งีบสักนิด จิตแจ่มใส (ตอนที่ 2)

งีบสักนิดจิตแจ่มใส-2

      

      การงีบหลับสามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ประเภท คือ

  • Planned napping (Preparatory napping) - เป็นการงีบหลับก่อนที่จะมีการนอนหลับจริง ๆ เราอาจใช้เทคนิคเมื่อเราคิดว่าเราจะตื่นช้ากว่าเวลานอนปกติ หรือเพื่อคลายความเหนื่อยล้าของร่างกาย
  • Emergency napping - เป็นการงีบหลับเมื่อร่างกายรู้สึกเหนื่อยล้ามากและไม่สามารถปฏิบัติกิจวัตรประจำวันได้ตามปกติ การงีบหลับชนิดนี้ใช้เพื่อต่อสู้กับอาการง่วงนอนขณะขับรถหรือมีอาการอ่อนเพลียขณะที่ใช้เครื่องจักรที่อันตราย
  • Habitual napping - เป็นการงีบหลับที่ปฏิบัติเป็นประจำทุกวันในช่วงเวลาเดียวกัน เด็กเล็กอาจจะงีบหลับในช่วงบ่ายๆ ส่วนผู้ใหญ่จะใช้เวลางับหลับสั้นๆ ช่วงหลังมื้ออาหารในแต่ละวัน

      คนส่วนใหญ่รู้ดีว่าการง่วงระหว่างขับรถเป็นอันตรายทั้งต่อตนเองและผู้อื่น ซึ่งอันที่จริงแล้วการได้นอนหลับเต็มที่และงีบหลับก่อนขับรถจะช่วยลดความเสี่ยงได้มาก

      ทั้งนี้ผู้เชี่ยวชาญด้านการนอนได้แนะนำว่า หากรู้สึกง่วงระหว่างขับรถ ก็ควรหาที่จอดพักทันที งีบหลับสักประมาณ 20 นาที และดื่มเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน เช่นเดียวกันกับผู้ที่ทำงานเป็นกะ (Shift work)โดยเฉพาะกะกลางคืน ก็พบว่าวิธีดังกล่าวช่วยให้ร่างกายตื่นตัวได้เป็นอย่างดี

      จากผลการศึกษาล่าสุดนักวิจัยพบว่า การงีบหลับ 2-3 ครั้งต่อสัปดาห์ อาจเป็นผลดีต่อสุขภาพได้ เช่น ภาวะหัวใจวาย (Heart attack) โดยระหว่างที่หลับความดันโลหิตและการเต้นของหัวใจจะลดลงตามธรรมชาติ

      ส่วนการงีบหลับทุกวันอาจเป็นสัญญาณที่บ่งบอกว่ากลางคืนนอนไม่พอหรือสุขภาพมีปัญหา

      อย่างไรก็ดี Dr. Anil Rama จาก Stanford University’s Center for Sleep Sciences and Medicine ที่แคลิฟอร์เนีย กล่าวว่า เขาไม่เห็นว่าความบ่อยหรือระยะเวลาของการงีบหลับจะมีผลต่อร่างกาย แต่ขึ้นอยู่กับว่า การนอนมีคุณภาพหรือไม่ ถ้าการนอนมีคุณภาพการงีบหลับก็น่าจะมีคุณภาพ

      ในขณะที่นักวิจัยบางท่านก็กล่าวว่า หากการนอนตอนกลางคืนเป็นการนอนที่มีคุณภาพแล้ว เราก็ไม่จำเป็นต้องงีบหลับตอนกลางวัน

      ในทางกลับกัน การงีบหลับก็ไม่ได้เป็นทางเลือกที่ดีที่สุดของทุกคน เช่น

  • การงีบหลับที่นานเกินกว่า 20 นาที อาจทำให้เกิดแรงเฉื่อย มึนงง (Grogginess) และขาดสมาธิช่วงเวลาหนึ่งจนถึงครึ่งชั่วโมง ซึ่งอาจเป็นอันตรายต่อผู้ที่ต้องทำงานที่ตื่นตัวทันที
  • การงีบหลับที่นานหรือการงีบหลับในตอนบ่ายและตอนเย็นอาจมีผลต่อการนอนในตอนกลางคืน
  • มีงานวิจัยหนึ่งที่ระบุว่า การงีบหลับจะเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดภาวะหัวใจวายในคนที่มีโอกาสเป็นอยู่แล้ว

      

แหล่งข้อมูล:

  1. Napping. https://www.sleepfoundation.org/articles/napping [2019, November 18].
  2. Is Napping Good or Bad for Your Health? https://www.healthline.com/health-news/is-napping-good-or-bad-for-your-health [2019, November 18].
  3. Nap. https://en.wikipedia.org/wiki/Nap [2019, November 18].