จิตวิทยาผู้สูงวัย ตอนที่ 239 โรคสมองเสื่อมอื่นๆ (3)

จิตวิทยาผู้สูงวัย-239

      

      ประการแรก กรณี MV ของชาวคูรู (kuru) ในรัฐอิสระปาปัวนิกินี (Papua New Guinea) นั้น ไม่พบบ่อยเมื่อเปรียบเทียบกับกรณีของ MM เนื่องจากกรณี MM ของ vCJD ซึ่งกไม่พบบ่อยในประชากรอยู่แล้ว นี่อาจหมายความว่า กรณี MV อาจน้อยจริงๆ อย่างไม่น่าเชื่อ (Incredibly scarce) และกรณี VV อาจไม่เกิดขึ้นเลย (Simply not arise)

      อย่างไรก็ตาม ยังไม่มีการค้นพบกรณี MV ของ vCJD และถ้า vCJD จะเป็นปัญหาที่คงอยู่นาน (Persistent) เราก็คงคาดหวังว่า ควรจะมีกรณีเกิดขึ้น หรืออย่างน้อยจำนวนคงที่ (Consistent) ของกรณี แต่ประจักษ์หลักฐานเท่าที่มีอยู่ แสดงการเพิ่มขึ้น สู่สูงสุด (Peak) แล้วลดลง (Fall) ซึ่งสอดคล้องกับโรคระบาดช่วงสั้น (Brief outbreak)

      ยังคงต้องมีการเฝ้าติดตาม (Vigilance) ต่อไป โดยที่การไม่พบบ่อย (Rarity) ของ vCJD มิได้บรรเทา (Lessen) ความน่าเห็นใจ (Sympathy) ต่อครอบครัวเหยื่อผู้สูญเสีย (Bereaved) แต่มีทัศนคติความระมัดระวังอย่างมีเหตุผล (Sensible caution) แทนที่จะฟังเรื่องราวที่ประโคมข่าวน่ากลัว (Scare-mongering) ของอันตรายที่ซุ่มอยู่พร้อมที่จะจู่โจม (Lurking menace)

      นอกจากนี้ ยังมีโรคฮันติงตัน (Huntington’s disease : HD) ที่ผู้วิจารณ์ (Commentator) ทั้งปวงไม่นับว่าเป็นโรคสมองเสื่อม (Dementia) เช่นเดียวกับ CJD มันเป็นโรคที่ไม่พบบ่อย แต่มีแนวโน้มที่รวมกลุ่ม (Cluster) อยู่ในครอบครัว ซึ่งแสดงถึงส่วนประกอบของยีนที่เด่นชัด (Strong genetic component)

      เช่นเดียวกับ CJD กลุ่มอาการเริ่มแรกของโรคนี้ คือการรบกวน (Disturbance) การเคลื่อนไหว ซึ่งมักอยู่ในรูปแบบของการกระตุก (Twitching) ในเวลาต่อมา (Subsequently) ผู้ป่วยจะวิวัฒนากลุ่มอาการโรคสมองเสื่อม แม้ว่าการเสื่อมถอยดังกล่าวจะเลียนแบบ (Mimic) โรคจิตเภท (Schizophrenia) ก็ตาม

      ผู้ป่วยที่เป็นโรค HD มีแนวโน้มที่จะอยู่ยาวนานกว่าผู้ป่วยอื่นที่เป็นโรคสมองเสื่อม อายุคาดของชีวิต (Life expectancy) ตามปรกติ (Typical) ประมาณ 15 ปี หลังการปรากฏตัวเป็นครั้งแรกของกลุ่มอาการ แต่โรคนี้อาจจู่โจม (Strike) ณ อายุใดก็ได้ แต่กรณีส่วนมาก (Most common) คือการเริ่มต้น (Onset) ในวัยกลางคน (Middle age)

      โรคพาร์กินสัน (Parkinson’s disease : PD) ก็เป็นอีกโรคหนึ่งที่มีลักษณะ (Characteristic) ของความเคลื่อนไหวที่ผิดปรกติ รวมทั้งท่าเดินที่งุ่มง่าม (Shuffling gait) และสั่น (Tremor) อย่างไรก็ตาม ความเสี่ยงเฉลี่ยของผู้สูงวัยที่เป็นป่วยด้วย PD จะวิวัฒนาโรคสมองเสื่อม ประมาณ 10 ถึง 15%

      พึงสังเกตว่า ผู้ป่วยโรคอัลไซเมอร์ส (Alzheimer’s disease : AD) จำนวนไม่น้อย ที่วิวัฒนากลุ่มอาการคล้าย PD เมื่อโรคนี้ดำเนินไป (Progress) ความแตกต่างที่เห็นเด่นชัด (Salient) ที่สุดระหว่างผู้ป่วย PD กับ AD ก็คือทักษะภาษา (Linguistic) -ของผู้ป่วย AD ยังอยู่ (Preserved) ในสภาพที่ดีกว่าของผู้ป่วย PD หรือไม่มีผลกระทบ (Unaffected) เลย

      

แหล่งข้อมูล:

  1. Stuart-Hamilton, Ian. (2012). The Psychology of Ageing (5th Ed). London, UK: Jessica Kingsley Publishers.
  2. Vascular dementia - https://en.wikipedia.org/wiki/Vascular_dementia [2019, November 12].
  3. Huntington’s disease - https://en.wikipedia.org/wiki/Huntington%27s_disease [2019, November 12].
  4. Parkinson’s disease - https://en.wikipedia.org/wiki/Parkinson%27s_disease [2019, November 12].