ในมะเร็งปากมดลูก อาการท้องเสีย จากรังสีรักษาขึ้นกับปริมาณรังสีที่ไส้ตรงได้รับ
- โดย ศาสตราจารย์เกียรติคุณ แพทย์หญิง พวงทอง ไกรพิบูลย์
- 2 สิงหาคม 2564
- Tweet
การรักษาหลักของมะเร็งปากมดลูกระยะโรคลุกลามเฉพาะที่คือการให้รังสีรักษา ที่มักร่วมกับยาเคมีบำบัดและ/หรือรักษาด้วยความร้อน(Hyperthermia) ผลข้างเคียงเฉียบพลันสำคัญจากรังสีฯคืออาการท้องเสีย
คณะแพทย์จากประเทศเนเทอร์แลนด์จึงต้องการทราบว่า อะไรเป็นปัจจัยเสี่ยงทางรังสีฯที่ทำให้เกิดผลข้างเคียงนี้ การศึกษานี้นำโดย แพทย์รังสีรักษาและมะเร็งวิทยา นพ. Dominique M.W. Reijtenbagh จาก Erasmus MC Cancer Institute, Department of Radiation Oncology, Rotterdam และได้รายงานผลการศึกษาในวารสารการแพทย์ Radiotherapy and Oncology ฉบับ กรกฎาคม ค.ศ. 2020
การศึกษานี้ศึกษาในผู้ป่วยมะเร็งปากมดลูกระยะลุกลามเฉพาะที่ 103 รายที่ได้รับการรักษาด้วยรังสีรักษา ร่วมกับยาเคมีบำบัด และ/หรือ ร่วมกับยาเคมีบำบัดร่วมกับการรักษาด้วยความร้อน(Hyperthermia) ซึ่งผลการศึกษาพบว่า อัตราการเกิดและความรุนแรงของอาการท้องเสียซึ่งเป็นผลข้างเคียงเฉียบพลันจะขึ้นกับปริมาณรังสีที่ไส้ตรงได้รับโดยเฉพาะที่ไส้ตรงส่วนล่าง นอกจากนั้นอีกปัจจัยคือ การได้รับยาเคมีบำบัดร่วมด้วย
คณะผู้ศึกษาสรุปว่า ผลการศึกษาพบว่า การติดเชื้อไวรัสตับอักเสบซีร่วมด้วยในผู้ป่วยมะเร็งเต้านมที่ต้องได้ยาเคมีบำบัด ส่งผลข้างเคียงกระทบในด้านลบต่อการรักษา เช่น ต้องปรับลดขนาดยาเคมีฯ, ต้องเลื่อนช่วงระยะเวลาระหว่างยาเคมีฯแต่ละครั้งให้นานขึ้น, การต้องรับการรักษาแบบผู้ป่วยใน, ดังนั้นจึงควรมีการศึกษาเพิ่มเติมเพื่อให้ทราบแน่ชัดถึงผลกระทบต่างๆ เพื่อนำผลมาปรับปรุงประสิทธิผลในการรักษาต่อผู้ป่วยกลุ่มนี้
แหล่งข้อมูล:
- Radiotherapy and Oncology 2020;148: 38-43 (abstract) :
- https://www.sciencedirect.com/science/article/pii/S0167814020301699 [2021,June29]