จิตวิทยาผู้สูงวัย ตอนที่ 228 โรคอัลไซเมอร์ส (1)

จิตวิทยาผู้สูงวัย-228

      

      สภาวะ (Condition) นี้ได้รับการวินิจฉัย (Diagnosed) ใน ค.ศ. 1907 โดยจิตแพทย์ชาวเยอรมันชื่อ อาลอยส์ อัลไซเมอร์ (Alois Alzheimer) ในกรณีศึกษาสตรีอายุ 51 ปี กลุ่มอาการ (Symptom) แรกเริ่มมีดังนี้

  • ความทรงจำล้มเหลวอย่างรุนแรง (Severe memory failure) เกินขอบเขต (Scope) ของประสบการณ์ประจำวัน อันได้แก่ การหลงลืมรายการหรือคำสั่ง (Instruction) ง่ายๆ หรือหลงทางในสภาพแวดล้อมที่คุ้นเคย (Familiar surroundings) อาทิ ศูนย์การค้าท้องถิ่น หรือถนนรอบๆ บ้าน แบบมาตรฐานการทดสอบความทรงจำ มักแสดงความล้มเหลวในการจดจำข้อมูลใหม่ที่ยาวนานเกิน 2 – 3 นาที หรือแม้กระทั่งวินาที และมาตรวัดความทรงจำระยะสั้น (Short-term memory : STM) ในช่วงเวลาอันน้อยนิด (Digit span) อาจแสดงความเสื่อมถอยลง
  • ปราศจากทักษะหรือความสามารถในการเคลื่อนย้าย (Apraxia)
  • ไร้ความสามารถในการรับรู้โดยการมองเห็น (Visual agnosia)
  • ขาดแคลน (Impoverished) ทักษะภาษาพูด โดยที่ผู้ป่วยอาจมีความลำบากในการผลิตคำพูดที่เหมาะสม และไม่เข้าใจ (Comprehend) วลีนามธรรม (Abstract phrase) อาทิ คำพังเพย (Proverb)
  • การสนองตอบของผู้ป่วยต่อกลุ่มอาการค่อนข้างแตกต่างกัน บางคนรู้สึกซึมเศร้า (Depressed) บางคนรู้สึกไม่แยแส (Apathetic) และบางคนรู้สึกไม่กังวล (Unconcerned) บางคนรับรู้ปัญหาแต่ไม่ให้ความสำคัญ (Discount) หรือประเมินความรุนแรงต่ำกว่าความเป็นจริง (Under-estimate) ในขณะที่คนอื่นๆ วิวัฒนาความหวาดระแวง (Paranoia) จนถึงจงใจ (Deliberately) ซ่อนเร้นหรือขโมยสิ่งของ

      เมื่อโรคนี้ดำเนินไป (Progress) ความรุนแรงของกลุ่มอาการเหล่านี้ จะทวีขึ้น แม้จะมีความแตกต่างอย่างมาก (Considerable variation) ในอัตราและลำดับ (Order) ที่กลุ่มอาการปรากฏให้เห็น ดังต่อไปนี้

  • ความทรงจำในรายการใหม่ๆ จะถูกจำกัด (Curtailed) อย่างรุนแรง โดยเฉพาะใน STM
  • ความทรงจำสำหรับเหตุการณ์ที่ไกลออกไป (Remote) ซึ่งเรียนรู้ก่อนการจู่โจม (Onset) ของโรค มักเลวร้ายลง
  • การรับรู้การเสื่อมถอย จนถึงจุดที่ไร้ความสามารถในการจดจำเพื่อนฝูงและสมาชิกในครอบครัว (ซึ่งเป็นสาเหตุของความทุกข์ [Distress] หนัก)
  • ภาษาที่ใช้เลวร้ายลงอย่างมาก และความล้มเหลวในการใช้ภาษา (Aphasia) กลายเป็นลักษณะสำคัญในขั้นตอนต่อมาของโรคอัลไซเมอร์ส (Alzheimer’s disease : AD) ผู้ป่วยอาจมีปัญหาในการผลิต (Produce) คำพูด หรือเข้าใจคำพูด หรือทั้ง 2 อย่าง การพูดอาจถูกลดลงเหลือเพียง 2 – 3 คำ หรือเสียงคล้ายคำพูดที่ฟังไม่ออก (Garbled) หรืออาจประกอบด้วยคำพูดที่รู้เรื่องแต่ผลิตออกมาในลำดับที่ไม่สมเหตุผล (Non-sensical)

      

แหล่งข้อมูล:

  1. Stuart-Hamilton, Ian. (2012). The Psychology of Ageing (5th Ed). London, UK: Jessica Kingsley Publishers.
  2. Alzheimer’shttps://en.wikipedia.org/wiki/Alzheimer%27s_disease [2019, Aug 27].