การนับคาร์บ สำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวาน ตอน 6 หมวดอาหารที่ไม่มีคาร์บ (ตอนจบ)
- โดย กาญจนา ฉิมเรือง
- 11 มกราคม 2563
- Tweet
การนับปริมาณคาร์โบไฮเดรต (นับคาร์บ) ในหมวดอาหารจานเดียวจำเป็นจะต้องแยกส่วนอาหารที่ต้องนับคาร์บและอาหารที่ไม่ต้องนับคาร์บ เพราะจะช่วยทำให้การนับคาร์บมีความแม่นยำมากขึ้น โดยอาหารในหมวดอาหารจานเดียวนี้เป็นน้ำหนักและปริมาณของอาหารตัวอย่าง เมื่อนำไปประยุกติ์ใช้ให้เทียบสัดส่วนกับอาหารที่จะรับประทานจริง เพื่อให้ง่ายต่อการคำนวณสำหรับผู้ป่วยหรือผู้ที่มีภาวะความเสี่ยงจึงมีตัวอย่างดังนี้
ตัวอย่างการนับคาร์บในหมวดอาหารจานเดียว
หมวดอาหารที่ไม่มีคาร์โบไฮเดรตหรือไม่นับคาร์บ ประกอบไปด้วย ผักใบทุกชนิด เนื้อสัตว์ต่างๆ และน้ำมัน (รวมไปถึงถั่วเปลือกแข็งต่างๆ ด้วย) อาหารกลุ่มนี้เมื่อรับประทานเข้าไปแล้วจะไม่มีผลต่อระดับน้ำตาลในเลือดหรือมีผลน้อยมาก แต่อาจจะต้องคำนึงปริมาณโดยเฉพาะการรับประทานเนื้อสัตว์และน้ำมันที่จะทำให้มีน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นจากการรับประทานที่มากเกินไป
- หมวดผักที่ไม่นับคาร์บ (ผักใบ) ปริมาณ 1 ส่วน เท่ากับ 1 ทัพพี หรือ ½ ถ้วยตวง น้ำหนัก 70-100 กรัม ได้แก่
ข้อแนะนำ : ควรรับประทานผักในกลุ่มนี้อย่างน้อย 1-2 ส่วนในแต่ละมื้อเพื่อให้ได้ใยอาหารและวิตามินที่ดีต่อร่างกายโดยเน้นเป็นผักลวก ผักต้ม หรือผักนึ่ง
- หมวดเนื้อสัตว์ ปริมาณ 1 ส่วน เท่ากับ 2 ช้อนโต๊ะ หรือน้ำหนักสุก 30 กรัม
ข้อแนะนำ : เนื้อสัตว์แต่ละชนิดมีปริมาณไขมันที่แตกต่างกัน ควรเลือกรับประทนเนื้อสัตว์ที่มีไขมันต่ำเป็นประจำ เช่น เนื้อปลา เนื้ออกไก่ และไข่ขาว เป็นต้น
- หมวดน้ำมันหรือไขมัน ปริมาณ 1 ส่วน
ข้อแนะนำ : ควรเลือกรับประทานน้ำมันที่มีกรดไขมันไม่อิ่มตัวในการประกอบอาหาร เช่น น้ำมันรำข้าว น้ำมันถั่วเหลือง และน้ำมันข้าวโพด เป็นต้น ลดหรือหลีกเลี่ยงน้ำมันที่มีกรดไขมันอิ่มตัวทุกชนิด เช่น น้ำมันจากสัตว์ทุกชนิด น้ำมันปาล์ม และกะทิ เป็นต้น
- ถั่วเปลือกแข็งต่างๆ ถ้ารับประทานในปริมาณมาก ควรนับคาร์โบไฮเดรตในส่วนนี้ด้วย หากรับประทานเพียง 1-2 เมล็ดไม่ต้องนับ
(กิโลแคลอรี่) |
||||
ข้อแนะนำ : ควรหลีกเลี่ยงเนื้อสัตว์ที่ติดหนัง ติดมัน เลี่ยงไขมันที่อิ่มตัวและไขมันทรานซ์ เพื่อควบคุมคอเลสเตอรอล ควรจำกัดเนื้อสัตว์มื้อละไม่เกิน 3 ส่วน หรือ 6 ช้อนโต๊ะ รับประทานอาหารให้เป็นเวลาห้ามงดมื้ออาหารนอกจากมีความจำเป็น เลือกรับประทานอาหารที่หลากหลาย ซึ่งจะทำให้ได้รับวิตามิน เกลือแร่ กากใยอาหารอย่างทั่วถึง เลือกอาหารที่มีใยอาหารสูง ดัชนีน้ำตาลต่ำ กินคาร์โบไฮเดรตประมาณ 3-4 ส่วนหรือ 45-60 กรัม/มื้อ เลือกอาหารที่เพิ่มระดับน้ำตาลน้อย เช่นคาร์โบไฮเดรตไม่ขัดสี และควรออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ ทำจิตใจให้สดใสเบิกบานทุกวัน