คอร์ติโคสเตียรอยด์ (Corticosteroids)
- โดย เภสัชกร อภัย ราษฎรวิจิตร
- 14 กุมภาพันธ์ 2563
- Tweet
- บทนำ
- ยากลุ่มคอร์ติโคสเตียรอยด์มีสรรพคุณ (คุณสมบัติ) อย่างไร?
- ยากลุ่มคอร์ติโคสเตียรอยด์มีกลไกการออกฤทธิ์อย่างไร?
- ยากลุ่มคอร์ติโคสเตียรอยด์มีรูปแบบการจัดจำหน่ายอย่างไร?
- ยากลุ่มคอร์ติโคสเตียรอยด์มีขนาดรับประทานอย่างไร?
- เมื่อมีการสั่งยาควรแจ้งแพทย์/พยาบาลและเภสัชกรอย่างไร?
- หากลืมรับประทานยาควรทำอย่างไร?
- ยากลุ่มคอร์ติโคสเตียรอยด์มีผลไม่พึงประสงค์อย่างไร?
- มีข้อควรระวังการใช้ยากลุ่มคอร์ติโคสเตียรอยด์อย่างไร?
- ยากลุ่มคอร์ติโคสเตียรอยด์มีปฏิกิริยาระหว่างยากับยาตัวอื่นอย่างไร?
- ควรเก็บรักษายากลุ่มคอร์ติโคสเตียรอยด์อย่างไร?
- ยากลุ่มคอร์ติโคสเตียรอยด์มีชื่ออื่นอีกไหม? ผลิตจากบริษัทอะไรบ้าง?
- บรรณานุกรม
- ยารักษาโรค (Pharmaceutical drug)
- ข้อปฏิบัติพื้นฐานในการใช้ยาทุกชนิด
- เลือดออกในทางเดินอาหาร (Gastrointestinal bleeding or GI bleeding)
- แผลเปบติค (Peptic ulcer) / แผลในกระเพาะอาหาร (Gastric ulcer)
- กระดูกพรุน โรคกระดูกบาง (Osteoporosis and Osteopenia)
- ต้อกระจก (Cataract)
- ต้อหินเรื้อรัง (Chronic glaucoma)
- โรคติดเชื้อ ภาวะติดเชื้อ (Infectious disease)
- เบาหวาน (Diabetes mellitus)
- ยาฆ่าเชื้อ (Antimicrobial drug) ยาแก้อักเสบ (Anti inflammatory drug)
บทนำ
คอร์ติโคสเตียรอยด์ (Corticosteroid) เป็นกลุ่มสารเคมีที่มีโครงสร้างโมเลกุลที่สามารถแตกแขนงแบ่งเป็นกลุ่มย่อยได้อีกมากมาย หลายชนิดของฮอร์โมนในร่างกายเราที่ชื่อว่า สเตียรอยด์ฮอร์โมน ก็จัดอยู่ในกลุ่มคอร์ติโคสเตียรอยด์เช่นเดียวกัน
สเตียรอยด์ฮอร์โมนในร่างกายมนุษย์จะออกฤทธิ์กับกระบวนการทางเคมีในร่างกายได้หลายกระบวนการ อาทิ
- กระบวนการของร่างกายเมื่อเผชิญกับความเครียด
- กระบวนการตอบสนองของภูมิคุ้มกันต้านทานโรค
- กระบวนการควบคุมการอักเสบของอวัยวะในร่างกาย
- กระบวนการเผาผลาญสารอาหาร เช่น คาร์โบไฮเดรต
- กระบวนทำลายโปรตีนของร่างกาย
- กระบวนการควบคุมสารอิเล็กโทรไลท์ (Electrolyte, เกลือแร่) ในเลือด
- ตลอดจนมีอิทธิพลต่อพฤติกรรมในชีวิตประจำวันด้วยซ้ำไป
คอร์ติโคสเตียรอยด์ถูกค้นพบประโยชน์ในการนำมาใช้ครั้งแรก เมื่อปี ค.ศ. 1944 (พ.ศ. 2487) โดยมีพัฒนาการของการใช้เป็นยารักษาโรคอย่างต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน
ก. หากแบ่งคอร์ติโคสเตียรอยด์ด้วยโครงสร้างเคมีตามการตอบสนองของร่างกายและนำมาใช้ประโยชน์ทางการแพทย์อย่างมากมาย เห็นจะได้แก่ การนำคอร์ติโคสเตียรอยด์มาใช้รักษาอาการแพ้ต่างๆของร่างกาย โดยแบ่งออกเป็นกลุ่มได้ดังนี้
- กลุ่มที่ 1 Hydrocortisone: ตัวยาในกลุ่มนี้มีคุณสมบัติเป็นสเตียรอยด์ฮอร์โมนอย่างอ่อน และมีคุณสมบัติเหมือนสเตียรอยด์ฮอร์โมนที่สร้างจากต่อมหมวกไต ตำรับยาที่ใช้บ่อย เช่น Hydrocortisone, Hydrocortisone acetate, Cortisone acetate, Tixocortol pivalate, Prednisolone, Methylprednisolone, Prednisone
- กลุ่มที่ 2 Acetonides: ตัวยาในยากลุ่มนี้จะสามารถซึมผ่านผิวหนังได้ดีกว่ายาในกลุ่มแรก จึงมักนำมาใช้ในโรคทางผิวหนัง ตำรับยาที่ใช้บ่อยเช่น Triamcinolone acetonide, Triam cinolone alcohol, Mometasone, Amcinonide, Budesonide, Desonide, Fluocinonide, Fluocinolone acetonide, Halcinonide
- กลุ่มที่ 3 Betamethasone: ตัวยากลุ่มนี้จะออกฤทธ์แรงกว่าตัวยาในกลุ่ม 1, 2 ตำรับยาที่ใช้บ่อยเช่น Betamethasone, Betamethasone sodium phosphate, Dexamethasone, Dexa methasone sodium phosphate, Fluocortolone
- กลุ่มที่ 4 Esters: ตัวยาออกฤทธิ์แรง ดูดซึมได้ดีในเนื้อเยื่อลูกตา และมีผลข้างเคียงน้อยกว่าตัวยาในกลุ่มอื่น โดยแยกเป็น 2 กลุ่มย่อย คือ
- Halogenated: ประกอบด้วย Hydrocortisone-17-valerate, Halometasone, Alclome tasone dipropionate, Betamethasone valerate, Betamethasone, Dipropionate, Prednicar bate, Clobetasone-17-butyrate, Clobetasol-17-propionate, Fluocortolone caproate, Fluocortolone pivalate, Fluprednidene acetate
- Labile prodrug esters: ประกอบด้วย Hydrocortisone-17-butyrate, Hydrocorti sone-17-aceponate, Hydrocortisone-17-buteprate, Ciclesonide, Prednicarbate
ข. หากแบ่งการใช้คอร์ติโคสเตียรอยด์ตามลักษณะของการบริหารยา สามารถจำแนกได้ดังนี้
- ยาใช้เฉพาะที่ (Topical steroid) เช่น ยาหยอดตา ยาทาผิว
- ยาสำหรับสูด-พ่นเข้าทางปาก - จมูก (Inhale steroid) เช่น Flunisolide, Flutica sone furoate, Fluticasone propionate, Triamcinolone acetonide, Beclomethasone dipropionate, Budesonide
- ยารับประทาน (Oral form) เช่น Prednisone และ Prednisolone
- ยาฉีด (Systemic forms)
จากการศึกษาด้านเภสัชจลนศาสตร์ (Pharmacokinetic, การศึกษาความเป็นไปของยา เมื่อยาเข้าสู่ร่างกาย) ของยากลุ่มคอร์ติโคสเตียรอยด์พบว่า หลังการดูดซึม ยานี้สามารถจับกับพลาสมาโปรตีนได้มากถึงประมาณ 95% อวัยวะตับและไตจะมีหน้าที่กำจัดคอร์ติโคสเตียรอยด์ออกจากร่าง กายโดยใช้เวลาประมาณ 1 - 3 ชั่วโมง จึงจะสามารถกำจัดคอร์ติโคสเตียรอยด์เหล่านี้ได้ 50%
ยาในกลุ่มคอร์ติโคสเตียรอยด์ชนิดฉีดและรับประทาน จะถูกจัดอยู่ในหมวดยาควบคุมพิเศษ สำหรับยาทาที่มีส่วนผสมกับยาชนิดอื่น มักจัดในหมวดยาอันตราย
ยากลุ่มคอร์ติโคสเตียรอยด์นี้ มีข้อห้ามใช้ ข้อควรระวัง และข้อจำกัดปลีกย่อยอีกมากมาย การ ใช้ยาในผู้ป่วยให้เกิดประโยชน์สูงสุดและมีความปลอดภัย จึงต้องอยู่ภายใต้การควบคุมดูแลของ แพทย์ผู้รักษาเท่านั้น
ยากลุ่มคอร์ติโคสเตียรอยด์มีสรรพคุณ (คุณสมบัติ) อย่างไร?
