จิตวิทยาผู้สูงวัย ตอนที่ 241 โรคสมองเสื่อมอื่นๆ (5)
- โดย ดร. วิทยา มานะวาณิชเจริญ
- 27 พฤศจิกายน 2562
- Tweet
ตามการแยกประเภทดังกล่าว “โรคสมองเสื่อมตรงเปลือกสมอง” (Cortical dementia) ที่สามัญที่สุด (Commonest) ได้แก่ โรคอัลไซเมอร์ส (Alzheimer’s disease : AD) และโรคพิคส์ (Pick’s disease) ส่วน “โรคสมองเสื่อมตรงเปลือกสมองย่อย” (Sub-cortical dementia) ที่สามัญที่สุด ได้แก่ โรคพาร์กินสัน (Parkinson’s disease : PD) และโรคฮันติงตันส์ (Huntington’s disease : HD)
เปลือกสมอง (Cortex) มักเกี่ยวข้องกับ (Principally concerned) การทำงานของสติปัญญาระดับสูง (High intellectual function) ส่วนเปลือกสมองย่อย มักเกี่ยวข้องกับการควบคุมการเคลื่อนไหว และอารมณ์ความรู้สึก ดังนั้นสิ่งที่มักค้นพบ (Typically found) คือการแบ่งการทำงานระหว่าง 2 กลุ่มดังกล่าว
โรคสมองเสื่อมตรงเปลือกสมอง แสดงออก (Manifest) ที่เด่นชัด (Strikingly) ¬ของความผิดปรกติในความคิด (Disorder of thought), ความทรงจำ (Memory), และ ภาษา (Language) พร้อมด้วยสิ่งรบกวนการเคลื่อนไหว (Movement disturbance) ซึ่งเป็นกลุ่มอาการเล็กน้อย (Minor)
ในขณะที่โรคสมองเสื่อมตรงเปลือกสมองย่อย มีลักษณะ (Characterized) ของปัญหาการเคลื่อนไหว โรคนี้มีแนวโน้มที่จะจู่โจม (Strike) ก่อนเริ่มต้นของชีวิตบั้นปลาย
ยังมีหลากหลายเงื่อนไข (Assortment of Conditions) ที่ทำให้เกิดการปรากฏตัวของโรคสมองเสื่อม แต่สาเหตุอื่นๆ ของโรคสมองเสื่อม 2 ประเภทที่สามัญที่สุด ซึ่งรักษาได้ (Treatable) [บางครั้ง เรียกว่า “โรคสมองเสื่อมฟื้นฟูได้” (Reversable dementia)] นั้น ได้แก่ โรคสมองเสื่อมเทียม (Pseudo-dementia) และ โรคสมองเสื่อมคลุ้มคลั่ง (Delirium dementia)
ในประเภทแรก อาจเกิดขึ้นในผู้สูงวัยที่ได้ทนทุกข์ทรมานจากโรคซึมเศร้ารุนแรง (Severe depression) ซึ่งผู้ป่วยสูญเสียแรงจูงใจ (Motivation) อันสะท้อนออกมาเป็นคะแนนต่ำ จากการทดสองความทรงจำและสติปัญญา สิ่งนี้ประกอบกับความไม่สนใจโดยทั่วไปต่อสภาพแวดล้อม อาจเป็นการเลียนแบบที่ยอดเยี่ยม (Excellent imitation) ของโรคสมองเสื่อม
อันที่จริง นักวิจารณ์ (Commentator) บางคนโต้แย้งว่า การเสแสร้ง (Impersonation) ดังกล่าวแนบเนียนมากจนคำว่า “โรคสมองเสื่อมเทียม” อาจทำให้เข้าใจผิด (Misleading) โดยที่โรคภัยไข้เจ็บดังกล่าว ได้รับการจัดประเภทเป็น “โรคสมองเสื่อมที่แท้จริง (True dementia)
อย่างไรก็ตาม มีความแตกต่างสำคัญระหว่างโรคสมองเสื่อมเทียมกับโรคสมองเสื่อมจริง (Genuine) ใน 3 ประการด้วยกัน ประการแรก ผู้ป่วยโรคสมองเสื่อมเทียมมักมีการปรับปตัว (Oriented) ในเรื่องเวลาและเทศะ (Space) [กล่าวคือ สถานที่] ตัวอย่างเช่น ผู้ป่วยรู้ว่าอยู่ที่ไหน? วันอะไรของสัปดาห์? และทำไมจึงถูกทดสอบ?
แหล่งข้อมูล:
- Stuart-Hamilton, Ian. (2012). The Psychology of Ageing (5th Ed). London, UK: Jessica Kingsley Publishers.
- Vascular dementia - https://en.wikipedia.org/wiki/Vascular_dementia [2019, November 27].
- Parkinson’s disease - https://en.wikipedia.org/wiki/Parkinson%27s_disease [2019, November 27].