คั่งน้ำ (Water retention)
- โดย ศาสตราจารย์เกียรติคุณ แพทย์หญิง พวงทอง ไกรพิบูลย์
- 10 มีนาคม 2560
- Tweet
- โรคหัวใจ: โรคหลอดเลือดหัวใจ (Coronary artery disease)
- โรคไต (Kidney disease)
- โรคตับ (Liver disease)
- โรคเลือด (Blood Diseases)
- โรคภูมิแพ้ (Allergy)
- ยารักษาโรค (Pharmaceutical drug)
- ภาวะขาดไทรอยด์ฮอร์โมน (Hypothyroidism)
“คั่ง” ความหมายจากพจนารุกรมฉบับราชบัณฑิตนสถาน พ.ศ. 2554 หมายถึง ออกัน ประดากัน
คั่งน้ำ หรือ ภาวะคั่งน้ำ(Water retention หรือ Fluid retention หรือ Hydrops หรือ Hydropsy) ไม่ใช่โรค แต่เป็นภาวะ ที่ความหมายทางการแพทย์ คือภาวะที่มี น้ำ สารน้ำ หรือ ของเหลว คั่งอยู่ในเซลล์ ในเนื้อเยื่อ ในอวัยวะ และ/หรือในหลอดเลือด/ในระบบไหลเวียนโลหิต รวมถึงในช่อง(เช่น ช่องท้อง) หรือในโพรงต่างๆ(เช่น โพรงเยื่อหุ้มปอด)ของร่างกาย ซึ่งการคั่งน้ำนี้เกิดได้ทั้งในเซลล์ และภายนอกเซลล์
การคั่งน้ำจะก่อให้เกิดอาการบวมได้กับ เซลล์ เนื้อเยื่อ อวัยวะ ต่างๆที่เกิดการคั่งน้ำหรืออาการบวมทั้งตัวกรณีมีการคั่งน้ำทั้งตัว นอกจากนั้นคืออาการผิดปกติต่างๆในการทำงานของอวัยวะที่เกิดการคั่งน้ำ เช่น เหนื่อยง่าย มื่อมีการคั่งน้ำในหัวใจ, หายใจลำบาก หอบเหนื่อย เมื่อมีการคั่งน้ำในปอด, ปัสสาวะน้อย ง่วงซึม เมื่อมีการคั่งน้ำในไต, ง่วงซึม ปวดศีรษะมาก กรณีมีการคั่งน้ำในสมอง เป็นต้น
สาเหตุของการเกิดการคั่งน้ำในร่างกาย มีหลายสาเหตุ ที่พบบ่อย เช่น
- กลุ่มอาการก่อนมีประจำเดือน
- โรคหัวใจ
- โรคไต
- โรคตับ
- โรคเลือด
- การติดเชื้อในกระแสโลหิต
- มีเกลือโซเดียมในเลือดสูง
- มีสารโปรตีนในเลือดต่ำ
- โรคภูมิแพ้
- การแพ้ยา หรืออาการไม่พึงประสงค์จากยาต่างๆ
- ผลข้างเคียงจากยาบางชนิด เช่น ยาเอสโตรเจน
- ภาวะขาดไทรอยด์ฮอร์โมน
ทั้งนี้ การรักษาภาวะคั่งน้ำ คือ การรักษาโรคที่เป็นสาเหตุ และมักร่วมกับการใช้ยาขับปัสสาวะ
บรรณานุกรม