คุยกับหมอรักษาโรคมะเร็ง ตอน ผลข้างเคียงจากยาเคมีบำบัดต่อผู้ป่วยมะเร็งที่สูงอายุ
- โดย ศาสตราจารย์เกียรติคุณ แพทย์หญิง พวงทอง ไกรพิบูลย์
- 12 กรกฎาคม 2564
- Tweet
เป็นที่ทราบกันดีว่าผู้ป่วยมะเร็งสูงอายุมักทนต่อยาเคมีบำบัดได้ไม่ดี และมักพบผลข้างเคียงจากยาเคมีบำบัดสูงกว่าคนทั่วไป คณะแพทย์โรคมะเร็งจาก 11โรงพยาบาลในประเทศสเปนนำโดย นพ. JAIME FELIU จาก Oncology Department, Hospital Universitario La Paz, Cátedra UAM-AMGEN, CIBERONC, Madrid, Spain จึงต้องการศึกษาว่าอะไรเป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งผลให้ผู้สูงอายุโรคมะเร็งมีผลข้างเคียงเฉียบพลันจากยาเคมีบำบัดสูงขึ้นจนอาจอยู่ในภาวะอันตราย ซึ่งได้รายงานผลการศึกษานี้ในวารสารการแพทย์โรคมะเร็ง The Oncologist ฉบับเผยแพร่ทางอินเทอรเน็ท ค.ศ.2020 ฉบับปีที่ 25 หน้า e1516–e1524
โดยเป็นการศึกษาในผู้ป่วยมะเร็งทุกชนิดทั้ง11โรงพยาบาลร่วมกันที่มีอายุตั้งแต่ 70 ปีขึ้นไป 551รายที่ไม่มีมะเร็งแพร่กระจายไปสมองและได้รับยาเคมีบำบัดเป็นครั้งแรกในช่วงปี คศ.2014-2018 โดยเป็นเพศชาย 62%, เพศหญิง 38%, ค่ากึ่งกลาง(median)ของอายุคือ 77ปี(ช่วง 70-92ปี) การศึกษาได้ศึกษาปัจจัยที่มีการศึกษารายงานว่าน่าจะมีผลต่อการเกิดผลข้างเคียงจากยาเคมีบำบัดหลากหลายปัจจัย และนำมาวิเคราะห์ข้อมูลทั้งแบบตัวแปรเดียว (Univariate Analysis) และแบบพหุตัวแปร(Multivariate analysis)
ผลการศึกษาพบว่า ปัจจัยหลักสำคัญทางสถิติที่มีส่งผลให้เกิดผลข้างเคียงเฉียบพลันรุนแรง(Grade3,4)จนอาจถึงกับเสียชีวิต(Grade5) มี2ปัจจัยคือ ปริมาณของยาสารเคมี (Dose)ที่ผู้ป่วยได้รับ, และค่าการทำงานของไต(Creatinine clearance)
คณะผู้ศึกษาสรุปผลการศึกษาว่า ปริมาณของยาสารเคมี(Dose)ที่ผู้ป่วยได้รับ และค่าการทำงานของไต(Creatinine clearance)ของผู้ป่วย เป็นปัจจัยหลักสำคัญที่สุดที่จะส่งผลให้ผู้ป่วยมะเร็งสูงอายุเกิดผลข้างเคียงเฉียบพลันจากยาเคมีบำบัดอย่างรุนแรงจนอาจถึงเสียชีวิต(grade3-5)คือ ปริมาณของยาเคมีบำบัดและค่าการทำงานของไต ดังนั้นการรักษามะเร็งในผู้สูงอายุที่ต้องใช้ยาเคมีบำบัดแพทย์ควรคำนึงถึงทั้ง2ปัจจัยให้ดีและต้องค่อยเฝ้าติดตามผู้ป่วยกลุ่มนี้อย่างใกล้ชิดเสมอ
แหล่งข้อมูล: