จิตวิทยาผู้สูงวัย ตอนที่ 183 : ทัศนคติทางอ้อม (1)

จิตวิทยาผู้สูงวัย-183

      

      พึงสังเกตว่า สิ่งที่กล่าวมาก่อนหน้านี้ เป็นการค้นพบจากการศึกษาที่ผู้เข้าร่วมวิจัยอย่างน้อยมีการควบคุมสติ (Conscious control) เหนือสิ่งที่เขาพูด แล้วทัศนคติต่อชราภาพจะเป็นอย่างไร ถ้าเราสามารถแยกแยะ (Identify) สิ่งที่ผู้คนคิดก่อนที่เขาจะมีเวลากำหนด (Impose) การควบคุมสติ และกำหนดระดับ (Layer) ของการจัดการความประทับใจ (Impression) ให้กลายเป็นความคิดเห็น (Opinion) อันนำไปสู่การศึกษาเรื่องทัศนคติทางอ้อม (Implicit)

      นักวิจัยนิยามทัศนคติทางอ้อมว่า เป็นการแกะรอย (Trace) อย่างใคร่ครวญ (Introspective) ถึงประสบการณ์ในอดีต ซึ่งเป็นสื่อกลาง (Mediate) ของความรู้สึก นึกคิด หรือการกระทำต่อวัตถุทางสังคม ทั้งในเชิงบวก (Favorably) หรือเชิงลบ (Unfavorably)

      อันที่จริงแล้ว มันเป็นปฏิกิริยาแรกของบุคคล ก่อนมีเวลาคิดในเรื่องที่ว่า ความคิดของเขาเป็นที่ยอมรับในสังคม (Socially acceptable) หรือไม่? หรือสอดคล้อง (Accord) กับความเชื่อ (Belief) อื่นๆ หรือไม่? เรามีแนวโน้ม (Tempting) ที่จะมองเห็นทัศนคติทางอ้อม ว่าเป็นมาตรวัด (Measure) ของสิ่งที่บุคคลคิดจริงๆ

      แม้ว่านี่เป็นสิ่งที่เป็นไปได้ (Plausible) แต่ก็พิสูจน์ไม่ได้อย่างแน่นแฟ้น (Definitely) ตัวอย่างเช่น เป็นไปได้ที่บุคคลอาจมีปฏิกิริยาเข่ากระตุก (Knee-jerk reaction) ต่อปรากฏการณ์ (Phenomenon) หนึ่ง แต่เนื่องจากสิ่งนี้ไม่สอดคล้องกับค่านิยม (Value) อย่างแท้จริง (Genuinely) ก็จะถูกเปลี่ยนแปลงแก้ไข (Amended)

      มีหนทางหลากหลายในการวัดทัศนคติทางอ้อม แต่ที่ใช้กันมากที่สุด คงเป็นการทดสอบทัศนคติซึ่งตั้งอยู่บนหลักฐาน (Premise) ที่ได้รับการยอมรับอย่างแพร่หลาย (Well-established) ว่า สองรายการยิ่งมีความสัมพันธ์กัน (Associated) เท่าใด บุคคลยิ่งสนองตอบได้เร็วขึ้นเท่านั้น ตัวอย่างเช่น ผู้คนคิดถึงความสัมพันธ์ระหว่างขนมปังกับเนย (Bread and butter) ได้เร็วกว่า ความสัมพันธ์ของขนมปังกับใบมีโกน (Razor)

      ถ้าผู้คนลำเอียงในเชิงลบต่อชราภาพ (Ageist) ในทางอ้อม เขาก็จะมีความสัมพันธ์กับคำที่ไม่น่ารื่นรมย์ (Unpleasant) เกี่ยวกับผู้สูงอายุอย่างเร็วกว่า และมีความสัมพันธ์กับคำที่น่ารื่นรมย์เกี่ยวกับผู้เยาว์วัยอย่างเร็วกว่า เราเรียกว่า “เงื่อนไขที่สอดคล้องกัน” (Congruent condition)

      ในทางกลับกัน (Conversely) ผู้คนที่ลำเอียงในเชิงลบต่อชราภาพ ก็ค่อนข้าง (Relatively) ช้ากว่า ในการมีความสัมพันธ์กับคำที่รื่นรมย์เกี่ยวกับผู้สูงวัย และคำที่ไม่รื่นรมย์เกี่ยวกับผู้เยาว์วัย เราเรียกว่า “เงื่อนไขที่ไม่สอดคล้องกัน” (Incongruent) อย่างไรก็ตาม ถ้าผู้คนไม่ลำเอียงในเชิงลบต่อชราภาพ เขาควรจะมีความสัมพันธ์กับคำในเงื่อนไขที่สอดคล้องกันกับไม่สอดคล้องกัน ด้วยความเร็วที่เท่าเทียมกัน (Equal speed)

      

แหล่งข้อมูล:

  1. Stuart-Hamilton, Ian. (2012). The Psychology of Ageing (5th Ed). London, UK: Jessica Kingsley Publishers.
  2. Attitude to Aging Impacts Everything About Aging https://www.psychologytoday.com/us/blog/the-new-resilience/201612/attitude-aging-impacts-everything-about-aging [2018, October 16].