งีบสักนิด จิตแจ่มใส (ตอนที่ 3 และตอนจบ)
- โดย วันทนีย์ โลหะประกิตกุล
- 20 พฤศจิกายน 2562
- Tweet
สำหรับเคล็ดลับในการงีบหลับ ได้แก่
- แนะนำให้งีบหลับช่วงสั้นๆ ประมาณ 20-30 นาที เพราะจะช่วยให้ร่างกายรู้สึกกระปรี้กระเปร่ามากกว่า ตื่นมาโดยไม่รู้สึกมึนงง (Groggy) หรือไม่รบกวนการนอนในตอนกลางคืน
- สภาพแวดล้อมในการนอนมีผลกระทบต่อการนอนเป็นอย่างมาก ควรหาสถานที่ที่นอนสบายและมีอุณหภูมิที่เหมาะสม พยายามอย่าให้มีเสียงและแสงเข้ามารบกวน
- หากงีบหลับในตอนเย็นอาจมีผลกระทบต่อการนอนในกลางคืนซึ่งอาจทำให้นอนหลับยาก
ข้อดีของการงีบหลับ
- ทำให้ร่างกายรู้สึกกระปรี้กระเปร่า มีประสิทธิภาพในการทำงานมากขึ้น และลดความผิดพลาดและอุบัติเหตุได้ โดยงานวิจัยของนาซ่า NASA ระบุว่า หากนักบินรบและนักบินอวกาศได้งีบหลับประมาณ 40 นาที จะทำให้การทำงานดีขึ้นประมาณร้อยละ 34 และรู้สึกกระปรี้กระเปร่าเต็มที่
- การงีบหลับช่วยให้ร่างกายรู้สึกกระปรี้กระเปร่าหลังการงีบและอาจกระปรี้กระเปร่าต่อได้อีกหลายชั่วโมง
- การวางแผนการงีบหลับเป็นสิ่งที่แนะนำสำหรับผู้ที่เป็นโรคลมหลับ (Narcolepsy) ซึ่งเป็นโรคชนิดหนึ่ง อาการของโรคคือ ผู้ป่วยไม่สามารถควบคุมการหลับได้ ในแต่ละวันผู้ป่วยอาจจะรู้สึกง่วงมากจนต้องหลับไปอย่างกระทันหันได้หลายๆ ครั้ง
- การงีบหลับช่วยให้เกิดประโยชน์ทางด้านจิตใจ เป็นวิธีที่ง่ายที่ได้ผ่อนคลายและกระชุ่มกระชวย
ข้อเสียของการงีบหลับ
- จากสถิติพบว่าการงีบหลับผู้สูงอายุจะเพิ่มความเสี่ยงในการเสียชีวิตได้ โดยเฉพาะการงีบหลับบ่อยๆ จะมีความสัมพันธ์กับโรคกล้ามเนื้อหัวใจตาย (Myocardial infarction)
- อาจถูกมองว่าการงีบหลับหมายถึง การขี้เกียจ ขาดความทะเยอทะยาน และต่ำกว่ามาตราฐาน
- อาจถูกมองว่าการงีบหลับเป็นเรื่องของเด็ก ผู้ป่วย และผู้สูงอายุเท่านั้น
แหล่งข้อมูล:
- Napping. https://www.sleepfoundation.org/articles/napping [2019, November 18].
- Is Napping Good or Bad for Your Health? https://www.healthline.com/health-news/is-napping-good-or-bad-for-your-health [2019, November 18].
- Nap. https://en.wikipedia.org/wiki/Nap [2019, November 18].