กินแหลกแบบแอบๆ (ตอนที่ 3 และตอนจบ)

กินแหลกแบบแอบๆ (ตอนที่ 3 และตอนจบ)

สำหรับการรักษาโรคนี้มีจุดหมายในการลดการกินและสร้างนิสัยการกินที่ดี และเนื่องจากโรคนี้มีส่วนเกี่ยวพันกับความรู้สึกละอายใจ รูปร่างที่ดูแย่ หรืออารมณ์ทางลบอื่นๆ ดังนั้นจึงอาจต้องอาศัยการรักษาทางจิตเวชเข้าช่วยด้วย เช่น

  • การบำบัดทางความคิดและพฤติกรรม(Cognitive behavioral therapy = CBT) เพื่อให้สามารถควบคุมพฤติกรรมและจัดการรูปแบบการกินที่ดีได้
  • จิตบำบัดสัมพันธภาพระหว่างบุคคล (Interpersonal psychotherapy = IPT) เพื่อพัฒนาสัมพันธภาพกับผู้อื่น เช่น ครอบครัว เพื่อนฝูง และเพื่อนร่วมงาน ซึ่งอาจเป็นปัญหาและกระตุ้นให้เกิดการกินไม่หยุด
  • พฤติกรรมบำบัดวิภาษวิธี (Dialectical behavior therapy = DBT)  เพื่อดูแลอารมณ์ ความเครียด และความสัมพันธ์กับผู้อื่น ซึ่งสามารถลดความอยากในการกินลงได้

นอกจากนี้ยังมีการให้ยาที่ใช้รักษา เช่น

  • ยา Lisdexamfetamine dimesylate
  • ยากันชัก (Topiramate)
  • ยาต้านเศร้า (Antidepressants)

แล้วต่อด้วยโปรแกรมการลดความอ้วน

และเนื่องจากการรักษาโรคกินไม่หยุดด้วยตัวเองอาจไม่ได้ผลนัก ดังนั้นเมื่อปรึกษาแพทย์แล้วก็ควรดูแลตัวเองโดย

  • เข้มงวดทำตามแผนการรักษา
  • หลีกเลี่ยงการอดอาหารเองโดยไม่มีผู้ให้คำปรึกษาที่ชำนาญเพราะอาจทำให้อยากอาหารมากขึ้นกว่าเดิมก็ได้
  • กินอาหารเช้า ซึ่งอาจจะช่วยลดแคลอรี่ในอาหารมื้อหลังๆ
  • จัดสภาพแวดล้อมให้ดี เก็บอาหารของกินให้มิดชิดเพราะการเห็นอาหารอาจทำให้เกิดความอยาก
  • กินอาหารที่มีประโยชน์
  • อย่าแยกตัวเองออกไป ควรติดต่อสัมพันธ์กับสมาชิกในครอบครัวและเพื่อน
  • วางตัวให้สบาย ไม่ต้องติเตียนตัวเอง
  • ออกกำลังกาย ทำตัวให้ผ่อนคลาย เช่น เล่นโยคะ นั่งสมาธิ เดินเล่น

            แหล่งข้อมูล

  1. Binge-eating disorder. https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/binge-eating-disorder/symptoms-causes/syc-20353627 [2019, December 17].
  2. Dural arteriovenous fistula (DAVF). https://www.pacificneuroscienceinstitute.org/stroke-neurovascular/conditions-and-treatments/brain-vascular-malformation/dural-arteriovenous-fistula-davf/ [2019, December 17].