ความพิการแต่กำเนิด (Congenital anomaly)
- โดย ศาสตราจารย์เกียรติคุณ แพทย์หญิง พวงทอง ไกรพิบูลย์
- 20 กันยายน 2556
- Tweet
ความพิการแต่กำเนิด หมายถึง ความผิดปกติที่เกิดขึ้นกับเนื้อเยื่อ/อวัยวะใด เนื้อเยื่อ/อวัยวะหนึ่ง หรือกับหลายๆเนื้อเยื่อ/อวัยวะ ตั้งแต่เป็นทารกอยู่ในครรภ์ หรือ พบตั้งแต่แรกคลอด หรือพบในช่วง 1 เดือนแรกหลังคลอด เช่น ปากแหว่งเพดานโหว่ โรคเท้าปุก โรคความผิดปกติของผนังกั้นห้องหัวใจ ภาวะนิ้วมือติดกัน ภาวะนิ้วเท้าติดกัน ภาวะท่อปัสสาวะมีสองท่อ เป็นต้น
สาเหตุของการเกิดความพิการแต่กำเนิด อาจ จากพันธุกรรม หรือจากโรคของมารดาใน ขณะตั้งครรภ์ เช่น การติดเชื้อในมดลูก หรือ จากการบริโภคที่ไม่เหมาะสมของมารดาขณะตั้ง ครรภ์ เช่น ขาดสารอาหาร การสูบบุหรี่ การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ หรือจาก ผลข้างเคียงจากยาบางชนิดที่มารดาบริโภคขณะตั้งครรภ์ เช่น ฮอร์โมนต่างๆ หรือ จากการได้รับสารพิษขณะตั้ง ครรภ์ เช่น จากสารตะกั่วที่ปนเปื้อนในน้ำดื่ม
ความพิการแต่กำเนิดบางชนิดรักษาให้หายได้ เช่น ปากแหว่งเพดานโหว่ แต่บางชนิด เด็กอาจมีอายุสั้นกว่าอายุเฉลี่ยมาก เช่น จากความผิดปกติของหัวใจ หรือ ของสมอง เป็นต้น อย่างไรก็ตาม ความพิการแต่กำเนิดส่วนใหญ่ป้องกันได้จากที่มารดาฝากครรภ์ตั้งแต่ทราบว่าตั้งครรภ์ ร่วมกับการดูแลตนเองตามแพทย์ พยาบาลแนะนำ
บรรณานุกรม
- Congenital disorder http://en.wikipedia.org/wiki/Congenital_disorder [2013,Sept10].