จิตวิทยาผู้สูงวัย ตอนที่ 233 โรคอัลไซเมอร์ส (6)

จิตวิทยาผู้สูงวัย-233

      

      นอกเหนือจากผลกระทบของการสูญเสียเซลล์ (Cellular loss) และผลกระทบของระดับการศึกษา (Educational level) แล้ว ยังมีคำถามเรื่องแหล่งกำเนิด (Origin) ของโรคอัลไซเมอร์ส (Alzheimer’s disease : AD) ว่า อะไรคือสาเหตุหลัก (Prime cause) ของ AD? มีการกล่าวถึง ยีน (Gene) โรคสมองเสื่อม (Dementia gene) ในสื่อบางครั้ง (Occasionally) ว่าเป็นสาเหตุหลัก แต่นั่นเป็นการเข้าใจผิด

      สิ่งที่ทราบกันอย่างแน่นอนก็คือ การมี (Possession) ยีนที่เพิ่มความเสี่ยงมากของการวิวัฒนา AD การวิจัยในระยะแรกในเรื่องนี้ พบโครงสร้างที่บกพร่อง (Flawed structure) ในโครโมโซม (Chromosome) คู่ที่ 21 ณ บริเวณที่ใกล้เคียงกับตำแหน่งที่ที่พบการถูกทำลาย (Damage) ในผู้ป่วยที่มีแฝด 3 (Trisomy) ซึ่งเป็นความผิดปกติทางพันธุกรรมอย่างหนึ่งที่ทำให้มีโครโมโซมแท่งหนึ่งถึง 3 อัน แทนที่จะเป็น 2 อัน ถือเป็นภาวะที่มีจำนวนโครโมโซมผิดปกติ

      ภาวะดังกล่าวเป็นสาเหตุที่พบบ่อยในอาการดาวน์ (Down syndrome) ซึ่งนักวิจารณ์ (Commentator) จำนวนมากได้สังเกตเห็นสัดส่วนอย่างมีนัยสำคัญของผู้ป่วยอาการดาวน์ ซึ่งวิวัฒน์กลุ่มอาการคล้าย AD ในผู้วัยกลางคน โดยที่พยาธิประสาท (Neuro-pathology) ของสมองผู้ป่วย คล้ายกับผู้ป่วย AD มาก

      เมื่อไม่นานมานี้ มีการค้นพบ (Identify) ค่อนข้างแน่ชัด (Precise) ว่าหลายปัจจัยพันธุกรรม (Several genetic factors) เป็นสาเหตุหลัก และแม้ในผู้คนที่มิได้เป็นโรคสมองเสื่อม (Non-dementing) ก็มีความสัมพันธ์ (Associated) กับการถดถอยอย่างรวดเร็วของความทรงจำในบั้นปลายของชีวิต

      การค้นพบว่า ยีนมีความสัมพันธ์อย่างมากกับ AD แสดงเป็นนัย (Imply) ว่า AD อาจมีสาเหตุมาจากพันธุกรรม แต่นี่อาจมิใช่ข้อเท็จจริง คล้ายกับคำกล่าวว่า “หนึ่งในฝาแฝดเหมือน (Identical twin) วิวัฒนา AD อีกฝาแฝดหนึ่งมีโอกาสวิวัฒนา AD” ซึ่งในความเป็นจริง อีกฝาแฝดหนึ่ง อาจไม่วิวัฒนา AD เลย

      นักวิจัยพบว่า ถ้าคู่แฝดวิวัฒนา AD จริง อายุที่ริเริ่ม (Onset) จะต่างกันมาก ระหว่าง 4 ถึง 18 ปี เนื่องจากฝาแฝดเหมือนมีโครงสร้างพันธุกรรมที่คล้ายกัน จึงต้องมีมากกว่ายีนที่เป็นสาเหตุของการเกิด AD ซึ่งมีแนวโน้มที่จะอธิบายได้ด้วย แบบจำลองเริ่มต้นของโรคสมองเสื่อม (Threshold model of dementia)

      แบบจำลองดังกล่าว กล่าวว่า ส่วนประกอบ (Make-up) พันธุกรรมอาจมีแนวโน้ม (Predispose) ที่จะทำให้วิวัฒนาโรค แต่ต้องอาศัยปัจจัยอื่นในสภาพแวดล้อมที่จะกระตุ้น (Trigger) การริเริ่มของโรค นักวิจัยเสนอแนะว่า ภัยอันตรายที่ซุ่มซ่อนอยู่ (Lurking menace) ในสภาพแวดล้อม มีหลายตัว (Candidate) ด้วยกัน หนึ่งในจำนวนนั้นคือโรคหลอดเลือด (Vascular disease) ซึ่งอาจเพิ่มความเสี่ยงในการวิวัฒนา AD ประมาณ (Circa) 10%

      

แหล่งข้อมูล:

  1. Stuart-Hamilton, Ian. (2012). The Psychology of Ageing (5th Ed). London, UK: Jessica Kingsley Publishers.
  2. Alzheimer’shttps://en.wikipedia.org/wiki/Alzheimer%27s_disease[2019, October 1].