คลาริโธรมัยซิน (Clarithromycin)
- โดย เภสัชกร อภัย ราษฎรวิจิตร
- 7 ตุลาคม 2560
- Tweet
- บทนำ
- คลาริโธรมัยซินมีสรรพคุณ(คุณสมบัติ)อย่างไร?
- คลาริโธรมัยซินมีกลไกการออกฤทธิ์อย่างไร?
- คลาริโธรมัยซินมีรูปแบบการจัดจำหน่ายอย่างไร?
- คลาริโธรมัยซินมีขนาดรับประทานอย่างไร?
- เมื่อมีการสั่งยาควรแจ้งแพทย์/พยาบาลและเภสัชกรอย่างไร?
- หากลืมรับประทานยาควรทำอย่างไร?
- คลาริโธรมัยซินมีผลไม่พึงประสงค์อย่างไร?
- มีข้อควรระวังการใช้คลาริโธรมัยซินอย่างไร?
- คลาริโธรมัยซินมีปฏิกิริยาระหว่างยากับยาตัวอื่นอย่างไร?
- ควรเก็บรักษาคลาริโธรมัยซินอย่างไร?
- คลาริโธรมัยซินมีชื่ออื่นอีกไหม?ผลิตจากบริษัทอะไรบ้าง?
- บรรณานุกรม
- ยารักษาโรค (Pharmaceutical drug)
- ข้อปฏิบัติพื้นฐานในการใช้ยาทุกชนิด
- โรคติดเชื้อ ภาวะติดเชื้อ (Infectious disease)
- แบคทีเรีย: โรคจากแบคทีเรีย (Bacterial infection)
- ยาปฏิชีวนะ (Antibiotics)
- แมคโครไลด์ (Macrolide)
- สะตีเวนส์จอห์นสัน (Stevens-Johnson syndrome)
- กล้ามเนื้อลายสลาย (Rhabdomyolysis)
- ต่อมทอนซิลอักเสบ(Tonsillitis)
- ไซนัสอักเสบ (Sinusitis)
- ปอดบวม (Pneumonia)
- รักษาและป้องกันโรคไอกรน (Pertussis)
- หลอดลมอักเสบ (Bronchitis)
- ป้องกันเยื่อบุหัวใจอักเสบจากแบคทีเรีย(Bacteria endocarditis prophylaxis)
- การติดเชื้อของผิวหนัง (Infections of the skin)
- หูชั้นกลางอักเสบ (Otitis media)
- ยาเม็ดชนิดรับประทานที่ประกอบด้วย Clarithromycin 250 และ 500 มิลลิกรัม/เม็ด
- ยาน้ำชนิดรับประทานที่ประกอบด้วย Clarithromycin ขนาด 125 มิลลิกรัม/5 มิลลิลิตร
- ผู้ใหญ่: รับประทานยาขนาด 250 มิลลิกรัม ทุก 12 ชั่วโมง เป็นเวลา 10 วัน
- เด็กอายุตั้งแต่ 6 เดือนขึ้นไป: รับประทานยา 7.5 มิลลิกรัม/น้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม ทุก 12 ชั่วโมง เป็นเวลา 10 วัน ขนาดรับประทานยานี้สูงสุดห้ามเกิน 500 มิลลิกรัม/ครั้ง
- เด็กอายุต่ำกว่า 6 เดือน: ขนาดยาขึ้นกับดุลพินิจของแพทย์
- ผู้ใหญ่: รับประทานยาขนาด 500 มิลลิกรัม ทุก 12 ชั่วโมง เป็นเวลา 14 วัน
- เด็กอายุตั้งแต่ 6 เดือนขึ้นไป: รับประทานยา 7.5 มิลลิกรัม/น้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม ทุก 12 ชั่วโมง เป็นเวลา 10 วัน ขนาดรับประทานยานี้สูงสุด ห้ามเกิน 500 มิลลิกรัม/ครั้ง
- เด็กอายุต่ำกว่า 6 เดือน: ขนาดยาขึ้นกับดุลพินิจของแพทย์
