จิตวิทยาผู้สูงวัย ตอนที่ 223 โรคสมองเสื่อม (1)

จิตวิทยาผู้สูงวัย-223

      

      โรคสมองเสื่อม (Dementia) อาจนิยามว่า เป็นการเสื่อมถอยในวงกว้าง (Widespread deterioration) ของการทำงานของเชาว์ปัญญา (Intellectual functioning) อันเป็นผลมาจากการฝ่อ (Atrophy) ของระบบประสาทกลาง (Central nervous system) ผู้เชี่ยวชาญ (Authorities) ส่วนมาก โต้แย้งว่า การเสื่อมถอยดังกล่าว รวมถึงการเสื่อมถอยในความทรงจำ และอย่างน้อยหนึ่งในทักษะการรับรู้อื่นๆ

      เพื่อแยกแยะความแตกต่าง (Distinguish) ของโรคสมองเสื่อม จากการรับรู้ที่เสื่อมถอยลงเพียงเล็กน้อย (Mild cognitive impairment : MCI) และสภาวะ (Condition) ที่สัมพันธ์กัน การเสื่อมถอยนั้นต้องมากพอ (Sufficient) ที่จะแทรกแซง (Interfere) กิจวัตรประจำวัน

      และเพื่อแยกแยะความแตกต่างจากสภาวะที่เป็นสาเหตุการเสื่อมถอยชั่วคราว (Temporary) การเสื่อมถอยนั้นจะต้องเพิ่มเติมว่าเกิดขึ้น (Occur) โดยปราศจาก (Absence) การมึนเมา (Intoxication) หรือปัจจัยอื่นที่อาจเป็นสาเหตุของความสับสน (Confused) ชั่วคราว อย่างไรก็ตาม มีความเข้าใจผิดร่วมกัน (Common misconception) เกี่ยวกับโรคสมองเสื่อม 3 ประการ

      1. เป็นโรคของผู้สูงวัย

      2. เป็นสาเหตุการสูญเสียความทรงจำ

      3. มีความหมายเดียวกัน (Synonymous) กับโรคอัลไซเมอร์ส (Alzheimer’s)

      ข้อสมมุติฐาน (Assumption) เหล่านี้ อาจถูกต้องเพียงบางส่วน ในข้อแรก มันมิใช่โรคเฉพาะ (Solely) ผู้สูงวัย กรณ๊ของโรคสมองเสื่อมเพิ่งเริ่มต้น (Early-onset dementia : EOD) ซึ่งเป็นอาการแรกที่ปรากฏก่อนอายุ 60 ปี ได้รับการบันทึก (Documented) ไว้แล้วในวรรณกรรมวิจัย (Research literature)

      อย่างไรก็ตาม นักวิจัยไม่ค่อยพบ (Rare) กรณีของโรคสมองเสื่อมในผู้ใหญ่เยาว์วัย ตัวอย่างเช่น นักวิจัยพบว่า ในกลุ่มผู้มีอายุระหว่าง 30 – 49 ปี อุบัติการณ์¬ (Incidence) ของ EOD มีประมาณ (Circa) 5 คน ต่อ 100,000 คนต่อปี ในสหราชอาณาจักรอังกฤษ มีการกะประมาณว่า 2% ของคนที่เป็นโรคสมองเสื่อมทั้งหมดเป็น EOD

      เมื่ออายุมากขึ้น ความน่าจะเป็น (Probability) ของการวิวัฒนาโรคสมองเสื่อมจะเพิ่มขึ้น อัตราการขยายตัวดูเหมือนจะเพิ่มขึ้นเป็น 2 เท่า ทุกๆ 5 ปี อย่างคร่าวๆ (Roughly) ซึ่งเป็นสิ่งที่สอดคล้อง (Consistent) กับการค้นพบของนักวิจัยทั่วโลก ดังนั้น โรคสมองเสื่อม จึงมิใช่สภาวะที่จะเกิดขึ้นในผู้สูงวัยในภาพรวม (Totally)

      แต่เป็นเพียงความน่าจะเป็นว่า ถ้าบุคคลใดวิวัฒนาโรคสมองเสื่อมแล้ว มันมักจะเกิดขึ้นในช่วงปลายมากกว่าช่วงต้นของวัยผู้ใหญ่ (Adulthood)

      

แหล่งข้อมูล:

  1. Stuart-Hamilton, Ian. (2012). The Psychology of Ageing (5th Ed). London, UK: Jessica Kingsley Publishers.
  2. Dementia - https://en.wikipedia.org/wiki/Dementia [2019, July 23].