จิตวิทยาผู้สูงวัย ตอนที่ 219 : ศาสนากับชราภาพ (1)

จิตวิทยาผู้สูงวัย-219

      

      บทบาทของศาสนา (Religion) ในช่วงวิกฤต เป็นสิ่งที่รู้กันในผู้คนจำนวนมาก และลักษณะของผลประโยชน์ (Beneficial nature) เป็นสิ่งที่ได้รับการบันทึก (Documented) ไว้มาก ตัวอย่างเช่น เป็นที่รับรู้กันว่าศรัทธา (Faith) ในศาสนา มีสหสัมพันธ์ในเชิงลบกับโรคซึมเศร้า (Depression)

      นักวิจัยพบว่า ศรัทธายังทรงคุณค่า (Value) ในการช่วยบรรเทา (Lessening) ผลกระทบในเชิงลบของผู้ดูแล (Care giver) ผู้ป่วยสูงวัย โดยเฉพาะที่เกี่ยวข้องกับความจำเสื่อม (Dementia) แล้วยังพบอีกว่า การประกอบกิจกรรมทางศาสนา (Religion attendance) ก็มีสหสัมพันธ์ในเชิงลบ (Inversely) กับการวิตกกังวล (Anxiety)

      นอกจากนี้ ศาสนา (Religiosity) มีสหสัมพันธ์ในเชิงบวกกับการอยู่ดีกินดี (Well-being) แม้หลังจากควบคุมปัจจัยเรื่องเพศ (Gender) การเกิดในรุ่นราวคราวเดียวกัน (Birth cohort) และกลุ่มสถานะเศรษฐกิจ-สังคม อย่างไรก็ตาม ดูเหมือนผู้ชายจะได้ประโยชน์ทางสุขภาพจิตในการปฏิบัติธรรมมากกว่าผู้หญิง

      นักวิจัยสันนิษฐาน (Presumably) ว่า ศาสนาอาจมีสัมพันธ์ในเชิงบวกกับสุขภาพกายที่แข็งแรง โดยผ่านขั้นตอนกลาง (Intermediate) ของการเพิ่มขึ้นในการมองโลกในแง่ดี (Optimism) และการลดลงเป็นเงาตามตัวของความเครียด (Stress)

      ทั้งนักวิจัยและผู้ที่มิใช่นักวิจัย (Non-researcher) แยกแยะความแตกต่าง (Distinction) ระหว่างศาสนากับจิตวิญญาณ (Spirituality) อันที่จริงคำว่า “ศาสนา” หมายถึงความเชื่อที่แสดงออก (Expressed) ในประกอบกิจกรรม อาทิ การไปสถานบูชา (Worship) แต่คำว่า “จิตวิญญาณ” อาจเป็นแนวความคิดที่ยังคลุมเครือ (Nebulous)

      จิตวิญญาณ แสดงถึงระดับความอ่อนไหว (Sensitivity) ต่อประเด็นทางศาสนา และสื่อเป็นนัย (Imply) ถึงพระเจ้า (Deity) ที่รวมอยู่ (Embrace) ในทุกแนวทางปฏิบัติ อย่างไรก็ตาม จิตวิญญาณอาจใช้ในการอธิบายอย่างไม่แน่ชัด (Vaguely) ถึงความรู้สึกทางศาสนาหรือความลึกลับ (Mystical) โดยปราศจากการอ้างอิง (Adherence) ถึงแนวทางประเพณีปฏิบัติ

      ดูเหมือนว่า ผู้สูงวัยจำนวนมาก คิดถึงศาสนาในแนวทางปฏิบัติอย่างเป็นทางการ (Formal practice) และจิตวิญญาณในแนวความคิดในวงกว้าง เพื่อให้บรรลุประโยชน์ในทางโลก (Earthly) จำเป็นต้องมี (Require) การปฏิบัติ (Observation) อย่างเป็นทางการ

      นักวิจัยพบว่า ชาวคริสต์ในสหรัฐอเมริกาที่ไปโบสถ์ (Church attendance) อย่างสม่ำเสมอ มีความสัมพันธ์กับระดับต่ำของการเสียชีวิต (Mortality) แม้หลังจากอธิบายปัจจัยร่วม (Confounding) แล้ว ผู้ทีมีความเชื่อมั่นในศาสนาอย่างแรงกล้า อาจโต้แย้งว่า นี่เป็นการพิสูจน์ พลังของศรัทธา (Power of faith) อย่างไรก็ตาม อาจเป็นไปได้ที่กระบวนการทางจิต ซึ่งทำให้บุคคลมีศรัทธาในศาสนา มีคุณสมบัติ (Property) อื่นที่ช่วยยืด (Prolong) ชีวิต อันเป็นคำถามในปัจจุบันที่ยังไม่มีคำตอบ

      

แหล่งข้อมูล:

  1. Stuart-Hamilton, Ian. (2012). The Psychology of Ageing (5th Ed). London, UK: Jessica Kingsley Publishers.
  2. What have religion and spirituality to do with aging? Three approaches - https://academic.oup.com/gerontologist/article/50/2/271/722827 [2019, June 18].