- ผู้ใหญ่: ขนาดยาจะขึ้นกับเชื้อแบคทีเรียที่ก่อโรคแต่ละชนิด เช่น กรณีติดเชื้อ H. influenzae รับประทานยาขนาด 500 มิลลิกรัม ทุก 12 ชั่วโมงเป็นเวลา 7–14 วัน, กรณีติดเชื้อ H. parainfluenzae รับประทานยา 500 มิลลิกรัม ทุก 12 ชั่วโมง เป็นเวลา 7 วัน, กรณีติดเชื้อ M. catarrhalis หรือ S. pneumoniae รับประทานยาขนาด 250 มิลลิกรัม ทุก 12 ชั่วโมง เป็นเวลา 7–14 วัน
- เด็ก: ขนาดยาขึ้นกับดุลพินิจของแพทย์
- ผู้ใหญ่: กรณีติดเชื้อ H. influenzae รับประทานยาขนาด 250 มิลลิกรัม ทุก 12 ชั่วโมง เป็นเวลา 7 วัน, กรณีติดเชื้อ S. pneumoniae หรือ Chlamydophila pneumoniae รับประทานยาขนาด 250 มิลลิกรัม ทุก 12 ชั่วโมง เป็นเวลา 7–14 วัน
- เด็กอายุตั้งแต่ 6 เดือนขึ้นไป: รับประทานยา 7.5 มิลลิกรัม/น้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม ทุก 12 ชั่วโมง เป็นเวลา 10 วัน ขนาดรับประทานยาสูงสุดห้ามเกิน 500 มิลลิกรัม/ครั้ง
- เด็กอายุต่ำกว่า 6 เดือน: ขนาดยาขึ้นกับดุลพินิจของแพทย์
- ผู้ใหญ่: รับประทานยาขนาด 500 มิลลิกรัม ทุก 12 ชั่วโมง เป็นเวลา 7 วัน
- เด็กอายุตั้งแต่ 1 เดือนขึ้นไป: รับประทานยา 7.5 มิลลิกรัม/น้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม ทุก 12 ชั่วโมง เป็นเวลา 7 วัน ขนาดรับประทานยานี้สูงสุดห้ามเกิน 500 มิลลิกรัม/ครั้ง
- เด็กอายุต่ำกว่า 1 เดือน: ขนาดยาขึ้นกับดุลพินิจของแพทย์
- ผู้ใหญ่: ใช้ร่วมกับยา Omeprazole และ Amoxicillin โดยรับประทานยาคลาริโธรมัยซิน ขนาด 500 มิลลิกรัม ทุก 12 ชั่วโมง เป็นเวลา 10 วัน
- เด็ก: ขนาดยาขึ้นกับดุลพินิจของแพทย์
- ผู้ใหญ่: รับประทานยาขนาด 250 มิลลิกรัม ทุก 12 ชั่วโมง เป็นเวลา 7–14 วัน
- เด็กอายุตั้งแต่ 6 เดือนขึ้นไป: รับประทานยา 7.5 มิลลิกรัม/น้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม ทุก 12 ชั่วโมง เป็นเวลา 10 วัน ขนาดรับประทานยานี้สูงสุดห้ามเกิน 500 มิลลิกรัม/ครั้ง
- เด็กอายุต่ำกว่า 6 เดือน: ขนาดยาขึ้นกับดุลพินิจของแพทย์
- เด็กอายุตั้งแต่ 6 เดือนขึ้นไป: รับประทานยา 7.5 มิลลิกรัม/น้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม ทุก 12 ชั่วโมง เป็นเวลา 10 วัน ขนาดรับประทานยานี้สูงสุดห้ามเกิน 500 มิลลิกรัม/ครั้ง
- ผู้ใหญ่และเด็กอายุต่ำกว่า 6 เดือน: ขนาดยาขึ้นกับดุลพินิจของแพทย์
- สามารถรับประทานยานี้ ก่อน หรือ พร้อมอาหาร ก็ได้
- ต้องรับประทานยานี้ต่อเนื่องครบตามขนาดและระยะเวลาที่แพทย์กำหนด
- กรณีที่ใช้ยานี้แล้วอาการโรคไม่ดีขึ้น ควรต้องรีบกลับมาพบแพทย์/มาโรงพยาบาลอีกครั้ง โดยไม่ต้องรอถึงวันแพทย์นัด
- ประวัติแพ้ยาทุกชนิด เช่น กินยา/ใช้ยาแล้ว คลื่นไส้มาก ขึ้นผื่น หรือ แน่นหายใจติดขัด/หายใจลำบาก
- มีโรคประจำตัวต่างๆ เช่น โรคตับ โรคไต รวมทั้งกำลังกินยา/ใช้ยาอะไรอยู่ เพราะยาคลาริโธรมัยซิน อาจส่งผลให้อาการของโรครุนแรงขึ้น หรืออาจเกิดปฏิกิริยาระหว่างยากับยาอื่นๆที่กิน/ที่ใช้อยู่ก่อน
- หากเป็นสุภาพสตรี ควรแจ้งว่าอยู่ในภาวะตั้งครรภ์ หรือ กำลังให้นมบุตร เพราะยาหลายประเภทสามารถผ่านทางน้ำนมหรือรก และเข้าสู่ทารกจนก่อให้เกิดผลข้างเคียงได้
- ผลต่อระบบประสาท: เช่น การได้ยินเสียงผิดปกติ อาจทำให้หูหนวกซึ่งพบมากในสตรีสูงวัย แต่การได้ยินเสียงจะกลับมาเหมือนเดิมเมื่อหยุดใช้ยานี้ การรับรสชาติผิดปกติ ปวดศีรษะ วิงเวียน ง่วงนอน ตัวสั่น กล้ามเนื้ออ่อนแรง
- ผลต่อระบบทางเดินอาหาร: เช่น คลื่นไส้ ท้องเสียหรือท้องผูก อาเจียน ปวดท้อง เบื่ออาหาร ท้องอืด แสบร้อนกลางอก ติดเชื้อราในช่องปาก ลิ้นอักเสบ กระเพาะอาหารอักเสบ หลอดอาหารอักเสบ กรดไหลย้อน ตับอ่อนอักเสบแบบเฉียบพลัน ปากแห้ง เลือดออกในทางเดินอาหาร
- ผลต่อตับ: เช่น ค่าเอนไซม์การทำงานของตับในเลือดเพิ่มขึ้น ตับอักเสบ ตัวเหลือง ปัสสาวะมีสีคล้ำ ค่าบิลิรูบินในเลือดเพิ่มขึ้น
- ผลต่อระบบหัวใจและหลอดเลือด: เช่น คลื่นไฟฟ้าหัวใจผิดปกติ หลอดเลือดดำอักเสบ หลอดเลือดดำเกิดการขยายตัว หัวใจเต้นผิดจังหวะ หัวใจหยุดเต้น หัวใจเต้นเร็ว
- ผลต่อระบบเลือด: เช่น เม็ดเลือดขาวและเกล็ดเลือดลดต่ำลง ค่าฮีโมโกลบินลดลง เกิดภาวะเลือดแข็งตัวช้า
- ผลต่อผิวหนัง: เช่น เกิดผื่นคัน ลมพิษ อาจพบภาวะ Stevens-Johnson syndrome
- ผลต่อสภาพจิตใจ: เช่น กรณีที่ผู้ป่วยได้รับยานี้ 1–2 กรัม/วัน อาจทำให้เกิดอาการนอนไม่หลับ อาจมีอาการซึม ฝันผิดปกติ วิตกกังวล กระสับกระส่าย ประสาทหลอน
- ผลต่อระบบการเผาผลาญพลังงานของร่างกาย: เช่น เกิดภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ
- ผลต่อระบบทางเดินหายใจ: เช่น หายใจขัด/หายใจลำบาก เยื่อจมูกอักเสบ ไอ คออักเสบ หอบหืด
- ผลต่อตา: เช่น เยื่อตาอักเสบ ตาแพ้แสงสว่างง่าย
- ผลต่อไต: เช่น ค่าครีเอตินิน(Creatinine)ในเลือดสูงขึ้น ยูเรียในเลือดเพิ่มขึ้น ไตวายเฉียบพลัน
