จิตวิทยาผู้สูงวัย ตอนที่ 225 โรคสมองเสื่อม (3)

จิตวิทยาผู้สูงวัย-225

      

      เนื่องจากโรคสมองเสื่อม (Dementia) มักค่อยๆ (Gradually) วิวัฒนา ขั้นตอน (Stage) ของความเจ็บป่วย เมื่อผู้ป่วยเริ่มต้องการความช่วยเหลือทางการแพทย์ ก็จะแตกต่างกันไป อาจไม่น่าประหลาดใจที่พบว่า ผู้ใหญ่เยาว์วัยมีแนวโน้มที่จะไปพบแพทย์แต่เนิ่นๆ เพราะการสูญเสียความจำ และสัญญาณ (Sign) อื่นๆ ของการเสื่อมถอยทางสติปัญญา (Intellectual decline) มักไม่ใช่แบบฉบับ (Atypical) ของกลุ่มอายุนี้

      ในผู้ใหญ่สูงวัย กลุ่มอาการ (Symptom) เหล่านี้อาจไปถึงขั้นที่เห็นเด่นชัด (Pronounced) เนื่องจากกลุ่มอาการของการเสื่อมถอยแต่เนิ่นๆ มักได้รับการบำบัดรักษาด้วยความระมัดระวัง (Alarm) ตั้งแต่ในผู้ใหญ่เยาว์วัย โดยไม่ปล่อยให้เป็นแบบอย่าง (Typical) ที่สัมพันธ์กับการเสื่อมถออยหรือสูญเสียตามอายุ

      เมื่อสังเกตเห็นปัญหาของผู้ป่วย จะมีมาตรวัดขั้นพื้นฐาน (Basic measure) หลายตัว ในการทำงานของสติปัญญา ที่เป็นแนวทางคร่าวๆ (Rough guide) ไปสู่ความเสื่อมถอย (Impairment) ในสหรัฐอเมริกา มีแบบสอบถามสถานะทางจิต (Mental Status Questionnaire : MSQ) ที่ตั้งคำถามผู้ป่วยเกี่ยวกับความทรงจำ ตัวอย่างเช่น “ใครคือประธานาธิบดีคนปัจจุบันของประเทศ?” “วันนี้เป็นวันอะไร [ของสัปดาห์]?” และ “คุณชื่ออะไร?”

      คำถามเหล่านี้ ตั้งอยู่บนข้อสมมุติฐานว่า ไม่ใครที่ไม่เป็นโรคสมองเสื่อมจะตอบผิด หากจำนวนคำถามที่ผู้ป่วยตอบผิดมากเท่าไร ยิ่งแสดงความเสื่อมถอยและความเจ็บป่วยเด่นชัดมากเท่านั้น นอกจากนี้ แบบสอบถามในเรื่องพฤติกรรมของผู้ป่วยอาจส่งผลต่อให้ผู้ดูแล (Care-giver) ซึ่งกำหนดขอบเขต (Extent) ที่จิตของผู้ป่วยยังทำงานได้อย่างอิสระ อาทิ คำถามในเรื่องการช่วยเหลือผู้ป่วยในการแต่งตัว

      ในกรณีนี้จะเห็นประโยชน์ 2 ข้อ (Dual advantage) ข้อแรก ไม่เพียงแต่วัด (Gauge) ขอบเขตของความเสื่อมถอย แต่ยังวัดระดับของการรักษาพยาบาลที่ต้องการ ส่วนข้อ 2 คือใช้วัดความคืบหน้าของการเจ็บป่วย เป็นการตรวจสอบอย่างมีประโยชน์ในเรื่องสถานะโดยทั่วไป และความจำเป็นของผู้ป่วย

      ยังมีวิธีละเอียดในการอธิบายระดับการทำงานของผู้ป่วยโรคสมองเสื่อม ชื่อ “ขั้นตอนการประเมินการทำงาน” (Functional Assessment Stages : FAST) ซึ่งเดิมทีได้รับการประดิษฐ์คิดค้น (Devised) เพื่ออธิบายสถานการณ์การทำงานของผู้ป่วยโรคอัลไซเมอร์ส (Alzheimer’s) โดยที่ผู้ป่วยได้รับการจัดประเภท 7 กลุ่มด้วยกัน โดยขั้นตอนที่ 6 และ 7 ยังได้รับการซอยเป็นขั้นตอนย่อย (Sub-stage) อีกด้วย

      ขั้นตอนที่ 1 อธิบายการทำงานตามปรกติ ในขั้นตอนที่ 2 มีความรู้สึกโดยส่วนตัว (Subjective) ของการสูญเสียอำนาจทางสติปัญญา (Intellectual power) แม้ผู้อื่นจะไม่หยั่งเห็น (Perceived) ว่ารุนแรง

      

แหล่งข้อมูล:

  1. Stuart-Hamilton, Ian. (2012). The Psychology of Ageing (5th Ed). London, UK: Jessica Kingsley Publishers.
  2. Dementia - https://en.wikipedia.org/wiki/Dementia [2019, Aug 6].