จิตวิทยาผู้สูงวัย ตอนที่ 231 โรคอัลไซเมอร์ส (4)

จิตวิทยาผู้สูงวัย-231

      

      ตัวอย่างเช่น จำนวนคราบโปรตีน มีสหสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญ (Significantly correlate) กับระดับของโรคซึมเศร้า (Depression) ในผู้ป่วยโรคอัลไซเมอร์ส (Alzheimer’s disease : AD) ณ เวลาที่ตาย ไม่ว่ากลุ่มอาการของโรคสมองเสื่อม (Dementing) จะรุนแรงแค่ไหน

      นักวิจัยใช้ PET [Positron Emission Tomography] Scan ในการแกะร่องรอย (Trace) ที่ทราบว่าอ่อนไหว (Sensitive) ต่อคราบโปรตีน (Plaque) และการพัวพันของเส้นใยประสาท (Tangle) ซึ่งพบในกิจกรรมที่มีสหสัมพันธ์กับผลการรับรู้ (Cognitive performance) ในผู้ใหญ่สูงวัยที่ไม่เป็นโรความจำเสื่อมและ AD

      ความสูญเสียของเซลล์ใน AD นั้น กระจุก (Concentrated) ในอาณาบริเวณเฉพาะของสมอง กล่าวคือเยื่อหุ้มสมองหรือเปลือกสมอง (Cortex) และบางเขตใต้เปลือกสมอง (Sub-cortical region) อาทิ ต่อมทอนซิล (Amyglada) และก้านสมอง (Brain stem) การตายของเซลล์ประสาท (Nerve cell) นำไปสู่การพร่อง (Depleted) ของระบบสื่อประสาท (Neuron-transmitter) และกิจกรรมที่ทำให้ความทรงจำเสื่อมเสีย (Impair) ใน AD

      มีประจักษ์หลักฐานมากมาย (Ample evidence) ว่าการเสื่อมถอยของการรับรู้ (Cognitive) ใน AD อาจไม่สามารถซ่อมแซม (Repair) ได้ แต่ยาต้านสมองเสื่อม (Anti-dementing) เบาเทาได้ แม้ว่ามันจะไม่สามารถรักษาให้หายได้ หรือยับยั้งทางเดินของโรค แต่มันช่วยลดกลุ่มอาการและหน่วงเหนี่ยว (Retard) พัฒนาการของโรค

      ดังนั้นในผู้ป่วย AD เมื่อจำนวนเซลล์ตายเพิ่มขึ้น ความสามารถทางสติปัญญา (Intellectual performance) จะลดลง ซึ่งเป็นความจริงโดยทั่วไปที่ค้นพบตั้งแต่เริ่มมีการศึกษาในสาขาวิชา (Field) นี้ อย่างไรก็ตาม ในการวิจัยเรื่องชราภาพ (Aging) ต้องมีความระมัดระวัง (Caution) ดังประเด็นต่อไปนี้

      แม้ว่า คราบโปรตีนชราภาพ (Senile plaque), การพัวพันของเส้นใยประสาท (Neuro-fibrillary tangle), และดัชนีชี้วัดที่คล้ายกัน มีสหสัมพันธ์กับกลุ่มอาการทางจิตใน AD แต่สิ่งเหล่านี้ก็อาจพบในผู้ใหญ่สูงวัยที่ไม่มีสัญญาณ (Sing) ของโรคสมองเสื่อม (Dementia) ด้วย ดังนั้น การเชื่อมโยงระหว่างความผิดปรกติของเซลล์ (Cellular abnormalities) กับการแสดงออกของพฤติกรรม (Behavioral manifestation) ไม่อาจสรุปอย่างง่ายๆ (Simplistic) ว่า เซลล์ถูกทำลาย = กลุ่มอาการแสดงออกมากขึ้น มิฉะนั้นผู้คนจำนวนมาก ก็จะเป็นโรคนี้ [โดยปริยาย]

      นอกจากนี้ ยังมีปัจจัยอื่นๆ ที่ทำลาย (Disrupt) อัตราที่โรคแสดงออก และวิวัฒนา กรณีที่อ้างถึงกันมาก (Oft-cited) เป็นตัวอย่าง ก็คือผลกระทบของระดับการศึกษาในผู้ใหญ่สูงอายุ ซึ่งมีคำอธิบายที่ตรงไปตรงมา (Straight-forward)

      

แหล่งข้อมูล:

  1. Stuart-Hamilton, Ian. (2012). The Psychology of Ageing (5th Ed). London, UK: Jessica Kingsley Publishers.
  2. Alzheimer’shttps://en.wikipedia.org/wiki/Alzheimer%27s_disease [2019, September 17].