- ผลต่อกล้ามเนื้อ: เช่น ปวดกล้ามเนื้อ กล้ามเนื้อหดเนื้อเกร็งตัว ปวดหลัง กล้ามเนื้อลายสลาย
- ห้ามใช้กับผู้ที่แพ้ยานี้
- ห้ามใช้ยากับสตรีมีครรภ์/ตั้งครรภ์ สตรีที่อยู่ในภาวะให้นมบุตร นอกจากมีคำสั่งแพทย์
- ห้ามปรับขนาดรับประทานหรือหยุดการใช้ยานี้เอง โดยไม่ได้ขอคำปรึกษาจากแพทย์
- ห้ามใช้ยาที่มีสภาพที่เปลี่ยนแปลงไปจากมาตรฐานเดิม เช่น เม็ดยาแตกหัก
- หยุดการใช้ยานี้ทันทีหากพบการติดเชื้อโรคชนิดอื่นในระหว่างการใช้ยานี้ เช่น เชื้อรา แล้วรีบนำตัวผู้ป่วยกลับมาพบแพทย์/มาโรงพยาบาลโยไม่ต้องรอถึงวันแพทย์นัด เพื่อแพทย์พิจารณาปรับแนวทางการรักษา
- หากพบอาการแพ้ยานี้ ให้รีบนำตัวผู้ป่วยส่งโรงพยาบาลทันที/ฉุกเฉิน
- หากพบอาการข้างเคียงจากยานี้ที่รบกวนการดำเนินชีวิตประจำวัน ให้ขอคำแนะนำจากแพทย์/มาโรงพยาบาลก่อนวันแพทย์นัด เพื่อแพทย์พิจารณาปรับเปลี่ยนขนาดรับประทานหรือเปลี่ยนเป็นยาชนิดอื่นที่เหมาะสมมากกว่า
- กรณีใช้ยานี้ไปสักระยะหนึ่งแต่อาการป่วยไม่ดีขึ้น หรือมีอาการทรุดลงมากกว่าเดิม ให้รีบนำตัวผู้ป่วยกลับมาพบแพทย์/มาโรงพยาบาลโดยเร็ว ไม่ต้องรอถึงวันแพทย์นัด
- หลีกเลี่ยงการใช้ยาคลาริโธรมัยซินร่วมกับยา Hydrocodone เพราะจะทำให้เกิดอาการข้างเคียงจากยาคลาริโธรมัยซินสูงขึ้น เช่น ง่วงนอน วิงเวียน การตัดสินใจแย่ลง ความดันโลหิตต่ำ หายใจขัด เป็นลม ตลอดจนเข้าขั้นโคม่า
- ห้ามใช้ยาคลาริโธรมัยซินร่วมกับยา Loperamide ด้วยจะทำให้เกิดอาการหัวใจเต้นผิดจังหวะ ตลอดจนอาจทำให้หัวใจหยุดเต้น
- หลีกเลี่ยงการใช้ยาคลาริโธรมัยซินร่วมกับยา Fentanyl ด้วยจะทำให้ระดับของยา Fentanyl ในกระแสเลือดเพิ่มสูงขึ้น จนทำให้ร่างกายได้รับอาการข้างเคียงของยา Fenfanyl สูงขึ้น หากจำเป็นต้องใช้ยาร่วมกัน แพทย์จะปรับขนาดการใช้ยาให้เหมาะสมเป็นกรณีไป
- ห้ามใช้ยาคลาริโธรมัยซินร่วมกับยาSimvastatin ด้วยจะทำให้ระดับยา Simvastatin ในเลือดเพิ่มสูงขึ้น และทำให้ผู้ป่วยได้รับอาการข้างเคียงของยา Simvastatin สูงขึ้น เช่น เพิ่มความเสี่ยงที่ตับจะถูกทำลาย หรือก่อให้เกิดภาวะกล้ามเนื้อลายสลาย
- https://en.wikipedia.org/wiki/Clarithromycin[2017,Sept16]
- https://www.drugs.com/clarithromycin.html[2017,Sept16]
- https://www.drugs.com/dosage/clarithromycin.html[2017,Sept16]
- https://www.drugs.com/sfx/clarithromycin-side-effects.html [2017,Sept16]