คอร์ติโคสเตียรอยด์มีข้อบ่งใช้และสรรพคุณดังนี้
- รักษาอาการสมองบวมจากเนื้องอกสมอง (Brain tumors)
- รักษาอาการอักเสบและอาการแพ้ของผิวหนัง
- รักษาและบรรเทาอาการปวดหรืออาการอักเสบของข้อกระดูก
- บรรเทาอาการโรคหืด และอาการแพ้ในระบบทางเดินหายใจ
- บรรเทาและรักษาอาการอักเสบของระบบขับถ่าย เช่น ริดสีดวงทวาร
- รักษาและป้องกันภาวะเกลือโซเดียมในร่างกายมีมากผิดปกติ (Hypernatremia)
- รักษาอาการบวม ที่ไม่ใช่เกิดจากบวมน้ำ
ยากลุ่มคอร์ติโคสเตียรอยด์มีกลไกการออกฤทธิ์อย่างไร?
อาจแบ่งกลไกการออกฤทธิ์ตามการบริหารยาของคอร์ติโคสเตียรอยด์ได้ดังนี้
ก. ยาใช้เฉพาะที่: ออกฤทธิ์โดยยับยั้งการรวมตัวของเม็ดเลือดขาวในบริเวณที่มีการอัก เสบของเนื้อเยื่อ จึงป้องกันการทำลายเนื้อเยื่อในบริเวณที่อักเสบดังกล่าว
ข. ยาสำหรับสูดพ่น: ออกฤทธิ์โดยบรรเทาและลดการอักเสบของหลอดลม ทำให้หลอด ลมเปิดกว้าง เพื่อให้อากาศเข้าออกได้สะดวก อีกทั้งลดปริมาณการสร้างเมือกหรือสารคัดหลั่งที่คอยอุดกั้นตามหลอดลมอีกด้วย
ค. ยารับประทาน: หลังดูดซึมเข้าร่างกาย ตัวยาจะออกฤทธิ์ที่ตัวรับ (Receptors) ของเนื้อเยื่อ ป้องกันมิให้เม็ดเลือดขาวเข้าไปทำลายบริเวณเนื้อเยื่อที่มีการอักเสบ อีกทั้งยังออกฤทธิ์กดการตอบสนองของภูมิคุ้มกันต้านทานโรคของร่างกาย จึงทำให้อาการโรคทุเลาลง
ง. ยาฉีด: คล้ายกับชนิดรับประทาน แต่ออกฤทธิ์ได้เร็วกว่าคือทันที
ยากลุ่มคอร์ติโคสเตียรอยด์มีรูปแบบการจัดจำหน่ายอย่างไร?
