จิตวิทยาผู้สูงวัย ตอนที่ 244 โรคสมองเสื่อมอื่นๆ (8)

จิตวิทยาผู้สูงวัย-244

      

  • แพทย์ (Clinician) มักค้นหาโรคสมองเสื่อมในรูปแบบที่แท้จริง (Pure) กล่าวคือ โรคสมองเสื่อมมีเพียงสาเหตุเดียว อย่างไรก็ตาม ประเภทย่อย (Sub-type) ของโรคสมองเสื่อม (Dementia) อาจเกิดร่วม (Co-exist) ในผู้ป่วยเดียวกัน ตัวอย่างเช่น นักวิจัยได้รายงานการค้นพบกรณีจำนวนมาก (Large collection) ของการชันสูตรศพ (Post-mortem) ที่ 80% เป็นโรคอัลไซเมอร์ส (Alzheimer’s disease : AD) แต่ในจำนวนนี้มีเพียงครึ่งหนึ่งเป็นรูปแบบที่แท้จริง (Pure AD) ส่วนอีกครึ่งหนึ่งเป็น AD บวกกับโรคสมองเสื่อมอื่นๆ มักเรียกกันว่า โรคสมองเสื่อมผสม (Mixed) ส่วนความแปรปรวนของโรคสมองเสื่อมจากโรคหลอดเลือดสมอง (Vascular dementia : VaD) มีต่ำกว่า 10% ของกรณีทั้งหมด
  • แพทย์อาจมองข้ามกรณีโรคสมองเสื่อมอย่างง่ายดาย โดยเฉพาะในขั้นต้น (Early stage) ของโรค นักวิจัยพบตัวอย่าง (Sample) ของแพทย์ชาวฟินแลนด์ที่รับผิดชอบต่อการดูแลสุขภาพขั้นปฐมภูมินั้น มิได้ค้นพบ (Identify) มากกว่าครึ่งของกรณีโรคสมองเสื่อมในบรรดาผู้ป่วยในความดูแลของตน
  • แพทย์อาจไม่เห็นด้วยกับการวินิจฉัยโรค (Diagnosis) ในผู้ป่วยเดียวกัน
  • การวินิจฉัยโรคที่กำหนดไว้แต่แรก (By default) มักทำให้ความแตกต่างเกินความจริง (Exaggerate) ต่อไปอีก ตัวอย่างเช่น แพทย์ที่เผชิญกับโรคสมองเสื่อมผสม ของ AD กับ VaD อาจวินิจฉัยว่าเป็นเพียง AD เนื่องจากกลุ่มอาการของ VaD เกิดไปเลียนแบบ (Mimic) ส่วนของ AD ในทางกลับกัน (Conversely) แพทย์อาจตัดสินใจแยกประเภท (Classify) โรคสมองเสื่อม เป็น VaD ในรูปแบบแท้จริง (Pure VaD) เนื่องจากมีประจักษ์หลักฐานของการเสื่อมถอยเป็นขั้นเป็นตอน (Step-wise deterioration)

      ดังนั้น จึงเป็นการยากที่จะกะประมาณอย่างมั่นใจซึ่งอัตราอุบัติการณ์ (Incidence) สำหรับประเภทย่อยของโรคสมองเสื่อม นอกจากนี้ “น้ำยังถูกกวนให้ขุ่นมัว” (Water being muddied) เมื่อพิจารณาถึงความแตกต่างทางเพศ (Gender) และสัดส่วน (Proportion) ของการเปลี่ยนแปลงในประเภทย่อยของอายุผู้ป่วย

      อย่างไรก็ตาม ประมาณการที่เห็นพ้องต้องกัน (Consensus) สำหรับกรณีโรคสมองเสื่อมในผู้มีอายุเกินกว่า 60 ปี ก็คือ โรคสมองเสื่อมที่สามัญที่สุดได้แก่ AD ในผู้ป่วยเพศหญิง มากกว่าเพศชาย ส่วนผู้ชายมีแนวโน้มที่จะเป็น VaD ในขณะที่สัดส่วนของประเภทย่อยค่อนข้างคงที่ (Relatively constant) ในผู้ป่วยสูงวัยหญิง AD ได้กลายเป็นโรคสามัญในผู้สูงวัยชาย โดยที่ VaD แสดงการลดลงในความถี่ที่เกิดขึ้น (Frequency of occurrence)

      นักวิจัยมองว่า การปราศจากการวินิจฉัยโรคที่แม่นยำ ทำให้ยากมาก [ถ้ามิใช่เป็นสิ่งไปไม่ได้จริงๆ (Downright impossible)] ต่อการรวบรวม (Assemble) กลุ่มผู้ป่วยและรู้อย่างแน่ชัดว่าทุกคนทนทุกข์ทรมานจากรูปแบบเดียวกันของโรคสมองเสื่อม

      

แหล่งข้อมูล:

  1. Stuart-Hamilton, Ian. (2012). The Psychology of Ageing (5th Ed). London, UK: Jessica Kingsley Publishers.
  2. Vascular dementiahttps://en.wikipedia.org/wiki/Vascular_dementia[2019, December 17].