- https://www.drugs.com/drug-interactions/clarithromycin-index.html?filter=3&generic_only=#S[2017,Sept16]
- http://www.mims.com/thailand/drug/info/clarithromycin/?type=brief&mtype=generic[2017,Sept16]
- http://www.mims.com/thailand/drug/search?q=clarithromycin[2017,Sept16]
- http://drug.fda.moph.go.th:81/nlem.in.th/search?keyword=clarithromycin[2017,Sept16]
บทนำ
ยาคลาริโธรมัยซิน(Clarithromycin)เป็นยาปฏิชีวนะที่มีฤทธิ์ต่อต้านเชื้อแบคทีเรียในกลุ่มยา Macrolide ทางคลินิกนำมาใช้รักษาอาการติดเชื้อที่ระบบต่างๆของร่างกาย รวมถึงการติดเชื้อแบคทีเรียชนิด Helicobacter pylori ในกระเพาะอาหารอีกด้วย ยาคลาริโธรมัยซินมีรูปแบบเภสัชภัณฑ์เป็นยาชนิดรับประทานและยาฉีด ยาชนิดนี้สามารถถูกดูดซึมได้จากระบบทางเดินอาหาร ประมาณ 50% และจะถูกทำลายโดยตับ โดยยาคลาริโธรมัยซินจะอยู่ในร่างกายได้นาน 3–4 ชั่วโมง ก่อนที่จะถูกขับทิ้งไปกับปัสสาวะและอุจจาระ
โดยทั่วไป สามารถใช้ยาชนิดนี้ได้ทั้งกับผู้ใหญ่และเด็ก แต่ก็มีผู้ป่วยบางกลุ่มที่มีข้อจำกัดการใช้ยาคลาริโธรมัยซิน อาทิ ผู้ป่วยด้วยอาการหัวใจเต้นผิดจังหวะ ป่วยเป็นดีซ่าน ป่วยด้วยโรคตับ หรือโรคไต รวมถึงผู้มีภาวะกล้ามเนื้ออ่อนแรง
ผู้ป่วยที่ใช้ยาบางประเภทและควรหลีกเลี่ยงการใช้ยาเหล่านั้นร่วมกับยาคลาริโธรมัยซิน อย่างเช่นยา Cisapride, Pimozide, Lovastatin, Simvastatin, Ergotamine, Dihydroergotamine
การใช้ยาคลาริโธรมัยซินมีวัตถุประสงค์เพื่อต่อต้านเชื้อแบคทีเรียเท่านั้น ไม่สามารถใช้ต่อต้านเชื้อไวรัส หรือเชื้อรา
การใช้ยาคลาริโธรมัยซินกับผู้ป่วยนั้น มีความจำเป็นต้องใช้ยานี้ตามขนาดและระยะเวลาที่แพทย์กำหนด การใช้ยานี้ไป 1–2 วันแล้วอาการดีขึ้น ไม่ได้หมายความว่าจะทำให้เชื้อแบคทีเรียที่ก่อโรคหมดฤทธิ์ไปทั้งหมด ผู้ป่วยยังคงต้องรับประทานยานี้ต่อเนื่องตามคำสั่งแพทย์ ทั้งนี้เพื่อช่วยป้องกันการพัฒนาของเชื้อแบคทีเรียที่อาจดื้อต่อยาคลาริโธรมัยซินในอนาคตอีกด้วย
ยาคลาริโธรมัยซิน เป็นยาที่องค์การอนามัยโลกกำหนดให้เป็นยาจำเป็นขั้นพื้นฐานที่สถานพยาบาลต่างๆควรมีสำรองไว้ให้บริการแก่ประชาชน และคณะกรรมการอาหารและยาของไทย ได้บรรจุให้ยาคลาริโธรมัยซินอยู่ในบัญชียาหลักแห่งชาติ ซึ่งประชาชนสามารถพบเห็นการใช้ยาชนิดนี้ได้ตามสถานพยาบาลทั้งของรัฐและเอกชน รวมถึงมีจัดจำหน่ายตามร้านขายยาโดยทั่วไป
คลาริโธรมัยซินมีสรรพคุณ(คุณสมบัติ)อย่างไร?