ยากลุ่มคอร์ติโคสเตียรอยด์มีรูปแบบการจัดจำหน่ายดังนี้
- ยาเม็ด ขนาดความแรง 0.5, 2.5, 5, และ 10 มิลลิกรัม/เม็ด
- ยาแคปซูล ขนาดความแรง 5 มิลลิกรัม/แคปซูล
- ยาครีม ขนาดความเข้มข้น 0.1%, 0.25%, 0.5%
- ยาหยอดตา ชนิดความเข้มข้น 0.12%, 1%
- ยาหยอดตา ชนิดความเข้มข้น 0.5% โดยผสมรวมกับยาปฏิชีวนะ
- ยาพ่นคอ ขนาดความเข้มข้น 100 และ 200 ไมโครกรัม/โด๊ส (Dose, ปริมาณยาแต่ละครั้งของการใช้ยา)
- ยาสูดพ่นเข้าจมูก ขนาดความแรง 0.5 มิลลิกรัม/มิลลิลิตร และ 1 มิลลิกรัม/2 มิลลิลิตร
- ยาสเปรย์พ่นจมูก ขนาดความเข้มข้น 64, 80, และ 160 ไมโครกรัม/โด๊ส
- ยาฉีด ขนาดความแรง 10 และ 40 มิลลิกรัม/มิลลิลิตร
- โลชั่นทาผิว ขนาดความเข้มข้น 0.1%
ยากลุ่มคอร์ติโคสเตียรอยด์มีขนาดรับประทานอย่างไร?
ด้วยยาในกลุ่มคอร์ติโคสเตียรอยด์มีหลากหลายรายการ ขนาดรับประทานจึงขึ้นกับการพิจารณาของแพทย์ โดยต้องอาศัยข้อมูลประจำตัวของตัวผู้ป่วย รวมกับเลือกใช้ยาให้ตรงตามอาการโรค และมีความปลอดภัยมากที่สุด ดังนั้นการรับประทานจึงต้องเป็นไปตามดุลยพินิจของแพทย์ผู้รักษาเท่านั้น
เมื่อมีการสั่งยาควรแจ้งแพทย์/พยาบาลและเภสัชกรอย่างไร?
เมื่อมีการสั่งยาทุกชนิดที่รวมถึงยากลุ่มคอร์ติโคสเตียรอยด์ ผู้ป่วยควรแจ้งแพทย์/พยาบาล และเภสัชกร เช่น
- ประวัติแพ้ยาทุกชนิด เช่น กินยา/ใช้ยาแล้ว คลื่นไส้มาก ขึ้นผื่น และ/หรือแน่นหายใจติดขัด/หายใจลำบาก
- มีโรคประจำตัวต่างๆ รวมทั้งกำลังกินยา/ใช้ยาอะไรอยู่ เพราะยากลุ่มคอร์ติโคสเตียรอยด์อาจส่งผลให้อาการของโรคเหล่านั้นรุนแรงขึ้น หรืออาจเกิดปฏิกิริยาระหว่างยากับยาอื่นๆที่กิน/ที่ใช้อยู่ก่อน
- หากเป็นสุภาพสตรีควรแจ้งว่าอยู่ในภาวะตั้งครรภ์/มีครรภ์ หรือกำลังให้นมบุตร เพราะยาหลายประเภทสามารถผ่านทางน้ำนมหรือรก และเข้าสู่ทารกจนก่อให้เกิดผลข้างเคียงได้
หากลืมรับประทานยาควรทำอย่างไร?
หากลืมรับประทานยา/ใช้ยากลุ่มคอร์ติโคสเตียรอยด์ สามารถรับประทาน/ใช้ยาเมื่อนึกขึ้นได้ ถ้าเวลาใกล้เคียงกับการรับประทานยา/ใช้ยาในมื้อถัดไป ไม่จำเป็นต้องเพิ่มปริมาณยาเป็น 2 เท่า
ยากลุ่มคอร์ติโคสเตียรอยด์มีผลไม่พึงประสงค์อย่างไร?
