าง AD กับ VaD
ความแตกต่างยังอาจเกิดจากกลุ่มที่มีอายุเฉลี่ยเดียวกัน แทนที่จะเกิดจากโรคภัย ในทางกลับกัน (Conversely) ในกลุ่มที่มีอายุเฉลี่ยเดียวกัน มีกลุ่มโรคภัยแบบเดียวกัน (Typical) หรือไม่? ตัวอย่างเช่น โรคสมองเสื่อม A จู่โจมเมื่ออายุ 60 ปี และ โรคสมองเสื่อม B จู่โจมเมื่ออายุ 70 ปี แล้วเราจะแน่ใจได้อย่างไรว่า ทั้งคู่เป็นตัวแทน (Representative) ที่ดีของแต่ละกลุ่ม?
ลองพิจารณาอีกปัญหาหนึ่งที่เป็นไปได้ สมมุติว่า กลุ่มผู้ป่วย AD มีความทรงจำที่แย่ในคำพูด (Poor verbal memory) อาจสะท้อนถึงการเสื่อมถอยในทักษะภาษา (Linguistic skill) จนผู้ป่วยไม่เข้าใจคำสั่งในข้อทดสอบ (Test instruction) ซึ่งปัญหาเหล่านี้ มิใช่จะเอาชนะไม่ได้ (Insurmountable) แต่มันแสดงให้เห็นว่า ต้องมีความระมัดระวังอย่างสุดขีด (Supreme caution) ในการแปลผล (Interpretation) ของการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับโรคสมองเสื่อม
งานวิจัยส่วนมากในเรื่องการเปลี่ยนแปลงความทรงจำในโรคสมองเสื่อมมุ่งเน้นไปที่ผู้ป่วยด้วย AD ซึ่งไม่น่าประหลาดใจ เพราะนี่เป็นประเภทย่อยสามัญของโรคสมองเสื่อม อย่างไรก็ตาม เป็นที่สังเกตว่า การวินิจฉัยโรคผิด (Mis-diagnosis) ของประเภทย่อยของโรคสมองเสื่อมเป็นเรื่องธรรมดา
การศึกษาหลายครั้งตั้งอยู่บนพื้นฐานของผู้ป่วยซึ่งมิได้มีการยืนยันการวินิจฉัยหลังการชันสูตรศพ (Post-mortem) หมายความว่า การสรุปผลเกี่ยวกับลักษณะเฉพาะของประเภทย่อยต้องใช้ความระมัดระวังอย่างสุดขีด (Extremely guarded) เนื่องจากผู้ป่วย AD อาจเป็น AD อย่างแท้จริง (Pure AD) หรืออาจมีสัดส่วนสำคัญของส่วนผสมของโรคสมองเสื่อม (Mixed dementia) หรือ VaD อย่างแท้จริง (Pure VaD) หรือเป็นประเภทย่อยที่แตกต่างอย่างสิ้นเชิง (Entirely)?
แหล่งข้อมูล:
- Stuart-Hamilton Ian. (2012). The Psychology of Ageing (5th Ed). London, UK: Jessica Kingsley Publishers.
- Vascular dementia. https://en.wikipedia.org/wiki/Vascular_dementia[2019, December 24].