ยาคลาริโธรมัยซินมีสรรพคุณ/ข้อบ่งใช้เพื่อต่อต้านการติดเชื้อแบคทีเรีย โดย ครอบคลุมเชื้อแบคทีเรียดังต่อไปนี้ เช่น Staphylococcus aureus, Streptococcus(S.) pneumoniae, Streptococcus pyogenes, Haemophilus(H.) parainfluenzae, Haemophilus influenzae, Moraxella(M.) catarrhalis, Helicobacter(H.) pylori, Mycobacterium avium , Mycobacterium intracellulare, Chlamydia pneumoniae, Mycoplasma pneumoniae, Streptococcus agalactiae, Streptococcus Viridans group streptococci, Bordetella pertussis, Legionella pneumophila, Pasteurella multocida, Clostridium perfringens, Peptococcus niger, Propionibacterium acnes, Prevotella melaninogenica
ทางคลินิก จึงนำยานี้มาใช้บำบัดรักษาอาการโรคได้หลายประเภท อาทิ
คลาริโธรมัยซินมีกลไกการออกฤทธิ์อย่างไร?
ยาคลาริโธรมัยซิน มีกลไกการออกฤทธิ์โดย ตัวยาจะยับยั้งการสังเคราะห์สารโปรตีนที่มีความจำเป็นต่อการดำรงชีวิตของแบคทีเรีย โดยตัวยาจะเข้ารวมตัวกับสารพันธุกรรมของแบคทีเรียในส่วนที่เรียกว่า 23S rRNA ด้วยกลไกนี้เองทำให้แบคทีเรียหมดสภาพในการเจริญเติบโต รวมถึงในการขยายพันธุ์ และตายลงในที่สุด
คลาริโธรมัยซินมีรูปแบบการจัดจำหน่ายอย่างไร?
ในประเทศไทย เราจะพบเห็นการใช้ยาคลาริโธรมัยซินในรูปยารับประทานเสียส่วนมาก ดังนั้นบทความนี้จึงขอยกตัวอย่างเฉพาะกรณีของยารับประทาน เช่น
คลาริโธรมัยซินมีขนาดรับประทานอย่างไร?
ยาคลาริโธรมัยซิน มีขนาดรับประทาน เช่น
ก.สำหรับรักษาทอนซิลอักเสบ:
ข.สำหรับรักษาไซนัสอักเสบ:
ค.สำหรับรักษาหลอดลมอักเสบ:
ง.สำหรับรักษาปอดบวม:
จ.สำหรับรักษาโรคไอกรน:
ฉ.สำหรับรักษาการติดเชื้อ Helicobactor pylori ที่กระเพาะอาหาร:
ช.สำหรับรักษาการติดเชื้อของผิวหนัง:
ซ.สำหรับรักษาหูชั้นกลางอักเสบ:
อนึ่ง:
*****หมายเหตุ: ขนาดยาและระยะเวลาในการใช้ยาที่ระบุในบทความนี้เป็นเพียงตัวอย่างหนึ่งเท่านั้น ไม่สามารถใช้ทดแทนคำสั่งใช้ยาของแพทย์ได้ การใช้ยาที่เหมาะสม ควรต้องปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรก่อนเสมอ
เมื่อมีการสั่งยาควรแจ้งแพทย์/พยาบาลและเภสัชกรอย่างไร?
