การนับคาร์บ สำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวาน ตอน 3 ปริมาณอาหาร 1 คาร์บ หมวดข้าวแป้งและผลิตภัณฑ์,หมวดผัก

การนับคาร์บสำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวาน-3

      

เมนูอร่อย สไตล์สุขภาพ

      

การนับคาร์บ สำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวาน

      

ตอน 3 ปริมาณอาหาร 1 คาร์บ หมวดข้าวแป้งและผลิตภัณฑ์,หมวดผัก

            

      อาหารหมวดข้าวแป้งเป็นแหล่งอาหารหลักของคาร์โบไฮเดรตที่ให้พลังงานแก่ร่างกายและรับประทานในปริมาณมากที่สุดในกลุ่มอาหารหลัก 5 หมู่ โดยข้าวแป้ง 1 คาร์บ ให้คาร์โบไฮเดรต 18 และโปรตีน 2 กรัม อาหารหมวดนี้จะเปลี่ยนเป็นน้ำตาลเร็วที่สุดและมากที่สุด ดังนั้นผู้ป่วยเบาหวานต้องเลือกชนิดและปริมาณที่เหมาะสมที่จะควบคุมความสมดุลของระดับน้ำตาลในเลือด

            ตารางแสดงหมวดข้าวแป้งและผลิตภัณฑ์ในปริมาณ 1 คาร์บ

 หมวดอาหาร
 ปริมาณ
 หมวดอาหาร
 ปริมาณ
  หมวดธัญพืช ขนมปังก้อนกลม(ดินเนอร์โรล) 1 ก้อน
 ข้าวซ้อมมือ/ข้าวขาว ⅓ ถ้วยตวง/1ทัพพี ขนมปังโฮลวีต/ขนมปังสีขาว 1 แผ่น
 ข้าวเหนียว ¼ ถ้วยตวง/½ ทัพพี ซาลาเปาขนาดกลาง 1 ลูก
 เส้นหมี่/เส้นก๋วยเตี๋ยว ½ ถ้วยตวง/1 ทัพพี แป้งเกี๊ยว 4 แผ่น
 บะหมี่/บะหมี่สำเร็จรูป  ถั่วเมล็ดแห้งต่าง ๆ (สุก)
 แป้งสาลี/แป้งทำขนม 3 ชต. ถั่วเขียว/ถั่วลาย/ถั่วซีก/ถั่วแดง/ถั่วขาว ½ ถ้วยตวง
 ข้าวโพดคั่วไม่ใส่เนย 3 ถ้วยตวง ถั่วดำ ¼ ถ้วยตวง

            

            ตารางแสดงหมวดผักในปริมาณ 1 คาร์บ

      ผักที่มีแป้งน้อยและต้องนับคาร์บโดยเฉลี่ยจะมีปริมาณคาร์โบไฮเดรต 5 กรัม โปรตีน 2 กรัม ให้พลังงาน 25 กิโลแคลอรี่ ซึ่งผัก 1 ส่วนหรือ 1 ทัพพี (ผักสุก ½ ถ้วยตวง หรือผักสด 1 ถ้วยตวง) มีน้ำหนักประมาณ 70-100 กรัม เมื่อรับประทานผัก 3 ส่วน จะได้คาร์โบไฮเดรต 15 กรัม ซึ่งเท่ากับ 1 คาร์บ ผักที่มีแป้งมาก เช่น ฟักทอง จะจัดอยู่ในหมวดข้าวแป้ง

 หมวดอาหาร
 ปริมาณ
 หมวดอาหาร
 ปริมาณ
  หมวดผัก ผักสลัด 3 ถ้วยตวง
 ผักที่มีแป้ง ผักที่มีคาร์โบไฮเดรตน้อยมาก
 ข้าวโพด ½ ฝักใหญ่ ผักที่มีคาร์โบไฮเดรตน้อยมาก ถ้ารับประทานผักสุกครั้งละ 1½ ถ้วยตวง หรือผักสด 3 ถ้วยตวง ให้นับเป็น 1 คาร์บ เช่น ผักบุ้ง กระหล่ำปลี ปวยเล้ง
ผักตำลึง ใบผักคะน้า รวมถึงผักใบเขียวอื่น ๆ ส่วนผักสมุนไพร เช่น กะเพรา โหรพา ขิง ข่า ตะไคร้ ฯลฯ ไม่ต้องนับ
 3 ถ้วยตวง
 เมล็ดข้าวโพด ½ ถ้วยตวง
 ผักรวม ข้าวโพด ถั่วลันเตา 1 ถ้วยตวง
 เมล็ดถั่วลันเตา ½ ถ้วยตวง
 มันฝรั่งอบ 1 หัวเล็ก
 ฟักทองติดเปลือก 1 ถ้วย
 ผักใบ ดอก ก้าน (สุก)
บล็อกโคลี่ ดอกกระหล่ำ แครอท ก้านคะน้า ถั่วฝักยาว ผัก ถั่วลันเตา ข้าวโพดอ่อน
 1 ½ ถ้วยตวง

      

อ้างอิง:

  1. ศัลยา คงสมบูรณ์เวช. การนับคาร์โบไฮเดรตเพื่อควบคุมเบาหวาน. กรุงเทพฯ:โนโว นอร์ดิสค์ ฟามา; 2559.
  2. ศัลยา คงสมบูรณ์เวช, สิริมนต์ ริ้วตระกูล. การนับคาร์โบไฮเดรตเพื่อควบคุมเบาหวาน. (เอกสารสำหรับแจกผู้เป็นเบาหวาน ปี 2558)
  3. สำนักโภชนาการ. อาหารบำบัดเบาหวานกับจานสุขภาพ. [แผ่นพับ]. กรุงเทพฯ: กลุ่มงานโภชนาการประยุกติ์ สำนักโภชนาการ กรมอนามัย; 2558.
  4. สมาคมโรคเบาหวานแห่งประเทศไทย. รู้จักคาร์บ รู้จักนับ ปรับสมดุล ควบคุมเบาหวาน. กรุงเทพฯ: สมาคมเบาหวานแห่งประเทศไทย; 2560.