การศึกษาประสิทธิผลในการลดขนาด และระยะเวลาการใช้ยาต้านฮอร์โมนในผู้ป่วยมะเร็งเต้านมระยะศูนย์หลังผ่าตัด
- โดย ศาสตราจารย์เกียรติคุณ แพทย์หญิง พวงทอง ไกรพิบูลย์
- 25 พฤศจิกายน 2562
- Tweet
ทั่วไป การรักษามะเร็งเต้านมสตรีระยะศูนย์ กลุ่มที่เซลล์มะเร็งฯมีตัวรับฮอร์โมนเพศหญิง(Hormone receptor/HR + โดย มะเร็งระยะศูนย์นี้ครอบคลุมเซลล์มะเร็งฯชนิด Atypical ductal hyperplasia/ ADH, Lobular carcinoma in situ/ LCIS, และ Ductal carcinoma in situ/ DCIS) คือ การผ่าตัดก้อนเนื้อออก อาจร่วมกับรังสีรักษา หรือการผ่าตัดออกทั้งเต้านม หลังจากนั้นผู้ป่วยจะได้รับยาต้านฮอร์โมน Tamoxifen(TAM) 20 มก/วัน ทุกวัน เป็นระยะเวลานาน 5 ปี ทั้งนี้เพื่อป้องกันโรคเกิดเป็นซ้ำในเต้านมด้านเดิม และ/หรือในเต้านมอีกด้าน ซึ่งการเกิดเป็นซ้ำนี้อาจเป็นมะเร็งฯระยะศูนย์เช่นเดิม หรือเซลล์มะเร็งฯเปลี่ยนไปเป็นเซลล์มะเร็งอย่างแท้จริง(Invasive breast cancer)
ทั้งนี้ การใช้ยาTAMในขนาดและปริมาณดังกล่าว มีผลข้างเคียง คือ เพิ่มปัจจัยเสี่ยงเกิดภาวะลิ่มเลือดในหลอดเลือดดำ อันนำไปสู่ภาวะสิ่งหลุดอุดหลอดเลือดปอด(Pulmonary embolism), อาการจากภาวะขาดฮอร์โมนเพศ (เช่น ร้อนวูบวาบ), และ มะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูก(พบน้อย ประมาณ 1ใน 500ราย/0.2% ของผู้ป่วยที่ได้ TAM), ซึ่งผลข้างเคียงดังกล่าวทำให้ผู้ป่วยหลายคนปฏิเสธการรักษาด้วยยาTAM รวมถึงระยะเวลาในการใช้ยานี้ที่นานถึง5ปี ส่งผลให้ผู้ป่วยหลายคนไม่สามารถมารับยานี้ต่อเนื่องจนครบเทอมได้
เนื่องจากมีการศึกษาในห้องปฏิบัติการพบว่า TAM ในปริมาณ 5 มก./วัน ก็สามารถลดอัตราเกิดมะเร็งเต้านมลงได้ จึงเป็นที่มาของการศึกษานี้ ที่คณะแพทย์ต้องการศึกษาว่า ปริมาณTAMที่ลดลงเหลือเพียง 5 มก./วัน และลดระยะเวลาการใช้ยาเหลือเพียง 3 ปีจะส่ง ผลการรักษาในด้านลดอัตรามะเร็งฯเกิดซ้ำ หรือมะเร็งฯเกิดอีกข้างของเต้านมหรือไม่ รวมถึงสามารถลดอัตราเกิดผลข้างเคียงได้หรือไม่ด้วย
การศึกษาครั้งนี้ เป็นการศึกษาร่วมกันระหว่างหลายโรงพยาบาลในอิตาลี นำโดย นพ. Andrea DeCensi แพทย์อายุรกรรมมะเร็งวิทยา โดยเป็นการศึกษาล่วงหน้าระหว่างผู้ป่วย2กลุ่มที่ได้จากการสุ่มตัวอย่าง (Randomized placebo controlled trial)คือ
คณะแพทย์ได้ศึกษาในผู้ป่วยมะเร็งเต้านมสตรี 500รายในช่วง2008-2015 ทุกคนมีอายุตั้งแต่ 75ปีลงมา เป็นผู้ป่วยกลุ่มศึกษา 253ราย และกลุ่มควบคุม 247ราย ผู้ป่วยมีระยะกึ่งกลาง(Median time)การติดตามโรคนาน 5.1 ปี(ช่วง 3.9-6.3 ปี) และได้รายงานการศึกษานี้ในวารสารการแพทย์ด้านโรคมะเร็งของสหรัฐอเมริกาชื่อ Journal of Clinical Oncology ฉบับ 1 กค. 2019
ผลการศึกษาพบว่า:
คณะผู้ศึกษาสรุปผลการศึกษาว่า การลดขนาดและระยะเวลาของการใช้TAMในผู้ป่วยมะเร็งเต้านมสตรีระยะศูนย์ มีประสิทธิผลในการควบคุมการย้อนกลับเป็นซ้ำของมะเร็งกลุ่มนี้ ที่รวมถึงสามารถลดผลข้างเคียงที่อันตรายของTAMลงได้ จึงแนะนำให้ เป็นทางเลือกหนึ่งในการรักษาผู้ป่วยมะเร็งกลุ่มนี้ แทนขนาดยาและระยะเวลาของยาTAMที่ใช้ในปัจจุบัน
แหล่งข้อมูล:
- Andrea DeCensi, et al. J Clin Oncol. 2019;37(19): 1629-1637