เมื่อมีการสั่งยาทุกชนิดรวมยาคลาริโธรมัยซิน ผู้ป่วยควรแจ้งแพทย์/พยาบาล และเภสัชกร ดังนี้
หากลืมรับประทานยาควรทำอย่างไร?
หากลืมรับประทานยาคลาริโธรมัยซิน สามารถรับประทานยาทันทีที่นึกขึ้นได้ ถ้าเวลาใกล้เคียงกับการรับประทานยาในมื้อถัดไป ไม่จำเป็นต้องเพิ่มขนาดรับประทานเป็น 2 เท่าให้รับประทานยาที่ขนาดปกติ
แต่อย่างไรก็ดี เพื่อประสิทธิผลของการรักษา ต้องรับประทานยาคลาริโธรมัยซิน ตรงเวลา และต่อเนื่อง ตามคำสั่งแพทย์
คลาริโธรมัยซินมีผลไม่พึงประสงค์อย่างไร?
ยาคลาริโธรมัยซินสามารถก่อให้เกิดผลไม่พึงประสงค์จากยา (ผลข้างเคียง/อาการข้างเคียง)ต่อระบบอวัยวะต่างๆของร่างกาย ดังนี้ เช่น
มีข้อควรระวังการใช้คลาริโธรมัยซินอย่างไร?
มีข้อควรระวังการใช้ยาคลาริโธรมัยซิน เช่น
***** อนึ่ง ทุกคนต้องตระหนักถึงความปลอดภัยจากการใช้ ”ยา”ที่รวมถึง ยาแผนปัจจุบันทุกชนิด(รวมยาคลาริโธรมัยซินด้วย) ยาแผนโบราณ อาหารเสริม ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร ทุกชนิด และสมุนไพรต่างๆ เพราะยามีทั้งให้คุณและให้โทษ ดังนั้นเมื่อมีการใช้ยาทุกครั้ง ควรต้องปฏิบัติตามข้อปฏิบัติพื้นฐานในการใช้ยาทุกชนิด (อ่านเพิ่มเติมได้ในเว็บ haamor.com บทความเรื่อง ข้อปฏิบัติพื้นฐานในการใช้ยาทุกชนิด) รวมทั้งควรต้องปรึกษาเภสัชกรประจำร้านขายยาก่อนซื้อยาใช้เองเสมอ
คลาริโธรมัยซินมีปฏิกิริยาระหว่างยากับยาตัวอื่นอย่างไร?
ยาคลาริโธรมัยซินมีปฏิกิริยาระหว่างยากับยาตัวอื่น เช่น
ควรเก็บรักษาคลาริโธรมัยซินอย่างไร?
ควรเก็บยาคลาริโธรมัยซินด้วย ภายใต้อุณหภูมิ 25 องศาเซลเซียส (Celsius) ห้ามเก็บยาในช่องแช่แข็งของตู้เย็น เก็บยาในภาชนะที่ปิดมิดชิด พ้นแสง/แสงแดด ความร้อนและความชื้น เก็บยาให้พ้นมือเด็กและสัตว์เลี้ยง และไม่เก็บยาในห้องน้ำหรือในรถยนต์
คลาริโธรมัยซินมีชื่ออื่นอีกไหม? ผลิตจากบริษัทอะไรบ้าง?
ยาคลาริโธรมัยซิน มียาชื่อการค้า และบริษัทผู้ผลิต/ผู้จำหน่าย เช่น
ชื่อการค้า | บริษัทผู้ผลิต |
---|---|
Clacina (คลาซินา) | GPO |
Clacinia (คลาซิเนีย) | GPO |
Clarith (คลาริธ) | L. B. S. |
Claron (คลารอน) | Siam Bheasach |
Crixan (คลิซาน) | Ranbaxy Unichem |
Fascar (ฟาสคาร์) | Unison |
Klacid (คลาซิด) | Abbott |
อนึ่ง ยาชื่อการค้าอื่นของยานี้ เช่น Biaxin, Clacid, Klaricin, Klaricid, Claritt, Claripen
บรรณานุกรม
Updated 2017,Sept16