จิตวิทยาผู้สูงวัย ตอนที่ 162 : อุปนิสัยกับชราภาพ (2)

จิตวิทยาผู้สูงวัย-162

      

      การศึกษาอย่างมากมายเหลือเฟือ (Plethora) ได้สนับสนุนนานาข้อสมมุติฐาน (Supposition) ดังตัวอย่างต่อไปนี้

  • นักวิจัย 2 คน แสดงให้เห็น (Demonstrate) ว่า ระดับที่สูงกว่าของ ความไม่มั่นคงในอารมณ์ (Neuroticism: N) เป็นความเสียเปรียบ (Disadvantageous) ในการรับมือกับ (Cope with) ความเจ็บปวดเรื้อรัง (Chronic pain) ในเวลาต่อมาของชีวิต
  • ในการศึกษาข้ามห้วงเวลา (Longitudinal study) นักวิจัยทีมหนึ่ง พบสหสัมพันธ์ (Correlation) สูง ระหว่าง N กับ ความตาย (Mortality) โดยผู้ทำคะแนนสูง 10% แรก มีความเสี่ยงในการตายสูงเป็น 2 เท่า เมื่อเปรียบเทียบกับผู้ทำคะแนนต่ำ 10% สุดท้าย
  • ในการศึกษาข้ามห้วงเวลา นักวิจัยอีกทีมหนึ่งพบว่า N มีสหสัมพันธ์สูง กับความดันโลหิตสูง (High blood pressure)
  • นักวิจัยอีกทีมหนึ่ง พบว่าผู้ที่ทำคะแนน N สูงมีแนวโน้ม (Likelihood) อย่างมีนัยสำคัญที่จะล้มเหลวในเรื่องความทรงจำ (Memory failure) ในวันที่มีความเครียด (Stress) ในระดับสูง
  • นักวิจัยอีกทีมหนึ่งพบว่า ระดับของ N มีความสัมพันธ์ [ในเชิงลบ] อย่างมีนัยสำคัญกับการฟื้นฟู (Recovery) จากโรคซึมเศร้า (Depression) ในเวลาต่อมาของชีวิต
  • ในการศึกษาข้ามห้วงเวลา 21 ปี นักวิจัยอีกทีมหนึ่งพบว่า ระดับสูงของ N มีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญกับความเสี่ยงในการตายที่สูงขึ้นจากการเจ็บป่วย¬ด้วยโรคหลอดเลือดหัวใจ (Cardio-vascular illness) แม้ว่าอาจจะบรรเทา (Mediated) ได้ด้วยปัจจัยอื่นๆ อาทิ สถานะทางเศรษฐกิจและสังคม (Socio-economic status)
  • นักวิจัยอีกทีมหนึ่งพบว่า โดยทั่วไป N มีความสัมพันธ์ในเชิงกลับกัน (Inversely related) กับสถานะทางสุขภาพ (Health status) ในผู้สูงวัย

      ดูเหมือน (Apparent) ว่า ระดับสูงของความไม่มั่นคงในอารมณ์ จะเป็นความเสียเปรียบในเวลาต่อมาของชีวิต ด้วยเหตุผลประการทั้งปวง (Whole host of reasons) อย่างไรก็ตาม อาจเป็นการไม่ฉลาด (Unwise) ที่จะเหมา (Assume) ว่า ความไม่มั่นคงในอารมณ์ จะเป็นอุปนิสัยเดียว (Sole) ของบุคลิกภาพ ที่เป็นสาเหตุของความบกพร่อง (At fault)

      การศึกษาหลายครั้ง รายงานว่า คะแนน N จะมีอิทธิพลสำคัญ แม้จะมีปริมาณมากของความแปรปรวน (Variance) ที่อธิบายไม่ได้หรือ จะปัจจัยอื่นที่มีความสำคัญเกือบเท่า (Near-equal) ด้วย อาทิ สุขภาพทางกาย (Physical health)

แหล่งข้อมูล:

  1. Stuart-Hamilton, Ian. (2012). The Psychology of Ageing (5th Ed). London, UK: Jessica Kingsley Publishers.
  2. Age Changes and Differences in Personality Traits and States of the Old and the Very Oldhttps://academic.oup.com/psychsocgerontology/article/57/2/P144/600161 [2018, May 22].