คุมได้ตามใจอยาก (ตอนที่ 5)
- โดย วันทนีย์ โลหะประกิตกุล
- 30 มีนาคม 2563
- Tweet
- ลดการมีประจำเดือนมากเนื่องจากการมีเนื้องอกมดลูก (Uterine fibroids) และสาเหตุอื่น และยังช่วยลดการเกิดภาวะโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็ก (Iron-deficiency anemia)
- ลดอาการก่อนมีประจำเดือน (Premenstrual syndrome = PMS)
- ช่วยให้ประจำเดือนมาน้อยลงหรือสั้นลง
- ลดอาการร้อนวูบวาบในหญิงที่ใกล้หมดประจำเดือน (Perimenopause)
สำหรับยาเม็ดคุมกำเนิดที่กินอย่างต่อเนื่อง 13 สัปดาห์ (Extended-cycle pills) จะมีข้อดีในการหยุดประจำเดือนด้วย เช่น
- ป้องกันและรักษาอาการเลือดออกมากเนื่องจากการมีเนื้องอกมดลูก
- ป้องกันการปวดไมเกรนช่วงก่อนมีประจำเดือน (Menstrual migraines)
- ช่วยลดอาการที่เกี่ยวกับประจำเดือนไม่ให้แย่ลง เช่น อาการชัก
- ลดอาการปวดที่เกี่ยวกับเยื่อบุโพรงมดลูก
อย่างไรก็ดี ยาเม็ดคุมกำเนิดชนิดฮอร์โมนรวมไม่ได้เหมาะกับทุกคน ดังนั้น ผู้ที่อยู่ในเกณฑ์ดังต่อไปนี้ ควรเลือกใช้วิธีคุมกำเนิดชนิดอื่น
- อยู่ในเดือนแรกของการให้นมบุตร
- อายุมากกว่า 35 ปี และสูบบุหรี่
- ควบคุมความดันโลหิตสูงไม่ได้
- มีประวัติของภาวะหลอดเลือดดำอุดตัน (Deep vein thrombosis) หรือ โรคลิ่มเลือดอุดกั้นในปอด (Pulmonary embolism)
- มีประวัติของการเป็นโรคหลอดเลือดสมอง (Stroke) หรือโรคหัวใจ
- มีประวัติโรคมะเร็งเต้านม
- มีประวัติเป็นไมเกรนที่มีอาการเตือนล่วงหน้า (Migraines with aura)
- มีภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบาหวาน เช่น ไตอักเสบ (Nephropathy) เบาหวานเข้าจอประสาทตา (Retinopathy) หรือ ปลายประสาทอักเสบ (Neuropathy)
- มีภาวะเลือดออกผิดปกติจากโพรงมดลูก (Unexplained uterine bleeding)
- ผู้ที่เคลื่อนไหวไม่ได้เป็นระยะเวลานานเนื่องจากการได้รับการผ่าตัดใหญ่
แหล่งข้อมูล:
- Birth Control Pills: Are They Right for You? https://www.healthline.com/health/birth-control-pills [2020, March 28].
- Combination birth control pills. https://www.mayoclinic.org/tests-procedures/combination-birth-control-pills/about/pac-20385282 [2020, March 28].