จิตวิทยาผู้สูงวัย ตอนที่ 224 โรคสมองเสื่อม (2)

จิตวิทยาผู้สูงวัย-224

      

      ข้อ 2 แม้โรคสมองเสื่อมจะเป็นสาเหตุของการสูญเสียความทรงจำ แต่มันมิใช่เป็นเพียงการสูญเสียความทรงจำเท่านั้น ซึ่งจะพิจารณาในภายหน้า แต่ข้อ 3 นักวิพากษ์วิจารณ์ (Commentator) ส่วนใหญ่โต้เถียงว่า อัลไซเมอร์ส (Alzheimer’s) เป็นรูปแบบสามัญที่สุด (Commonest) ของโรคสมองเสื่อม แต่มันมิใช่ประเภทเดียวของโรคสมองเสื่อมซึ่งมีอย่างน้อย 50 ประเภทที่ได้รับการค้นพบ (Identified) แล้ว แม้ว่าเป็นที่ยอมรับกัน (Admittedly) ว่า ส่วนมากเป็นประเภทที่ไม่พบบ่อย (Rare)

      โรคสมองเสื่อมเป็นปัญหาสำคัญทั้งในมิติของสุขภาพและมิติของเศรษฐศาสตร์ โรงเรียนเศรษฐศาสตร์แห่งกรุงลอนดอน (London School of Economics) และสถาบันจิตแพทย์ (Institute of Psychiatry) ในอังกฤษ ได้ร่วมกันรายงานว่า สโมสรอัลไซเมอร์ส (Alzheimer’s Society) คำนวณว่า ปัจจุบันคนที่เป็นโรคสมองเสื่อมมีประมาณ (Circa) 680,000 คน

      จำนวนนี้นับเป็น 1.1% ของประชากรชาวอังกฤษ ในปี ค.ศ. 2051 น่าจะเป็นไปได้ที่ตัวเลขนี้จะขยายตัว (Conceivably swell) เป็น 1,735,087 ซึ่งเพิ่มขึ้น 154% มิใช่เป็นเพราะการระบาด (Epidemic) ของตัวโรคเอง แต่เป็นเพราะผู้คนมีชีวิตอยู่ยาวนานขึ้นในวัยชรา

      นิตยสารโรคสมองเสื่อมของสหราชอาณาจักรอังกฤษ (Dementia UK) กะประมาณคร่าวๆ ว่า 2 ใน 3 ของผู้คนที่เป็นอัลไซเมอร์สในวัยดึก (Late onset dementia) อาศัยอยู่ที่บ้านตนเอง และอีก 1 ใน 3 อาศัยอยู่บ้านพักคนชรา (Care home) ในกลุ่มหลัง เพิ่มขึ้นตามอายุของผู้ป่วยและความรุนแรง (Severity) ของการเจ็บป่วย

      ต้นทุนที่จำเป็นต่อการดูแลผู้ป่วยอัลไซเมอร์สในสหราชอาณาจักรอังกฤษาสูงถึง 1.7 ล้านล้านปอนด์ (ประมาณ 67.34 ล้านล้านบาท) และตัวเลขนี้ก็จะสูงขึ้นไปเรื่อยๆ อย่างไรก็ตาม พึงสังเกตว่า ไม่ใช่ทุกคนจะเป็นโรคสมองเสื่อมในระดับเดียวกันของความรุนแรง ประมาณครึ่งหนึ่งของกรณีโรคสมองเสื่อมอยู่ในขั้นต้นและค่อนข้างเล็กน้อย ประมาณ 1 ใน 3 อยู่ในระดับปานกลาง (Moderate) และที่เหลือ (Remainder) เป็นโรคสมองเสื่อมขั้นรุนแรง

      พึงสังเกตด้วยว่า โรคสมองเสื่อมรุนแรง จะเริ่มกลายเป็นสิ่งธรรมดาสามัญมากขึ้นในผู้ป่วยที่สูงวัย เพิ่มขึ้นจากประมาณ 6% ในผู้มีอายุระหว่าง 65 – 69 ปี เป็น 23% ในผู้มีอายุ 95 ปีขึ้นไป ถ้าอ่านระหว่างบรรทัด [ความหมายเป็นนัยที่ซ่อนอยู่] จะเห็นอย่างชัดเจนว่า สัดส่วนของผู้สูงวัยที่เป็นโรคสมองเสื่อมจะตายก่อนที่จะเข้าสู่ขั้นปานกลางหรือรุนแรงของการเจ็บป่วย

      ในขั้นตอนแรกๆ ของการวินิจฉัย (Diagnose) โรคสมองเสื่อม คือการค้นพบขอบเขตของการด้อยความสามารถ (Disability) ที่ผู้ป่วยเริ่มแสวงหา (Seek) ความช่วยเหลือ โรคสมองเสื่อมมักเริ่มได้รับการป่าวประกาศ (Heralded) เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงที่ค่อนข้างจะเล็กน้อย (Relatively minor) ในการทำงานของการรับรู้ (Cognitive function) ซึ่งมิได้มีผลกระทบ (Impinge) ต่อการทำงานของกิจวัตรประจำวันเลย

      

แหล่งข้อมูล:

  1. Stuart-Hamilton, Ian. (2012). The Psychology of Ageing (5th Ed). London, UK: Jessica Kingsley Publishers.
  2. Dementia - https://en.wikipedia.org/wiki/Dementia [2019, July 30].