จิตวิทยาผู้สูงวัย ตอนที่ 240 โรคสมองเสื่อมอื่นๆ (4)

จิตวิทยาผู้สูงวัย-240

      

      ยังมีโรคสมองเสื่อมจากลิววี่บอดี้ (Dementia with Lewy bodies: DLB) ซึ่งเป็นประเภทย่อย (Sub-type) ที่ยังถกเถียงกันอยู่ (Controversial) เป็นโรคสมองเสื่อมที่มีสาเหตุมาจากการสร้างและสะสมของโปรตีนที่ผิดปกติภายในสมอง ที่ชื่อ “ลิววี่บอดี้” ซึ่งถือเป็นโรคสมองเสื่อมชนิดหนึ่งที่พบได้บ่อย แม้ในผู้ป่วยที่ไม่มีประวัติครอบครัวของภาวะนี้มาก่อน

      การปรากฏตัวของลิววี่บอดี้ ได้รับการบันทึกไว้ตั้งแต่คริสต์ทศวรรษ 1960s แต่นักวิจัยมิได้ค้นพบว่ามันมีอยู่ไปทั่ว (Prevalent) ในบางกรณีของโรคสมองเสื่อม จนกระทั่งคริสต์ทศวรรษ 1990s เมื่อมีวิธีการทางห้องปฏิบัติการที่สามารถตรวจวิเคราะห์ได้ละเอียดขึ้น (Sensitive laboratory technique)

      อย่างไรก็ตาม ก็ยังมีคำถามต่อเนื่อง เมื่อ DLB ถูกค้นพบในฐานปมประสาท (Basal ganglia) ในผู้ป่วยโรคพาร์กินสัน (Parkinson’s disease: PD) และยังถูกค้นพบในส่วนอื่นๆ ของสมองอีกด้วย จึงเกิดคำถามว่า แล้ว DLB เป็นประเภทย่อยของโรคสมองเสื่อมหรือเป็นเพียงตัวแปร (Variant) ของ PD?

      การพิจารณาถึงกลุ่มอาการ DLB มิได้ช่วยตอบคำถามนี้ เนื่องจากมันเป็นส่วนผสม (Combination) ของโรคสมองเสื่อม และ PD กล่าวโดยสรุปก็คือ (1) การจู่โจม (Onset) ของ DLB ค่อนข้างรวดเร็ว และ (2) อาการประสาทหลอน (Hallucination) เป็นอาการสามัญ (Common) แต่มิใช่พบทุกแห่งหน (Universal)

      ปัญหาการเคลื่อนไหว (Movement) คล้ายกับการปรากฏตัวของ PD ทักษะการรับรู้ (Cognitive) จะเสื่อมถอย (Impair) แต่ความเสื่อมถอยของความทรงจำ มักไม่เป็นที่สังเกต (Notable) ในเริ่มแรก (Early) ของอาการ นักวิจัยบางคนถือว่า DLB เป็นประเภทเด่นชัด (Distinct) แต่นักวิจัยอื่นโต้แย้งว่า PD และ DLB เหมือนกันโดยพื้นฐาน (Essentially)

      โรคสมองเสื่อม อาจปรากฏเป็นอาการของโรคภัยไข้เจ็บอื่นๆ อาทิ เนื้องอกในสมอง (Brain tumor), เอดส์ (AIDS), และภาวะโพรงสมองคั่งน้ำ (Hydrocephalus) อันเป็นภาวะที่มีน้ำหล่อเลี้ยงสมองและไขสันหลังในโพรงสมองมากเกินไป ทำให้โพรงสมองมีขนาดใหญ่ เกิดการกดทับและทำลายเนื้อสมอง เป็นสาเหตุให้การทำงานของสมองผิดปกติ

      ความผิดปรกติดังกล่าว ทำให้พัฒนาการของร่างกายและสติปัญญาบกพร่อง โดยทั่วไป มักเกิดขึ้นกับเด็กทารกและผู้สูงอายุ นอกจากนี้ยังเป็นผลจากการได้รับ (Exposure) สารพิษจากเคมี (Toxic chemical) และพิษสุราเรื้อรัง (Chronic alcohol abuse)

      นักวิจารณ์ (Commentator) บางคนชอบมากกว่า (Prefer) ที่จะแยกประเภทโรคสมองเสื่อมไปตามการฝ่อหลัก (Principal atrophy) ที่อยู่ในเปลือกสมอง (Cortex) เรียกว่า “โรคสมองเสื่อมตรงเปลือกสมอง” (Cortical dementia) หรือในอาณาบริเวณย่อยของเปลือกสมอง เรียกว่า “โรคสมองเสื่อมตรงเปลือกสมองย่อย” (Sub-cortical dementia)

      

แหล่งข้อมูล:

  1. Stuart-Hamilton, Ian. (2012). The Psychology of Ageing (5th Ed). London, UK: Jessica Kingsley Publishers.
  2. Vascular dementia - https://en.wikipedia.org/wiki/Vascular_dementia [2019, November 19].
  3. Huntington’s disease - https://en.wikipedia.org/wiki/Huntington%27s_disease [2019, November 19].
  4. Parkinson’s disease - https://en.wikipedia.org/wiki/Parkinson%27s_disease [2019, November 19].