ยากลุ่มคอร์ติโคสเตียรอยด์สามารถก่อให้เกิดผล/ อาการไม่พึงประสงค์จากการใช้ยา (ผลข้างเคียง/อาการข้างเคียง) เช่น
- เกิดแผลในช่องทางเดินอาหาร (เช่น แผลในกระเพาะอาหาร)
- เกิดภาวะของกระดูกบางลง (โรคกระดูกพรุน)
- เกิดภาวะซึมเศร้า
- มีไข้
- กระตุ้นการชัก
- กดภูมิคุ้มกันต้านทานโรคของร่างกาย
- ปวดศีรษะ
- เจ็บคอ
- คัดจมูก
- ปวดหลัง
- อาเจียน
โดยหากเป็นยาใช้เฉพาะที่ เช่น ยาหยอดตา การใช้เป็นเวลานาน สามารถกระตุ้นให้เกิด
- ต้อกระจก
- ต้อหิน
และหากเป็นยาชนิดทา การใช้เป็นเวลานานสามารถเกิด
- ภาวะผิวบาง
- ผิวมีสีจาง และด่างขึ้น
มีข้อควรระวังการใช้ยากลุ่มคอร์ติโคสเตียรอยด์อย่างไร?
มีข้อควรระวังการใช้ยากลุ่มคอร์ติโคสเตียรอยด์ เช่น
- ห้ามใช้กับผู้แพ้ยานี้
- ห้ามใช้กับหญิงตั้งครรภ์ ด้วยก่อให้เกิดความพิการของทารก
- ห้ามใช้รักษาภาวะร่างกายติดเชื้อไวรัส เช่น เริม หรือติดเชื้อราและเชื้อแบคทีเรีย ด้วยจะทำให้อาการโรครุนแรงมากขึ้น
- ระวังการใช้ยานี้กับผู้ที่มีแผลในช่องทางเดินอาหาร
- การใช้ยานี้ชนิดรับประทานกับผู้ป่วยเบาหวาน สามารถทำให้เกิดภาวะน้ำตาลในเลือดสูงได้ จึงควรเลี่ยงการใช้ร่วมกัน
- ระวังการใช้ยานี้กับผู้ป่วยด้วยโรคหัวใจ โรคความดันโลหิตสูง
- ระวังการใช้ยานี้กับผู้ป่วย โรคไต หรือ นิ่วในไต
- ระวังการใช้ยานี้กับผู้ป่วยด้วยโรคไทรอยด์ทั้งชนิดฮอร์โมนจากต่อมไทรอยด์ต่ำ (ภาวะขาดไทรอยด์ฮอร์โมน) และสูง (โรคต่อมไทรอยด์เป็นพิษ /ภาวะต่อมไทรอยด์ทำงานเกิน)
- ระวังการใช้ยานี้กับผู้ป่วยด้วยโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรงเอมจี (Myasthenia gravis)
- การใช้ยากลุ่มนี้อาจทำให้อารมณ์เปลี่ยนแปลงได้ เช่น เกิดภาวะซึมเศร้า เป็นต้น
- ห้ามแบ่งยาให้ผู้อื่นใช้
- ห้ามใช้ยาหมดอายุ
- ห้ามเก็บยาหมดอายุ
***** อนึ่ง ทุกคนต้องตระหนักถึงความปลอดภัยจากการใช้ ”ยา” ที่รวมถึงยาแผนปัจจุบันทุกชนิด (รวมยากลุ่มคอร์ติโคสเตียรอยด์ด้วย) ยาแผนโบราณ อาหารเสริม ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร ทุกชนิด และสมุนไพรต่างๆเสมอ เพราะยามีทั้งให้คุณและให้โทษ ดังนั้นเมื่อมีการใช้ยาทุกครั้งควรต้องปฏิบัติตาม ข้อปฏิบัติพื้นฐานในการใช้ยาทุกชนิด เสมอ (อ่านเพิ่มเติมได้ในเว็บ haamor.com บทความเรื่อง ข้อปฏิบัติพื้นฐานในการใช้ยาทุกชนิด) รวมทั้งควรต้องปรึกษาเภสัชกรประจำร้านขายยาก่อนซื้อยาใช้เองเสมอด้วยเช่นกัน
ยากลุ่มคอร์ติโคสเตียรอยด์มีปฏิกิริยาระหว่างยากับยาตัวอื่นอย่างไร?
