จิตวิทยาผู้สูงวัย ตอนที่ 197 : ความเป็นอยู่ในวัยเกษียณ (1)

จิตวิทยาผู้สูงวัย-197

      

      เราได้กล่าวถึง (Addressed) ประเด็นความเป็นอยู่ (Well-being) ก่อนหน้านี้ ในส่วน (Section) ของความพึงพอใจต่อชีวิต (Life satisfaction) ในวัยเกษียณ เนื่องจากส่วนมาก (Vast majority) ของผู้ที่เกษียณอายุแล้วเป็นผู้สูงวัย อย่างไรก็ตาม มิใช่ผู้สูงวัยทุกคน จะเกษียณจากการทำงาน เหตุผลก็คือ ผู้สูงวัยจำนวนหนึ่งไม่เคยทำงานเต็มเวลา (Full time) ที่ได้รับค่าจ้าง แต่ได้ใช้เวลาชั่วชีวิต เป็นแม่บ้าน (Home- maker) ดังนั้น การศึกษาเรื่องความเป็นอยู่ในวัยชรา มักมิได้พิจารณาถึงประเด็นของการเกษียณอายุในการวิเคราะห์

      เป็นที่ยอมรับกัน (Acknowledge) ว่า คุณลักษณะเรื้อรัง (Chronic feature) ของชราภาพ มีผลกระทบอย่างรุนแรง (Take a toll on) ต่อความพึงพอใจในชีวิต ตัวอย่างเช่น การเปลี่ยนแปลงทางกายภาพที่เคลือบแฝง (Insidious) จากที่ค่อนข้างเล็กน้อย (อาทิ ผมสีเทา) ไปเป็นค่อนข้างร้ายแรง (อาทิ โรคไข้ออักเสบ [Arthritis]) อาจเป็นสาเหตุการประเมินใหม่ (Re-valuation) ในเรื่อง “แนวความคิดในตนเอง” (Self-concept)

      งานวิจัยบางชิ้นพบว่า สุขภาพและการเปลี่ยนแปลงที่ไปด้วยกัน (Concomitant) ในเรื่องการเคลื่อนไหว (Mobility) เป็นตัวพยากรณ์ (Predictor) ที่สำคัญสุดของความพึงพอใจในชีวิตบ้านปลาย แต่มีก็นักวิจัยอื่นที่เลียนแบบ (Replicate) การศึกษานี้แล้วพบว่า ไม่ได้ผลลัพธ์เดียวกัน ซึ่งอาจขึ้นอยู่กับว่าใช้มาตรวัด (Measure) สุขภาพอะไร? งานวิจัยในเรื่องการเกษียณอายุก็สร้าง (Produce) ผลลัพธ์ที่กำกวม (Equivocal) ไม่น้อย

      ถ้าเราแสวงหาปัจจัยเดียว (Single factor) ที่มีผลกระทบต่อความพึงพอใจในชีวิต ประเด็นความกังวลทางการเงิน (Monetary worry) มักปรากฏอยู่ในรายชื่อของนักวิจัยส่วนมาก ในมิติของความน่าจะเป็น (Probabilistic terms) นี่มิใช่สิ่งที่น่าประหลาดใจ เนื่องจากผู้สูงวัย (และโดยเฉพาะผู้สูงวัยสตรีจะมีสัดส่วนมากผิดปรกติ [Disproportionately]) ซึ่งมีแนวโน้มที่จะประสบความลำบากทางการเงิน (Financial hardship) มากกว่ากลุ่มอายุอื่น

      ตัวอย่างเช่น ในสหรัฐอเมริกา เกือบครึ่งหนึ่งของผู้สูงวัย ประสบความยากจน (Poverty) อย่างน้อย 1 ปี ในช่วงวัยชรา นักวิจัยได้แสดง (Demonstrate) ให้เห็นว่า ปัญหาทางการเงิน ซึ่งเป็นสิ่งที่พบบ่อย (Common) ในบรรดาผู้สูงวัย เป็นปัจจัยหลัก (Prime) ในการลดความรู้สึกมีคุณค่าในตนเอง (Self-worth) และเพิ่มกลุ่มอาการซึมเศร้า (Depressive symptoms)

      เหตุการณ์นี้เป็นจริงในหลากหลายวัฒนธรรม นักวิจัยกลุ่มหนึ่งพบว่าปรากฏการณ์พื้นฐาน (Basic phenomenon) ในตัวอย่าง (Sample) ที่เก็บจากผู้สูงวัยชาวอเมริกันและชาวญี่ปุ่น นักวิจัยอีกกลุ่มหนึ่งพบว่า ปัญหาทางการเงินเป็นปัจจัยลบที่สำคัญในบรรดาผู้สูงวัยในประเทศจีน แล้วยังมีนักวิจัยอีกคนหนึ่ง ค้นพบสิ่งที่คล้ายกัน กล่าวคือปัญหาทางการเงิน ได้เพิ่มความทุกข์ทางใจ (Psychological distress) ใน 3 วัฒนธรรมที่แตกต่างกัน อันได้แก่ ฟิจิ (Fiji) เกาหลี และฟิลิปปินส์

      

แหล่งข้อมูล:

  1. Stuart-Hamilton, Ian. (2012). The Psychology of Ageing (5th Ed). London, UK: Jessica Kingsley Publishers.
  2. Psychological well-being, health and ageing https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC4339610/ [2019, January 22].