คุมได้ตามใจอยาก (ตอนที่ 17)

คุมได้ตามใจอยาก-17

      

หากมีการใส่วงแหวนคุมกำเนิดอย่างถูกต้อง จะสามารถป้องกันการคุมกำเนิดได้อย่างมีประสิทธิภาพถึงร้อยละ 91 อย่างไรก็ดี มียาบางชนิดที่ทำให้ประสิทธิผลของการใช้วงแหวนคุมกำเนิดลดลง ซึ่งได้แก่

  • สมุนไพร St. John’s wort.
  • ยาปฏิชีวนะ (Rifampin)
  • ยารักษาการติดเชื้อเฮชไอวี
  • ยากันชัก (Antiseizure)

ดังนั้น หากมีการใช้ยาข้างต้น ควรใช้วิธีการคุมกำเนิดอื่นร่วมด้วย

สำหรับความเสี่ยงของการใช้วงแหวนคุมกำเนิดนั้น อาจเพิ่มความเสี่ยงของการแข็งตัวของเส้นเลือด (Blood clotting) ได้ ซึ่งเหมือนกับการกินยาคุมกำเนิดหรือการใช้แผ่นแปะคุมกำเนิด ทั้งนี้ การแข็งตัวของเส้นเลือดสามารถเพิ่มความเสี่ยงในการเกิด

  • ภาวะลิ่มเลือดอุดตันในหลอดเลือดดำลึก (Deep Vein Thrombosis = DVT)

  • โรคหลอดเลือดสมอง (Stroke)
  • โรคลิ่มเลือดอุดกั้นในปอด (Pulmonary embolism)
  • ภาวะหัวใจวาย (Heart attack)

ข้อดีของวงแหวนคุมกำเนิด

  • ใช้ง่ายสามารถใส่ได้ด้วยตัวเอง
  • มีผลข้างเคียงน้อยกว่าการกินยาคุมกำเนิด
  • มีประจำเดือนที่สั้นและน้อยกว่า
  • สามารถกลับมาตั้งครรภ์ได้เร็วเมื่อถอดวงแหวนออก

ข้อเสียของวงแหวนคุมกำเนิด

  • ต้องจำเวลาใส่เข้าและถอดออกให้ตรงเวลา
  • มีราคาแพงกว่ายาคุมกำเนิด
  • ไม่ป้องกันโรคติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์
  • อาจทำให้เกิดผลข้างเคียงในผู้หญิงบางคน เช่น คลื่นไส้ เลือดออกกะปริดกะปรอย (Spotting) และเจ็บเต้านม

แหล่งข้อมูล:

  1. 9 types of contraception you can use to prevent pregnancy. https://www.health.qld.gov.au/news-events/news/types-contraception-women-condoms-pill-iud-ring-implant-injection-diaphragm [2020, April 14].
  2. About the Vaginal Ring. https://www.healthline.com/health/birth-control-vaginal-ring [2020, April 14].
  3. Contraceptive vaginal ring. https://www.healthdirect.gov.au/contraceptive-vaginal-ring [2020, April 14].