จิตวิทยาผู้สูงวัย ตอนที่ 242 โรคสมองเสื่อมอื่นๆ (6)
- โดย ดร. วิทยา มานะวาณิชเจริญ
- 4 ธันวาคม 2562
- Tweet
ประการที่สอง ผู้ป่วยโรคสมองเสื่อมรับรู้ว่าผลการทดสอบค่อนข้างแย่ในเรื่องความทรงจำและสติปัญญา (Intellectual) ประการที่ 3 ผู้ป่วยโรคสมองเสื่อมมักแสดงผลของสติปัญญาที่ขึ้นๆ ลงๆ (Fluctuate) ควบคู่ (Tandem) ไปกับระดับโรคซึมเศร้า (Depression) และจะดีขึ้นเมื่อโรคซึมเศร้าได้รับการรักษา
อย่างไรก็ตาม อาจเป็นที่เข้าใจผิดกัน (Misleading) ที่จะคาดหวัง (Suppose) ว่า โรคซึมเศร้าและโรคสมองเสื่อมที่แท้จริง (Genuine) ไม่เชื่อมโยงกัน ระหว่าง 20 ถึง 30% ของผู้ป่วยโรคสมองเสื่อมก็มีกลุ่มอาการของโรคซึมเศร้าด้วย และก็เป็นที่สังเกตอย่างเด่นชัด (Salient) ว่า งานวิจัยชิ้นหนึ่งพบว่า 57% ของผู้ป่วยสูงวัยที่ได้รับการส่งต่อ (Referred) เพื่อรักษาโรคซึมเศร้านั้น ได้วิวัฒนาในเวลาต่อมา (Subsequently) เป็นโรคสมองเสื่อมด้วย
การวิจัยในเวลาต่อมาแสดง (Demonstrate) ว่า สำหรับสัดส่วน (Proportion) ของผู้ป่วยจำนวนมากแล้ว โรคซึมเศร้าเป็นอาการในขั้นต้น (Early stage) ของโรคสมองเสื่อม แทนที่จะเป็นปัจจัยความเสี่ยงหรือเป็นลางสังหรณ์ (Precursor) กล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือ ผู้สูงวัยที่ป่วยเป็นโรคซึมเศร้าอย่างรุนแรง อาจแสดงโรคสมองเสื่อมเทียม
แต่สัดส่วนที่สูงพอๆ กันของผู้ป่วยโรคสมองเสื่อมจริง อาจแสดงโรคซึมเศร้าด้วย ด้วยเหตุนี้ นักวิจัยและแพทย์ (Clinician) บางคน จึงไม่เต็มใจ (Reluctant) ที่จะใช้คำว่า โรคสมองเสื่อม “เทียม” (Pseudo) เพราะว่า มันมักจะมีโรคสมองเสื่อมจริงอยู่ด้วย
นอกจากนี้ ตัวปลอม (Impersonator) ของโรคสมองเสื่อมคือโรคคลุ้มคลั่ง (Delirium) ซึ่งมีอีกชื่อหนึ่งว่า “ภาวะสับสนอย่างเฉียบพลัน (Acute confusional state) โรคคลุ้มคลั่งมักจู่โจม (Onset) ในเวลาไม่กี่ชั่วโมงหรือไม่กี่วัน กลุ่มอายุที่มีความเสี่ยงสูงได้แก่เด็กและผู้สูงวัยโดยมีสาเหตุหลากหลาย อาทิ ไข้สูง, การติดเชื้อ, การมึนเมาจากยา (Drug intoxication) ที่แพทย์สั่งอย่างถูกกฎหมาย, อัมพฤกษ์ (Stroke) และ การรับประทานอาหารอย่างไม่เพียงพอ (Inadequate diet)
โรคคลุ้มคลั่งส่วนมากได้รับการรักษา ณ รากเหง้าของสาเหตุ (Underlying cause) โดยผู้ป่วยแสดงความด้อย (Poor) ทักษะในเรื่องสติปัญญาและความทรงจำ และมีแนวโน้มของความอ่อนเปลี้ย (Excessive languid or hypo-active delirium), น่ารำคาญ (Agitated) หรือความกังวล (Anxious or hyper-active delirium) หรือส่วนผสม (Mixture) ของทั้งสองอย่าง
ผู้ป่วยอาจไม่แสดง (Exhibit) กลุ่มอาการพฤติกรรมที่เด่นชัด (Obvious), การพูดพึมพำ (Rambling), หรือไม่ต่อเนื่องกัน (Incoherent) ก็เป็นลักษณะสามัญ ในขอบเขตนี้ (Extent) นี้ ผู้ป่วยโรคคลุ้มคลั่ง อาจคล้าย (Resemble) ผู้ป่วยโรคสมองเสื่อม, ผู้ป่วยโรคซึมเศร้า, หรือผู้ป่วยวิตกจริต (Very anxious) ทำให้มักเกิดการวินิจฉัยโรคผิดพลาด (Misdiagnosis) ซึ่งอาจมีผลที่ตามมาอย่างร้ายแรง ตัวอย่างเช่น ผู้ป่วยโรคคลุ้มคลั่งอย่างมาก อาจมีสภาวะทางร่างกาย ที่จำเป็นต้องได้รับการรักษาอย่างรีบด่วน หากเข้าใจผิดคิดว่าเป็นการจู่โจมของวิตกจริตแล้ว การทำให้ผู้ป่วยสงบลง (Sedate) ก็อาจเป็นอันตรายถึงชีวิต (Life-threatening)
แหล่งข้อมูล:
- Stuart-Hamilton, Ian. (2012). The Psychology of Ageing (5th Ed). London, UK: Jessica Kingsley Publishers.
- Deliriumhttps://en.wikipedia.org/wiki/Delirium[2019, December 3].