ยากลุ่มคอร์ติโคสเตียรอยด์มีปฏิกิริยาระหว่างยากับยาตัวอื่น เช่น
- การใช้ยากลุ่มคอร์ติโคสเตียรอยด์ร่วมกับ ยาต้านการแข็งตัวของเลือด จะทำให้ฤทธิ์ของการต้านการแข็งตัวของเลือดลดลง และก็ทำให้เกิดอาการเลือดออกในกระเพาะอาหาร/เลือดออกในทางเดินอาหารได้ง่ายขึ้น หากไม่จำเป็นควรเลี่ยงการใช้ยาทั้ง 2 กลุ่มพร้อมกัน
- การใช้ยากลุ่มคอร์ติโคสเตียรอยด์ร่วมกับ ยารักษาโรคเบาหวาน สามารถทำให้น้ำตาลในเลือดสูงขึ้นได้ หากจำเป็นต้องใช้ร่วมกัน แพทย์จะปรับขนาดรับประทานเป็นรายบุคคลไป
- การใช้ยากลุ่มคอร์ติโคสเตียรอยด์ร่วมกับ ยารักษาโรคหืด หรือยารักษาภาวะหลอดลมเกร็งตัวในผู้ป่วยโรคปอด อาจทำให้ภาวะเกลือโพแทสเซียมในเลือดต่ำลง ทำให้หัวใจเต้นผิดปกติ หากไม่มีความจำเป็นควรเลี่ยงการใช้ยาร่วมกัน
- การใช้ยากลุ่มคอร์ติโคสเตียรอยด์ร่วมกับ ยากันชัก สามารถทำให้ฤทธิ์ในการรักษา ของคอร์ติโคสเตียรอยด์ลดลง ควรหลีกเลี่ยงการใช้ยาร่วมกัน
ควรเก็บรักษายากลุ่มคอร์ติโคสเตียรอยด์อย่างไร?
ควรเก็บยากลุ่มคอร์ติโคสเตียรอยด์ เช่น
- เก็บยาที่อุณหภูมิต่ำกว่า 30 องศาเซลเซียส (Celsius)
- เก็บยาในภาชนะที่ปิดมิดชิด พ้นแสง/แสงแดด ความร้อน และความชื้น
- เก็บยาให้พ้นมือเด็กและสัตว์เลี้ยง
- ไม่ควรเก็บยาในห้องน้ำ
ยากลุ่มคอร์ติโคสเตียรอยด์มีชื่ออื่นอีกไหม? ผลิตจากบริษัทอะไรบ้าง?
ยากลุ่มคอร์ติโคสเตียรอยด์ มียาชื่อการค้า และบริษัทผู้ผลิต เช่น
ชื่อการค้า | บริษัทผู้ผลิต |
---|---|
Cortef (คอร์เทฟ) | Pfizer |
H-Cort (เฮช-คอร์ท) | HOE Pharmaceuticals |
LactiCare-HC (แล็คติแคร์-เฮชซี) | Stiefel |
Solu-Cortef (โซลู-คอร์เทฟ) | Pfizer |
HC 1% (เฮชซี 1%) | Chinta |
Hytisone (ไฮทิโซน) | Atlantic Lab |
Clinipred (คลินิเพรด) | Bangkok Lab & Cosmetic |
Di-Adreson F (ดิ-แอดเดรซัน เอฟ) | MSD |
Fortisone (ฟอร์ติโซน) | The Forty-Two |
Inf-Oph (ไอเอ็นเอฟ-ออฟ) | Seng Thai (prednisolone acetate) |
Neosolone-C (นีโอโซโลน-ซี) | Chew Brothers |
Opredsone (โอเพรดโซน) | Greater Pharma |
Polypred(โพลีเพรด) | Pharmasant Lab |
Predcap (เพรดแคพ) | Bangkok Lab & Cosmetic |
Pred-Forte/Pred-Mild(เพรด-ฟอร์ท/ เพรด-มายด์) | Allergan (prednisolone acetate) |
Predi K.B. (เพรดิ เค.บี.) | K.B. Pharma |
Predisole (เพรดิโซน) | P P Lab |
Predman (เพรดแมน) | T. Man Pharma |
Prednersone (เพรดเนอร์โซน) | General Drugs House |
Prednisolone A.N.H. (เพรดนิโซโลน เอ.เอ็น.เฮช) | A N H Products |
Prednisolone Asian Pharm (เพรดนิโซโลน เอเชียน ฟาร์ม) | Asian Pharm |
Prednisolone Atlantic (เพรดนิโซโลน แอทแลนติก) | Atlantic Lab |
