จิตวิทยาผู้สูงวัย ตอนที่ 200 : ความเป็นอยู่ในวัยเกษียณ (4)
- โดย ดร. วิทยา มานะวาณิชเจริญ
- 13 กุมภาพันธ์ 2562
- Tweet
นักวิจัยพบว่า การให้สมาชิกในกลุ่มที่อยู่ในบ้านผู้สูงวัย (Resident home) แยกระหว่างหญิงกับชาย ที่พบกันทุกๆ สัปดาห์เว้นสัปดาห์ (Fortnightly) ก่อให้เกิดผลทางจิตที่ดีขึ้นมาก (Marked improvement) ผู้หญิงแสดงประจักษ์หลักฐานของการดำรงความเป็นอยู่และการแสดงตน (Identification) ได้ดี ในขณะที่ผู้ชายแสดงการลดลงในกลุ่มอาการซึมเศร้า (Depression) และความกังวล (Anxiety) แต่เพิ่มขึ้นในระดับการแสดงตนทางสังคม (Social identification) กับผู้อื่น
การกลับทิศทาง (Twist) ที่น่าสนใจในเรื่องนี้ก็คือ นักวิจัยพบว่า ที่ใดมีปัญหาในชีวิตสังคมที่เปลี่ยนแปลงไปในบั้นปลายของชีวิต ผู้ชายมีแนวโน้มน้อยกว่าที่จะรายงานความพึงพอใจที่ลดลง เนื่องจากโดยทั่วไป ผู้ชายมีความคาดหวังที่ต่ำกว่าของความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล (Interpersonal relations) เมื่อเปรียบเทียบกับผู้หญิง
คงไม่เพียงพอที่จะรวมกลุ่มผู้สูงวัยเข้าด้วยกัน แล้วคาดหวังผลลัพธ์ที่เพิ่มขึ้นของความพึงพอใจ ตัวอย่างเช่นในการศึกษาเพื่อนร่วมห้อง (Roommate) ในบ้านผู้สูงวัย นักวิจัยรายงานว่า สามารถพยากรณ์ความพึงพอใจในชีวิต เฉพาะผู้ที่พูดคุยกับเพื่อนร่วมห้องเท่านั้น
การมีส่วนร่วมในกิจกรรมออกกำลังกาย (Exercise) หรือสันทนาการที่ไม่ออกแรง (Non-energic leisure) ก็มีสหสัมพันธ์ (Correlation) กับความพึงพอใจในชีวิต (และสุขภาพ) ที่ดีกว่า นักวิจัยให้เหตุผล (Contribute) ว่า เกิดจากการเพิ่มความรู้สึก (Enhanced feeling) ที่ควบคุมเหตุการณ์ (Event) ได้
แม้ว่ากิจกรรมทางสังคมเป็นสิ่งที่มีประโยชน์ (Beneficial) อย่างไม่ต้องสงสัย แต่งานอดิเรก (Past-time) ไม่จำเป็นต้องอยู่เป็นกลุ่ม (Gregarious) จึงจะเพิ่มความพึงพอใจในชีวิต นักวิจัยแสดงให้เห็น (Demonstrate) ว่า การสามารถเข้าถึงคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล (Personal computer) ได้ มีผลกระทบในเชิงบวกต่อการประเมินคุณค่าในตนเอง (Self-esteem) ของผู้ป่วยสูงวัยที่อาศัยอยู่ในสถานดูแลผู้สูงวัย (Nursing-home resident) และผู้ป่วยสูงวัยที่ไปเช้า-กลับเย็น (Day patient)
เป็นที่น่าสังเกต (Worth-noting) ว่า ผู้หญิงในการศึกษาครั้งนั้น มีแนวโน้มที่จะใช้ซอฟต์แวร์ด้านการศึกษา (Educational software) ในขณะที่ผู้ชายเล่นเกมวีดิทัศน์ (Video game) กล่าวโดยทั่วไป กิจกรรมที่มีจุดมุ่งหมาย (Purposeful) เป็นประโยชน์ต่อความพึงพอใจในชีวิต
การศึกษาหลายครั้งดำเนินการในบ้านผู้สูงวัย และมุ่งเน้นประเด็นทางจิตวิทยา โดยมีข้อสมมุติฐานว่า เป็นสิ่งสำคัญสูงสุด (Maximum importance) ในการกำหนด (Determine) ภาวะทางจิตของผู้อยู่อาศัยในบ้าน ซึ่งสมเหตุผลเมื่อมองอย่างผิวเผิน แต่ในการศึกษาเมื่อไม่นานมานี้ นักวิจัยแสดงความเห็นว่า การศึกษาก่อนหน้านี้อาจมองข้ามบทบาทสำคัญในการดูแลผู้ป่วยตามลักษณะสถานที่ อาทิ ความใกล้ (Proximity) สถานบริการ และความรื่นรมย์ของบริเวณใกล้เคียง (Neighborhood)
แหล่งข้อมูล:
- Stuart-Hamilton, Ian. (2012). The Psychology of Ageing (5th Ed). London, UK: Jessica Kingsley Publishers.
- Psychological well-being, health and ageing https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC4339610/ [2019, February 12].