คุยกับหมอรักษาโรคมะเร็ง ตอน มะเร็งตับชนิดเอชซีซีในเด็ก

คุยกับหมอรักษาโรคมะเร็ง ตอน มะเร็งตับชนิดเอชซีซีในเด็ก

มะเร็งตับในเด็กทั่วโลก เกือบทั้งหมดเป็นคนละชนิดกับในผู้ใหญ่ คือ เกือบทั้งหมด เป็นชนิดเซลล์ตัวอ่อนที่เรียกว่า Hepatoblastoma ส่วนน้อยมากเป็นชนิดย่อยอื่นๆที่คล้ายในผู้ใหญ่, โดยในผู้ใหญ่ทั่วโลกที่พบบ่อยที่สุดคือ ชนิด Hepatocellular carcinoma (ย่อว่า HCC/เอชซีซี), ซึ่งแพทย์ยังไม่ค่อยทราบถึงประสิทธิผลของการรักษามะเร็งตับ HCC ในเด็กที่การรักษาหลัก คือ การผ่าตัดร่วมกับยาเคมีบำบัด

คณะแพทย์โรคมะเร็งเด็กจากหลายโรงพยาบาลในสหรัฐอเมริกา นำโดยศัลยแพทย์มะเร็งเด็ก นพ. Scott S. Short จาก  Division of Pediatric Surgery, Primary Children's Hospital, University of Utah, Salt Lake City,ยูทา สหรัฐอเมริกา

จึงร่วมกันศึกษาเพื่อให้ทราบทราบว่า ชนิดย่อยต่างๆของมะเร็งตับในเด็กที่คล้ายในผู้ใหญ่   มีผลต่ออัตราตายและอัตรากลับเป็นซ้ำของโรคหลังรักษาหรือไม่  และได้เผยแพร่ผลการศึกษาในวารสารการแพทย์ด้านโรคมะเร็งของสหรัฐฯ ชื่อ Cancer ฉบับ 15 กรกฎาคม 2522   

การศึกษานี้ ศึกษาในผู้ป่วยเด็กมะเร็งตับ HCC ทั้งหมด 262 ราย, 42% เป็นชนิดc HCC (ชนิด ทั่วไปในผู้ใหญ่, อาจร่วมเซลล์ตับมีการอักเสบหรือไม่ก็ได้), 45% เป็นชนิดย่อย Fibrolamellar carcinoma/FLC, และ 12% เป็นชนิด Hepatoblastoma with HCC features/HB-HCC, ผลการศึกษาพบว่า

  • การลุกลามเข้าต่อมน้ำเหลืองพบได้สูงกว่าในมะเร็งกลุ่ม FLC
  • มะเร็งชนิด cHCC มักมาพบแพทย์ด้วยโรคระยะที่รุนแรงกว่า
  • ปัจจัยที่มีผลต่ออัตราตายที่สูงขึ้นอย่างสำคัญทางสถิติ คือ
  • เป็นมะเร็งชนิดย่อย cHCC, p= 0.038
  • มีค่ามะเร็งในเลือด α-fetoprotein สูงกว่าค่าปกติ, p=0.014
  • เซลล์มะเร็งเกิดในตับหลายจุด, p <0.001
  • มีระยะโรคที่สูงโดยเฉพาะระยะที่4, p<0.001
  • การวิเคราะห์พหุตัวแปร พบว่า อัตราตายจะสูงกว่าอย่างสำคัญทางสถิติ ในกรณี
  • เป็นชนิด cHCC จะสูงกว่าชนิดFLC, p=0.004
  • ไม่สามารถผ่าตัดก้อนมะเร็งออกได้, p<0.001
  • และ ระยะเวลาปลอดโรคฯที่นานกว่า จะมีอัตราตายจากโรคฯน้อยกว่า

คณะผู้ศึกษาสรุปว่า ในมะเร็งตับในเด็กกลุ่ม HCC, ชนิดย่อยของเซลล์มะเร็งมีผลต่อประสิทธิผลของการรักษา  ดังนั้น เพื่อประสิทธิผลของการรักษา แพทย์จึงควรต้องนำชนิดย่อยของเซลล์มะเร็งมาเป็นอีกปัจจัยสำคัญในการพิจารณาวิธีรักษาผู้ป่วย

บรรณานุกรม

  1. Cancer 2022; 128 (14): 2786-2795. (abstract). https://pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/35561331/  [2023,Feb20]