Prednisolone GPO (เพรดนิโซโลน จีพีโอ) | GPO |
Predsomed (เพรดโซเมด) | Medicpharma |
Prednisolone Greater Pharma (เพรดนิโซโลน เกรตเตอร์ ฟาร์มา) | Greater Pharma |
Presoga (พรีโซกา) | Utopian |
Depo-Medrol (ดีโป-เมดรอล) | Pfizer (Methylpredni acetate) |
Solu-Medrol (โซลู-เมดรอล) | Pfizer (Methylpredni Na succinate) |
Actyl Lotion (แอคทิล โลชั่น) | Acdhon |
Aristocort (อริสโทคอร์ท) | Pfizer |
Aristocort A (อริสโทคอร์ท เอ) | Pfizer |
Betji-Cort (เบทจิ-คอร์ท) | 2M (Med-Maker) |
Centocort (เซนโทคอร์ท) | Pharmasant Lab |
Curran (เคอร์แรน) | Community Pharm PCL |
Dynacort (ไดนาคอร์ท) | Utopian |
Generlog (เจเนอร์ล็อก) | General Drugs House |
Kanolone/Kanolone-F (คาโนโลน/คาโนโลน-เอฟ) | L. B. S. |
Kanolone Dental Paste (คาโนโลน เดนทัล เพส) | L. B. S. |
Kanolone Lotion (คาโนโลน โลชั่น) | L. B. S. |
Kela (คีลา) | T.O. Chemicals |
Kelamild (คีลามายด์) | T.O. Chemicals |
Kemzid (เคมซิด) | Unison |
Kena-Lite (คีนา-ไลท์) | NuPharma & HealthCare |
Keno Oral Paste (คีโน ออรัล เพส) | T.O. Chemicals |
Lala Lotion (ลาลา โลชั่น) | Osoth Interlab |
Lenicort (เลนิคอร์ท) | 2M (Med-Maker) |
Lonna Gel (ลอนนา เจล) | Vesco Pharma |
Metoral (เมโทรอล) | Unison |
Nasacort AQ (นาซาคอร์ท เอคิว) | sanofi-aventis |
Oracortia (โอราคอร์เทีย) | Thai Nakorn Patana |
Oralpac (ออรัลแพค) | Inpac Pharma |
Oral-T (ออรัล-ที) | Silom Medical |
Orcilone (ออซิโลน) | Chew Brothers |
Shincort/Shincort IM Injection(ชินคอร์ท/ชินคอร์ท ไอเอ็ม อินเจ็คชั่น) | Yung Shin |
Simacort Cream (ซีมาคอร์ท ครีม) | Siam Bheasach |
T.A. Osoth (ที.เอ. โอสถ) | Osoth Interlab |
Tramsilone (ไตรแอมซิโลน) | Greater Pharma |
V-Nolone 10 (วี-โนโลน 10) | Vesco Pharma |
Elomet (อีโลเมท) | MSD |
Nasonex (นาโซเน็ก) | MSD |
Novasone (โนวาโซน) | Schering-Plough |
Rinelon (รินีลอน) | Schering-Plough |
Visderm (วิสเดอร์ม) | Wyeth |
Aeronide 200 (แอโรไนด์ 200) | Aerocare |
Besonin Aqua (เบโซนิน อควา) | Synmosa |
Budecort CFC-Free (บัดเดคอร์ท ซีเอฟซี-ฟรี) | Cipla |
BudeSpray (บัดอีสเปรย์) | Medispray |
Budiair (บัดดิแอร์) | Chiesi |
Bunase Nasal Spray (บันเนส นาซอล สเปรย์) | Okasa Pharma |
Bunase Respule (บันเนส เรสพิล) | Okasa Pharma |
Giona Easyhaler (จีโอนา อีซีเฮเลอร์) | Orion |
Obucort (โอบูคอร์ท) | Otsuka |
Pulmicort (พัลมิคอร์ท) | AstraZeneca |
