คุมได้ตามใจอยาก (ตอนที่ 10)
- โดย วันทนีย์ โลหะประกิตกุล
- 4 เมษายน 2563
- Tweet
ข้อดีของการใส่ห่วงคุมกำเนิด
- สามารถป้องกันการตั้งครรภ์ได้ 5-10 ปี ขึ้นกับชนิด
- เมื่อใส่ห่วงคุมกำเนิดได้ถูกต้อง สามารถป้องกันการตั้งครรภ์ได้ทันที
- ไม่มีปัญหาเรื่องผลข้างเคียงจากฮอร์โมน เช่น เป็นสิว ปวดศีรษะ หรือ เจ็บเต้านม
- ไม่ขัดขวางระหว่างการมีเพศสัมพันธ์
- สามารถใส่ห่วงคุมกำเนิดได้ระหว่างการให้นมบุตร
- สามารถตั้งครรภ์ได้ทันทีหลังการถอดห่วงคุมกำเนิดออก
- ไม่มีผลต่อการใช้ยาอื่นๆ
- ยังไม่มีหลักฐานที่ระบุว่า การใส่ห่วงคุมกำเนิจะมีผลต่อน้ำหนักตัวหรือเพิ่มความเสี่ยงในการเป็น มะเร็งปากมดลูก มะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูก หรือ มะเร็งรังไข่
ข้อด้อยของการใส่ห่วงคุมกำเนิด
- อาจทำให้ประจำเดือนมามาก มานาน หรือ ปวดมาก
- ไม่สามารถป้องกันโรคติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์ได้
- หากมีการติดเชื้ออาจทำให้เกิดภาวะอุ้งเชิงกรานอักเสบ (Pelvic infection) ได้
- มีโอกาสในการเป็นเชื้อราในช่องคลอด
- หากการใส่ห่วงคุมกำเนิดไม่พอดี อาจทำให้เกิดการตั้งครรภ์นอกมดลูกได้
- มีรายงานว่าร้อยละ 1 ของผู้หญิงที่ใส่ห่วงคุมกำเนิดจะมีก้อนซีสต์ในรังไข่ในปีแรกของการใส่ห่วง แต่มักจะหายไปเองภายใน 3 เดือน
ทั้งนี้ การใส่ห่วงคุมกำเนิดอาจเลื่อนหลุดได้ในกรณีต่อไป
- อายุน้อยกว่า 20 ปี
- มีการใส่ห่วงคุมกำเนิดทันทีหลังการคลอดลูกหรือหลังการแท้งในไตรมาสที่ 2 ของการตั้งครรภ์
- มีเนื้องอกในมดลูก
- มดลูกมีขนาดหรือรูปร่างผิดปกติ
แหล่งข้อมูล:
- 9 types of contraception you can use to prevent pregnancy. https://www.health.qld.gov.au/news-events/news/types-contraception-women-condoms-pill-iud-ring-implant-injection-diaphragm [2020, April 3].
- Intrauterine device (IUD). https://www.nhs.uk/conditions/contraception/iud-coil/ [2020, April 3].
- Birth Control and the IUD (Intrauterine Device). https://www.mayoclinic.org/tests-procedures/combination-birth-control-pills/about/pac-20385282 [2020, April 3].