คุยกับหมอรักษาโรคมะเร็ง ตอน ผลการฉายรังสีรักษาที่สมองในผู้ป่วยมะเร็งกระจายมาสมองโดยเทคนิคไม่ฉายสมองส่วนกระบวนการรับรู้
- โดย ศาสตราจารย์เกียรติคุณ แพทย์หญิง พวงทอง ไกรพิบูลย์
- 30 พฤศจิกายน 2563
- Tweet
การรักษาหลักของมะเร็งต่างๆที่แพร่กระจายมาที่สมองคือ การฉายรังสีรักษาครอบคลุมสมองทุกส่วน(Whole brain radiation therapy ย่อว่า WBRT) ซึ่งในอดีต ผลข้างเคียงที่พบคือ ผลกระทบสำคัญต่อการตระหนักรู้และความทรงจำ(Cognitive function)ซึ่งอาการจะคล้ายผู้ป่วยคล้ายในโรคอัลไซเมอร์ ซึ่งสมองส่วนรับผิดชอบผลข้างเคียงนี้คือ ‘ฮิปโปแคมพัส (Hippocampus)’ และในช่วงต่อมาการรักษามะเร็งที่แพร่กระจายมาสมองคือ WBRT+ยารักษาโรคอัลไซเมอร์(ยาMemantine) แต่ปัจจุบันเทคนิคการฉายรังสีก้าวหน้าอย่างสูงโดยฉายรังสีด้วยเทคนิค3มิติที่สามารถปิดกั้นไม่ให้สมองฮิปโปแคมพัสได้รับรังสี
คณะแพทย์และนักวิทยาศาตร์จากเมืองมินเนโซตา สหรัฐอเมริกา นำโดย นพ.Paul D. Brown แห่ง Mayo Clinic, Rochester, MN จึงต้องการทราบถึงผลการรักษามะเร็งที่แพร่กระจายมาสมองด้วย วิธีฉายรังสีสมองด้วยเทคนิคทั่วไป+ยาMemantine เปรียบเทียบกับ วิธีฉายรังสีสมองด้วยเทคนิคปิดกั้นฮิบโปแคมพัสไม่ให้ได้รับรังสี +ยาMemantine และได้รายงานผลการศึกษาในวารสารการแพทย์ JC0 ฉบับ 1เมษายน 2020
การศึกษานี้เป็นการศึกษาแบบสุ่มตัวอย่าง(Phase III) ในผู้ป่วยมะเร็งที่แพร่กระจายมาสมองทั้งหมด 518 รายในช่วง กค. 2015- มีค. 2018 และติดตามผลในผู้ป่วยที่ยังคงมีชีวิตอยู่โดยระยะกึ่งกลางการติดตาม(median follow-up)=7.9เดือน
ผลพบว่า
- การตระหนักรู้และความทรงจำของผู้ป่วยกลุ่มปิดกั้นการได้รับรังสีที่ฮิปโปแคมพัส ดีกว่าเทคนิคฉายทั่วไปฯอย่างสำคัญทางสถิติ (p=0.02), ที่รวมถึงอาการอื่นๆทางสมองและความสามารถในการพูดคุย, P = 0.008-0.049
- แต่ผลในด้านอัตรารอดชีวิต, อัตราโรคลุกลาม, ผลข้างเคียงอื่นๆที่ไม่ใช่การตระหนักรู้และความทรงจำ ไม่ต่างกันในผู้ป่วยทั้ง2กลุ่ม
คณะผู้ศึกษาสรุปผลการศึกษาว่า ในผู้ป่วยมะเร็งที่แพร่กระจายมาสมองที่ไม่มีมะเร็งแพร่กระจายเข้าฮิปโปแคมพัส การรักษาด้วยการฉายรังสีฯแบบปิดกั้นฮิบโปแคมพัส ควรได้รับการพิจารณาให้เป็นการฉายรังสีฯมาตรฐาน
แหล่งข้อมูล:
- J Clin Oncol. 2020;38(10):1019-1029 (abstract)