Pulmicort Turbuhaler (พัลมิคอร์ท เทอร์บูฮาเลอร์) | AstraZeneca |
Rhinocort Aqua (ไรโนคอร์ท อควา) | AstraZeneca |
Beprogel (เบโพรเจล) | HOE Pharmaceuticals |
Bepronate (เบโพรเนท) | Pharmasant Lab |
Beprosone (เบโพรโซน) | Chew Brothers |
Besone (เบซัน) | Atlantic Lab |
Beta (เบต้า) | Chew Brothers |
Betacort (เบต้าคอร์ท) | Utopian |
Bethasone (เบทาโซน) | Greater Pharma |
Betnovate (เบทโนเวท) | GlaxoSmithKline |
Clinivate Cream (คลินิเวท ครีม) | Bangkok Lab & Cosmetic |
Derzid (เดอร์ซิด) | Unison |
Diprobet (ไดโพรเบท) | Polipharm |
Diprosone (ไดโพรโซน) | MSD |
Polynovate (โพลีโนเวท) | Pharmasant Lab |
Sebo Scalp Tonic (เซโบ สกัล โทนิก) | Chew Brothers |
T.M. Bet (ที.เอ็ม. เบท) | T. Man Pharma |
Valerbet (วาเลอร์เบท) | Polipharm |
B. Dexol (บี. เดกซ์ซอล) | Pharmasant Lab |
Dexa (เดกซ์ซา) | Utopian |
Dexaltin (เดกซ์ซาลติน) | ANB |
Dexano (เดกซ์ซาโน) | Milano |
Dexa-P (เดกซ์ซา-พี) | P P Lab |
Dexapro (เดกซ์ซาโพร) | Medicine Products |
Dexasone (เดกซ์ซาโซน) | Atlantic Lab |
Dexion (เดกซ์เซียน) | Umeda |
Dexon (เดกซ์ซอน) | General Drugs House |
Dexthasol (เดกซ์ทาซอล) | Olan-Kemed |
Lodexa/Lodexa-5 (โลเดกซ์ซา/โลเดกซ์ซา-5) | L. B. S. |
Oradexon (โอราเดกซ์ซอน) | MSD |
Dermatop (เดอร์มาท็อป) | sanofi-aventis |
U-Closone (ยู-โคลโซน) | HOE Pharmaceuticals |
Betasol (เบทาซอล) | Chew Brothers |
Chinovate (ชิโนเวท) | Chinta |
Clinoderm (ไคลโนเดอร์ม) | Bangkok Lab & Cosmetic |
Clobasone (โคลบาโซน) | Pharmaland |
Clobet Cream (โคลเบท ครีม) | Biolab |
Dermovate (เดอร์โมเวท) | GlaxoSmithKline |
Omnaris (ออมนาริส) | Takeda |
บรรณานุกรม
1 http://en.wikipedia.org/wiki/Corticosteroid [2020,Feb8]
2 http://www.pnas.org/content/89/21/9991 [2020,Feb8]
3 http://www.webmd.com/asthma/inhaled-corticosteroids-for-long-term-control-of-asthma [2020,Feb8]
4 http://aic-server4.aic.cuhk.edu.hk/web8/corticosteroids.htm [2020,Feb8]
5 http://medical-dictionary.thefreedictionary.com/corticosteroids [2020,Feb8]
6 https://www.drugoffice.gov.hk/eps/do/en/consumer/news_informations/dm_02.html#e [2020,Feb8]
7 http://www.mims.com/Thailand/drug/search/?q=corticosteroids [2020,Feb8]
8 http://www.mims.com/Thailand/drug/info/symbicort-symbicort%20forte/?type=full#Contraindications [2020,Feb8]
9 http://www.mims.com/Thailand/drug/info/Kela/?type=brief [2020,Feb8]