คุมได้ตามใจอยาก (ตอนที่ 22)
- โดย วันทนีย์ โลหะประกิตกุล
- 20 เมษายน 2563
- Tweet
อย่างไรก็ดี ควรแจ้งให้แพทย์ทราบถึงกรณีดังต่อไปนี้
- อยู่ระหว่างการให้นมบุตรหรือเพิ่งคลอดบุตรหรือแท้ง
- มีก้อนเนื้อใหม่เกิดขึ้นที่เต้านม
- กินยาแก้ลมชัก
- เป็นโรคเบาหวาน นิ่ว ตับ หัวใจ หรือไต
- มีคลอเรสเตอรอลหรือไตรกลีเซอไรด์ที่สูง
- ประจำเดือนมาไม่ปกติ
- เป็นโรคหดหู่ซึมเศร้า
- มีปัญหาเรื่องผิวหนัง เช่น โรคสะเก็ดเงิน (Psoriasis) หรือ โรคผิวหนังอักเสบ (Eczema)
สำหรับผลข้างเคียงจากการใช้แผ่นแปะคุมกำเนิดอาจได้แก่
- เพิ่มความเสี่ยงในการเกิดปัญหาหลอดเลือดอุดตัน ภาวะหัวใจวาย โรคหลอดเลือดสมอง โรคมะเร็งตับ โรคถุงน้ำดี และ โรคความดันโลหิตสูง
- ผื่นแพ้ผิวหนัง
- เจ็บเต้านม
- ปวดประจำเดือน
- ปวดศีรษะ
- คลื่นไส้หรืออาเจียน
- ปวดท้อง
- อารมณ์แปรปรวน
- น้ำหนักเพิ่ม
- เวียนศีรษะ
- เป็นสิว
- ท้องเสีย
- กล้ามเนื้อกระตุก (Muscle spasms)
- ติดเชื้อในช่องคลอด
- อ่อนเพลีย
- ภาวะที่มีการสะสมของของเหลว (Fluid retention)
- ระดับฮอร์โมนเอสโตรเจนในร่างกายเพิ่มมากกว่าการกินยาคุมกำเนิด
แหล่งข้อมูล:
- Birth control patch. https://www.mayoclinic.org/tests-procedures/birth-control-patch/about/pac-20384553 [2020, April 18].
- Contraceptive patch - Your contraception guide. https://www.nhs.uk/conditions/contraception/contraceptive-patch/ [2020, April 18].