จิตวิทยาผู้สูงวัย ตอนที่ 229 โรคอัลไซเมอร์ส (2)
- โดย ดร. วิทยา มานะวาณิชเจริญ
- 4 กันยายน 2562
- Tweet
- บางครั้ง ความสามารถในการอ่านดังๆ (Aloud) ยังคงอยู่ (Preserved) พร้อมด้วยข้อสังเกตอย่างเหมาะสมของเครื่องหมายวรรคตอน (Punctuation) และการออกเสียงสูง-ต่ำ (Intonation) อย่างไรก็ตาม ผู้ป่วยมักมีการระลึกถึงที่แย่มาก (Very poor recall) ในสิ่งที่เขาได้อ่าน (Demented dyslexia)
- รูปภายนอก (External appearance) ของผู้ป่วยสะท้อนถึงความเสื่อมถอยภายใน (Inward decline) หากปราศจากการช่วยเหลือ (Aid) ของผู้ใกล้ชิด การแต่ตัว (Grooming) และมรรยาท (Demeanor) โดยทั่วไปจะแย่ลงอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
- การเคลื่อนไหวจะเริ่มดูเหมือนปู (Crab) และงุ่มง่าม (Awkward) การย่างก้าวที่หยุกหยิก (Shuffling gait) ซึ่งเป็นลักษณะพิเศษ (Characteristics) ของพาร์กินสัน (Parkinsonism) กลายเป็นสิ่งธรรมดาไป (Commonplace)
- ผู้ป่วยมักตกอยู่ในภาวะที่สื่อสารไม่ได้ (Uncommunicative state)
- การไม่สามารถกลั้นปัสสาวะและอุจจาระ (Incontinence) ได้กลายเป็นนิสัยไปแล้ว (Habitual)
- ผู้ป่วยมักแสดงพฤติกรรมของแรงขับ (Urge) ที่บังคับไม่ได้ (Compulsive) ในการนำทุกสิ่งที่เห็นเข้าปาก (Hyper-orality) ในการกินอาหารในปริมาณมาก (Bulimia) และในการสัมผัสทุกสิ่ง (Hyper-metamorphosis) ที่อยู่ใกล้
ความตายมักเกิดขึ้นประมาณ 5 ปี หรือมากกกว่านั้น หลังการปรากฏของกลุ่มอาการหลัก (Major symptom) แม้จะมีความแปรปรวน (Variation) อย่างมากในนานาวิจัย ขึ้นอยู่กับนิยามของคำว่า “กลุ่มอาการหลัก” ส่วนช่วงเวลาของการอยู่รอด (Survival) ในผู้ป่วยก็ยาวนานขึ้นหลังจากได้เข้ารับการดูแลในสถานพยาบาล (Institutional care) ตั้งแต่คริสต์ทศวรรษ 1960s อาจสะท้อน (Probably reflect) ถึงการปรับปรุงของการดูแลทางการแพทย์โดยทั่วไป
การตายส่วนมาก มักให้เหตุผล (Ascribe) จากความล้มเหลวของทางเดินหายใจ (Respiratory failure) ซึ่งสันนิษฐาน (Presumably) ว่า เลวร้ายลง (Exacerbated) โดยการไม่เคลื่อนไหว (Immobility) ของผู้ป่วย ในขั้นตอน (Stage) ต่อมาของโรค โดยที่มีความแปรปรวนอย่างมากระหว่างผู้ป่วยในเรื่องความร้ายแรง (Severity) ของอาการ, การทำงาน (Functioning) ของร่างกายผู้ป่วยแต่ละคน และช่วงเวลาที่ผู้ป่วยอยู่ในแต่ละขั้นตอนของการเจ็บป่วย
อย่างไรก็ตาม ผู้ป่วยโรคอัลไซเมอร์ส (Alzheimer’s disease : AD) ที่ดำเนินไปถึงขั้นสุดท้าย (Terminal phase) ของโรค อาจยืนหยัด (Endure) ต่อสู้กับโรคนี้จนถึงที่สุด มีการทดสอบวิเคราะห์ (Diagnostic test) ที่ได้รับการออกแบบเฉพาะสำหรับ AD โดย 2 สถาบัน อันได้แก่ สถาบันแห่งชาติด้านความบกพร่องทางประสาทและการสื่อสารและอัมพฤกษ์ (National Institute of Neurological and Communicative Disorders and Stroke) และสมาคมแห่งอเมริกาด้านโรคอัลไซเมอร์สและความบกพร่องที่สัมพันธ์กัน (Alzheimer’s Disease and Related Disorders Association of America)
แหล่งข้อมูล:
- Stuart-Hamilton, Ian. (2012). The Psychology of Ageing (5th Ed). London, UK: Jessica Kingsley Publishers.
- Alzheimer’shttps://en.wikipedia.org/wiki/Alzheimer%27s_disease [2019, September 3].