คุยกับหมอรักษาโรคมะเร็ง ตอน โรคมะเร็งในผู้ติดเชื้อเอชไอวี

คุยกับหมอรักษาโรคมะเร็ง ตอน โรคมะเร็งในผู้ติดเชื้อเอชไอวี

เอชไอวี คือโรคที่เกิดจากร่างกายติดเชื้อไวรัสเอชไอวี ที่ส่งผลให้ร่างกายมีภูมิคุ้มกันต้านทานโรคบกพร่อง เป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ที่พบสูงทั่วโลกรวมถึงประเทศไทย  

 การมีภูมิคุ้มกันฯบกพร่องเป็นปัจจัยเสี่ยงสำคัญปัจจัยหนึ่งที่ทำให้เกิดโรคมะเร็งได้ทุกชนิด   ซึ่งโรคมะเร็งที่พบได้ในคนทั่วไปแต่พบได้สูงขึ้นในผู้ป่วยเอชไอวี ได้แก่ มะเร็งต่อมน้ำเหลืองชนิดฮอดจ์กิน, มะเร็งช่องปาก, มะเร็งคอหอยส่วนปาก, มะเร็งตับ, มะเร็งปอด, และมะเร็งทวารหนัก รวมเรียกมะเร็งกลุ่มนี้ว่า ’Non-AIDS-defining cancer ย่อว่ามะเร็ง NADC’

แต่ยังมีมะเร็งอีกกลุ่มหนึ่งที่สัมพันธ์โดยตรงกับการติดเชื้อเอชไอวีที่เป็นปัจจัยเสี่ยงสูง เกิดมะเร็งกลุ่มนี้ เรียกว่า’AIDS-defining cancer’ และเมื่อผู้ติดเชื้อฯเกิดมะเร็งกลุ่มนี้จะจัด  เป็นผู้ป่วยโรคเอดส์(คือ การติดเชื้อระยะ3/ระยะสุดท้ายมีมีอาการและจัดเป็นระยะรุนแรงที่สุดในโรคติดเชื้อเอชไอวีที่มีทั้งหมด3ระยะ) ซึ่งมะเร็งในกลุ่มนี้มี3ชนิด คือ มะเร็งคาโปซิ(มะเร็งในกลุ่ม มะเร็งเนื้อเยื่ออ่อน)ซึ่งพบบ่อยในผู้ป่วยเอดส์ประมาณ500เท่าของคนทั่วไป, มะเร็งต่อมน้ำเหลืองชนิดนอนฮอดจ์กิน พบบ่อยประมาณ 12 เท่าของคนทั่วไป, และมะเร็งปากมดลูก พบบ่อยประมาณ3เท่าของสตรีทั่วไป (แนะนำอ่านเพิ่มเติมรายละเอียดมะเร็งทั้ง3ชนิดจากเว็บHaamor.com)

 ยาต้านเอชไอวี/ยาสูตรฮาร์ทที่ใช้รักษาโรคเอชไอวี/จะช่วยลดอัตราเกิดมะเร็งและอัตราตายจากมะเร็งลงได้ในมะเร็งทั้ง2กลุ่ม แต่อัตราเกิดมะเร็งและอัตราตายฯของผู้ป่วยจากมะเร็งก็ยังสูงกว่าในคนทั่วไป ทั้งนี้เพราะการรักษา,ไม่ได้ทำให้ภูมิคุ้มกันฯที่บกพร่องที่เป็นสาเหตุหลักของการเกิดมะเร็งของผู้ป่วยกลับมาเป็นปกติเต็มร้อย

อนึ่ง ปัจจัยเสี่ยงเกิดมะเร็งของคนทั่วไป ก็ยังคงเป็นปัจจัยเสี่ยงเกิดมะเร็งของผู้ป่วยเอชวี/เอดส์ร่วมด้วยอีก ปัจจัยสำคัญเช่นกัน ได้แก่ สูบบุหรี่, ดื่มสุรา, การเกิดโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ชนิดต่างๆ, โรคไวรัสตับอักเสบบี, โรคไวรัสตับอักเสบซี

อนึ่ง วิธีวินิจฉัยและวิธีรักษามะเร็งในผู้ป่วยเอชไอวี/เอดส์ทั้ง2กลุ่มจะเช่นเดียวกับในผู้ป่วยมะเร็งชนิดเดียวกันของคนทั่วไป แต่สุขภาพผู้ป่วยเอชไอวี/เอดส์ มักเป็นอุปสรรค์ต่อการรักษาเมื่อเปรียบเทียบกับผู้ป่วยมะเร็งทั่วไป ผลการรักษาในภาพรวมจึงค่อนข้างต่ำกว่า  

 

บรรณานุกรม

https://www.cancer.gov/about-cancer/causes-prevention/risk/infectious-agents/hiv-fact-sheet [2022,June27]